13 เมษายน 2564
19,609

ทำงานที่เดียวกัน เสี่ยงติดโควิดระดับไหน ?

ทำงานที่เดียวกัน เสี่ยงติดโควิดระดับไหน ?
Highlight

เชื่อว่าหลายๆ คนสำหรับสายกิน ยังไม่อยากอยู่บ้านทานอาหารจำเจ ยังอยากออกไปลองชิมอาหารอร่อยๆ นอกบ้าน แต่เมื่อโควิด-19 กำลังระบาดหนักอีกครั้ง ทำอย่างไรล่ะ ให้ออกไปทานอาหารนอกบ้านได้อย่างสบายใจ แถมยังลดเสี่ยงที่จะติดโรคอีกด้วย


กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ายังมีประชาชนส่วนใหญ่ที่เกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก หลังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดเกือบแตะหลัก 1,000 

หลายคนก็ยังคงวิตกกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนสามารถเป็นพาหะของโรคได้ 

มาเช็กตัวเองก่อนว่า เสี่ยงสูง หรือ เสี่ยงต่ำ ‼️

ผู้สัมผัสใกล้ชิด (Close Contact) 
เป็นผู้ที่อยู่บนไทม์ไลน์เดียวกับผู้ป่วย ได้แก่ 
▪️ ผู้อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน
▪️ พูดคุยในระยะ 1 เมตร นานเกิน 5 นาที
▪️ ถูกผู้ป่วยไอ/จามรด
▪️ อยู่ในสถานที่ปิด เช่น ห้องปรับอากาศ ในระยะ 1 เมตร นานเกิน 15 นาที (ถ้าโดยสารเครื่องบิน จะนับผู้ที่นั่งแถวเดียวกันและสองแถวหน้า-หลัง)
 
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 
1.1 ผู้สัมผัสฯ เสี่ยงสูง 
1.2 ผู้สัมผัสฯ เสี่ยงต่ำ 
 
การจะแยกว่าเสี่ยงสูงหรือเสี่ยงต่ำ แยกกันด้วยการสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม ซึ่งสำหรับคนทั่วไปคือ ‘หน้ากากอนามัย/ผ้า’ หากสวมหน้ากากตลอดเวลาที่ใกล้ชิดผู้ป่วยก็จะถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ
 
มาตรการสำหรับผู้สัมผัสฯ จะมีความเข้มงวด โดย ‘ผู้สัมผัสฯ เสี่ยงสูง’ จะต้องกักตัว (Quarantine) 14 วัน และตรวจหาเชื้อทันทีถ้ามีอาการ หรือตั้งแต่วันที่ 5 หลังสัมผัสผู้ป่วยครั้งสุดท้ายถ้ายังไม่มีอาการ 
 
ส่วน ‘ผู้สัมผัสฯ เสี่ยงต่ำ’ ไม่ต้องกักตัว แต่หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด สวมหน้ากาก และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน หากมีอาการผิดปกติให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ก็คือ  ทุกคนที่ไม่ได้พูดคุย ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ ไม่ได้พบเจอ ไม่ได้อยู่ในห้องปิด หรือไม่ได้รับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เช่น ทำงานในสถานที่เดียวกัน (แต่ไม่ได้นั่งโต๊ะใกล้ๆ กัน) อยู่คอนโด หรือหมู่บ้านเดียวกัน (แต่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรด้วยเป็นพิเศษ ยกเว้นเข้าไปใช้บริการที่สาธารณะอย่าง ฟิตเนส สระว่ายน้ำ ห้องน้ำในสโมสรหมู่บ้านเดียวกัน) ใช้บริการสถานที่ใหญ่ๆ ที่เดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า (แต่ไม่ได้เข้าไปใช้บริการในร้านเดียวกัน) เป็นต้น
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้ปฏิบัติดังนี้
 1. สังเกตอาการตัวเองใน 14 วัน หากมีไข้ เจ็บคอ ไอแห้งๆ น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เริ่มไม่รับรู้กลิ่นหรือรส ควรรีบไปพบแพทย์
 2. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้าน หรือพบปะพูดคุยกับผู้คนนอกบ้าน
 3. เว้นระยะห่างจากคนอื่นๆ ระหว่างยืน เดิน นั่ง ในที่สาธารณะ
 4. แยกรับประทานจานเดียว คนเดียว ไม่แชร์กับข้าว และอาหารในจานร่วมกับผู้อื่น แม้กระทั่งคนในบ้าน
 5. ล้างมือด้วยน้ำสบู่ หรือล้างมือด้วยเจล/สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ หรือสิ่งของที่มาจากผู้อื่น

เราเสี่ยงระดับไหน ? เช็กให้ชัวร์ผ่าน 4 ช่องทาง

เบื้องต้นเมื่อรับรู้ว่าตัวเอง "เสี่ยงติดโควิด" สามารถประเมินความเสี่ยงได้ผ่านการปรึกษา "กรมควบคุมโรค" ซึ่งมีบริการหลายช่องทางให้ประชาชนได้สอบถามข้อมูล และปรึกษาในกรณีที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะ โดยสามารถสอบถามได้ 4 ช่องทาง ได้แก่

- โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
- แอดไลน์ "รู้กันทันโรค"
- CHATBOT คร.OK
- facebook กรมควบคุมโรค
20210413-a-2.jpg
รู้จักกับภาพ 3 วง กับความเสี่ยง 3 ระดับ 
20210413-a-1.jpg
เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายเมื่อ 13 ธันวาคม 2563 ว่า เมื่อตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว เจ้าหน้าที่จะเริ่มกระบวนการสอบสวนโรค โดยจะแบ่งผู้สัมผัสติดต่อออกเป็น 3 วง 
วงแรกคือผู้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิดโดยตรง 
วงที่ 2 ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 
และวงที่ 3 คือ ผู้สัมผัสผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อโควิด-19 อีกขั้นหนึ่ง ถือว่าไม่มีความเสี่ยง ไม่ต้องเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ปฏิบัติตัวเหมือนกับประชาชนทั่วไป

ติดต่อโฆษณา!