นอนอย่างไรให้อายุยืนยาว
ร่างกายของเราทุกคน ต้องนอนหลับพักผ่อนตามตารางของนาฬิกาของชีวิต หากเราพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้สุขภาพร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย อ้วนง่ายขึ้น สมรรถภาพทางร่างกายลดลง การทำงานของสมองและความสามารถในการตัดสินใจก็จะลดลงด้วย
การนอนพักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายจึงสำคัญ เพราะจะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ทั้งในแง่การฟื้นฟูพละกำลัง การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยให้ส่วนต่างๆของร่างกายทำงานได้อย่างปกติ โดยเฉพาะเรื่องการทำงานของโฮโมนที่จะควบคุมการทำงานของร่างกาย อีกทั้งยังช่วยในแง่การเผาผลาญ พลังงานที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับ ตลอดจนช่วยให้สมองปลอดโปร่งอีกด้วย
ลัดคิวหมอรามา รายการวาไรตี้ที่รับชมได้ทุกเพศทุกวัย ในวันนี้มีความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการนอนอย่างมีคุณภาพ จะช่วยให้ร่างกายดีขึ้นในหลาย ๆ ด้าน และห่างไกลจากโรคร้ายในระยะยาว โดย ผศ. พญ.อรพิชญา ศรีวรรโณภาส ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ รศ. พญ.วิสาข์สิริ ตันตระกูล ภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาการนอนกลับ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
🚩 การนอนหลับที่ดีเป็นอย่างไร
การนอนหลับที่ดี จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งในแง่การฟื้นฟูสุขภาพ ที่ทำให้เรารู้สึกสดชื่นขึ้น การทำงานของสมองก็ทำงานได้อย่างดี รวมถึงอวัยวะต่างๆของในร่างกาย ภาวะหัวใจ ภาวะระดับฮอโมน ความเครียด ภาวะอารมณ์ ย่อมส่งผลมาจากการนอนหลับที่ดี ถ้าเราหลับไม่ดีในวันถัดไปที่เราสังเกตุได้คือ ง่วงนอน ไม่สดชื่น หงุดหวิดง่าย ความจำไม่ดี
ขณะเดียวกันในระยะยาวจะนำไปสู่หลายโรค เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม สมรรถภาพทางเพศลดลง มีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นได้ด้วย
🚩 ปัจจัยที่ส่งผลต่อชั่วโมงการนอนหลับ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการนอนหลับได้ไม่ดี และเรามักมองข้ามไป จนทำให้สุขลักษณะในการนอนหลับไม่ดี เช่น การทำงานหนักเกินไป การเล่นมือถือก่อนนอน การอดนอนจากสาเหตุต่าง ๆ การจัดสภาวะไม่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างมากเกินไป ออกกำลังกายหนักเกินไปในช่วงใกล้เวลานอน หรือ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นต้น
นอกจากสาเหตุที่มาจากการใช้ชีวิตประจำไม่เหมาะสมแล้ว ยังมีสาเหตุจากเรื่อง อื่น ๆ ด้วย สรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนหลับโดยรวมมีดังนี้
1. คุณภาพการนอน ต้องมีทั้งปริมาณที่เพียงพอ และคุณภาพในการนอนที่ดี
2. ภาวะอดนอน ทำให้ร่างกายต้องการชดเชยการนอนที่กายไป
3. อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นพฤติกรรมการนอนมีการเปลี่ยนไป
4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และการไม่สบายตัวจากการตั้งครรภ์
ในวัยผู้ใหญ่ การนอนหลับที่เหมาะสม อยู่ในช่วง 6 - 8 ชั่วโมง
🚩 อาการนอนไม่หลับ มีกี่ประเภท
• หลับยาก ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมง
• หลับไม่ทน หลับแล้วมักตื่นมากลางดึก บางคนอาจตื่นแล้วไม่สามารถหลับต่อได้
• หลับ ๆ ตื่น ๆ จะมีอาการลักษณะรู้สึปกราวกับว่าไม่ได้หลับตลอดคืน
🚩 ปัญหาการนอนหลับ รุนแรงแค่ไหนต้องไปพบแพทย์
ถ้าหากนอนไม่หลับ 3 ครั้ง /สัปดาห์ เป็นเวลา 1 - 3 เดือน หรือนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่อง รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน มีอาการเครียด ง่วงนอน ก็ควรมาพบแพทย์ หรือแม้จะนอนหลับได้ไม่เพียงพอ เช้ามาไม่สดชื่น ง่วงตลอดเวลา ทำงานอะไรก็หลับ ก็เป็นอาการจากการนอนหลับไม่ดีเช่นกัน
🚩 7 วิธีนอนหลับให้สบาย
✅ สร้างบรรยากาศ ลดแสง และเสียงเงียบ
✅ ไม่เล่นโทรศัพท์ ทำงานก่อนนอน
✅ งดออกกำลังกายหนัก ๆ ก่อนนอน
✅ ใช้กลิ่นช่วยบำบัด
✅ แช่น้ำอุ่น
✅ เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บุหรี่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน
✅ นอนให้เป็นเวลา
รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/5E4WuQpABbY?si=GmMp2JCZ0NHMmGxd