17 สิงหาคม 2567
528

พาร์กินสัน ฟื้นฟูได้แค่เข้าใจ

โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) มาจากการตายของเซลล์สมอง ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สร้างโดพามีน ที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เมื่อสมองส่วนที่สร้างโดพามีนตายไป ไม่สามารถผลิตสารโดพามีนได้ตามปกติ ทำให้เกิดการเสียสมดุลของสารโดพามีนในสมอง ส่งผลให้ให้ผู้ป่วยมีความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ อีกทั้งอาจมีความและผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ 

ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากได้รับการดูแลฟื้นฟูจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ก็จะสามารถชะลออาการของโรคพาร์กินสัน และทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองได้ และมีสภาพร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่ดีขึ้น 

ลัดคิวหมอรามา วันนี้ไปพบกับ ศ.พญ. ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ และ ผศ.นพ.ไพฑูรย์ เบ็ญจพรเลิศ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมให้ความรู้ ให้คำแระนำ สาเหตุของการเกิดโรคพาคินสัน ตลอดจนวิธีดูแลรักษา 


🚩 โรคพาร์กินสันคืออะไร

เกิดจากความเสื่อมบริเวณก้านสมอง ผลิตสารโดพามีนไม่ได้ ซึ่งมีหน้ากำหนดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัดว่าทำไมโดพามีนเสื่อมลง เป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยพบว่ามีผู้ป่วยทางพันธุกรรมประมาณ 10 - 15% เนื่องจากพาร์กินสันเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทำให้ยากที่จะป้องกันการเกิดโรค 


20240817-a-01.jpg


🚩 อาการของโรคพาร์กินสัน 

- มือสั่น
- ทรงตัวไม่ดี ล้มได้ง่าย
- แข็งแกร็ง 
- เคลื่อนไหวช้า

ผู้ป่วยที่มีอาการควรพบแพทย์ด้านอายุรกรรมก่อนเพื่อตรวจคัดกรอง ก่อนที่จะส่งตัวต่อไปยังแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่งจะได้ฝึกการหมุนตัว เพื่อไม่ให้ล้ม การฝึกกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อขา หรือการใช้ไม้เท้า การใช้เสียงในการนำทาง ก็จะทำให้เดินเป็นจังหวะมากขึ้น นอกจากนี้มีไม้เท้าเลอเซอร์ มีการปล่อยแสงไปข้างหน้า เพื่อก้าวให้ถึงแสง ทำให้การเดินทำได้ดีขึ้น 


20240817-a-02.jpg

🚩 การควบคุมปัจจัยเพื่อไม่ให้เกิดอาการ

- ออกกำลังกาย เพื่อฟื้นฟูระบบหัวใจและหลอดเลือด ช่วยเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนั้น กรณีการเดินในน้ำ ต้องมีสายพยุงและมีคนดูแล เพราะอาจจะจมน้ำได้ 
- กินอาหารที่มีประโยชน์ 
- กินยาตามแพทย์สั่ง

ทั้งนี้โรคพาร์กินสัน เมื่อเป็นแล้วหายโอกาสหายยาก ดังนั้นควรที่จะดูแลตนเองให้ดี เพื่อช่วยยืดระยะเวลาของการเกิดโรคให้ช้าลง 


🚩 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าอาจจะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน 

พบเจอได้บ่อยขึ้นในอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากอาการเคลื่อนไหวผิดปกติแล้ว อาจจะมีสัญญาณบางอย่าง เช่น ได้กลิ่นน้อยลง ภาวะอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ มีภาวะซึมเศร้า ระบบทางเดินอาหารปั่นป่วน เป็นต้น 


20240817-a-03.jpg

🚩 วิธีดูแลรักษา

- กินยาตามแพทย์สั่ง
- บริหารร่างกาย 
- มีอุปกรณ์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วย เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ชีวิต เช่น ไม้เท้าเลเซอร์ อุปกรณ์ช่วยในการกินอาหาร เช่น ช้อน แก้วน้ำ รวมทั้ง เสื้อผ้าที่ใช้ตีนตุ๊กแก แทนกระดุม ช่วยให้สวมใส่ง่ายขึ้น


รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/X4Xe9SAswCo?si=S59p-6TGq55NnAnn

ติดต่อโฆษณา!