28 เมษายน 2564
2,218

“หมอประสิทธิ์” ย้ำข้อมูล WHO “ฉีดวัคซีน” อาวุธปราบโควิดที่ดีที่สุด

“หมอประสิทธิ์” ย้ำข้อมูล WHO “ฉีดวัคซีน” อาวุธปราบโควิดที่ดีที่สุด
Highlight

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าว อัปเดตสถานการณ์ วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลก อยู่ในอัตราถี่ขึ้น ย้ำแนวทาง องค์การอนามัยโลก (WHO) อาวุธที่ต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ที่ดีที่สุด คือ “วัคซีน” ต้องฉีดให้มากที่สุด เร็วที่สุด

เมื่อวานนี้ (27 เม.ย.64) ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว อัปเดตสถานการณ์ วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่านเฟซบุ๊ก “Mahidol University” สรุปเป็นประเด็น ดังนี้

วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วโลก
1. ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสม “ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน” ทั่วโลก ในอัตราถี่ขึ้น วัดจาก 
1 ล้านคนแรก ยอดสะสมในเวลา 9 เดือน 
ล้านที่ 2 ยอดสะสมในเวลา 4 เดือน 
ล้านที่ 3 ยอดสะสมในเวลา 3 เดือน

2. กลุ่มอายุผู้ติดเชื้อ “อายุน้อยลง” 
ผู้สูงอายุหลายประเทศได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันแล้ว และดูแลตัวเองอยู่ในบ้าน ขณะที่หนุ่มสาวออกไปทำงานนอกบ้าน เช่น การระบาดระลอกใหม่ของ “ไทย” กลุ่มผู้ติดเชื้ออายุระหว่าง 20 – 29 ปี และขยายต่อไปถึงช่วงอายุ 39 ปี

3. อาวุธที่ต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ที่ดีที่สุด คือ “วัคซีน” ต้องฉีดให้มากที่สุด เร็วที่สุด
ข้อมูล ณ วันที่ 25 เม.ย. 64 ทั่วโลกฉีดวัคซีนสะสม 1,009,954,638 โดส // เฉลี่ยวันละ 18,267,286 โดส พบว่า อัตราฉีดวัคซีนสูงเมื่อเทียบจำนวนประชากร “ลดอัตราการติดเชื้อ” และป้องกันการกลายพันธุ์ หรือการเปลี่ยนแปลงของตัวไวรัส ซึ่ง”อิสราเอล” เป็นต้นแบบความสำเร็จ
ตัวอย่าง :

“สหรัฐฯ” ฉีดวัคซีน 225 กว่าล้านโดส แต่คิดเป็น 41.8 % ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 28% ของประชากร ได้ครบโดส การติดเชื้อจากเดิมนับแต่วันที่ฉีดวัคซีนโดสแรก (14 ธ.ค.63) จากเดิมเฉลี่ย 2 แสนคน/วัน เหลือ 4 หมื่นกว่าคน/วัน

“อินเดีย” ฉีดวัคซีน 140 กว่าล้านโดส คิดเป็น 8.7% ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 1.6% ได้รับครบโดส การติดเชื้อจากเดิมนับแต่วันที่ฉีดวัคซีนโดสแรก (16 ม.ค.64) เฉลี่ย 1.5 หมื่นคน/วัน “พุ่งขึ้น” เป็น 3 แสนคน/วัน 

“อิสราเอล” ฉีดวัคซีน 10 กว่าล้านโดส แต่คิดเป็น 59.4 % ของประชากร ได้รับ 1 โดส และ 55.3% ของประชากร ได้ครบโดส การติดเชื้อจากเดิมนับแต่วันที่ฉีดวัคซีนโดสแรก (19 ธ.ค.63) จากเดิมเฉลี่ย 2,734 คน/วัน เหลือ 83 คน/วัน
อิสราเอล จึงเป็นประเทศต้นแบบที่แสดงถึงความสำเร็จของการฉีดวัคซีนควบคุมเชื้อโควิด-19 แต่ต้องจับตาดู “คำสั่งยกเลิกการสวมแมสก์” จะส่งผลต่อการแพร่ระบาดระลอกใหม่หรือไม่ 

ข้อพึงระวังประเทศไทย 
1. สายพันธุ์ใหม่ของเชื้อโควิด-19 ระบาดในไทย 2 สายพันธุ์
B.1.1.7 สายพันธุ์สหราชอาณาจักร (UK) แพร่กระจายเร็วขึ้น และ (อาจ) ทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น
B.1.351 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ แพร่กระจายเร็วขึ้น แต่ข้อมูลพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง
2. สัดส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 
ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบแล้วมีอัตราเพิ่มขึ้น ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่งผลอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น
3. ความต้องการใช้หอผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) เพิ่มมากขึ้น 
อาจเกิดเหตุการณ์เตียง ICU ไม่เพียงพอ 
4. การแย่งสั่งซื้อยา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องใช้ยา เช่น  ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) , เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) มีการแย่งสั่งซื้อหรือควบคุมการจำหน่ายของประเทศผู้ผลิต 
5. ทรัพยากรไม่เพียงพอต่อความต้องการ
บุคลากรด้านสุขภาพ อุปกรณ์/ครุภัณฑ์ทางการแพทย์บางประเภท โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยหนัก
6. การลักลอบข้ามพรมแดน
เสี่ยงนำสายพันธุ์เชื้อกลายพันธุ์เข้าสู่ไทย เนื่องจากหลบการสอบสวนโรค 

คำแนะนำในการดูแลตัวเอง
1. อยู่บ้าน 
2. รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล
3. ใส่หน้ากาก 
4. ล้างมือ 

บทบาทและความร่วมมือของคนไทยในการจัดการสภาวะวิกฤต
1. เข้าขอรับการตรวจถ้าสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19
2. เข้ารับการรักษา ถ้าตรวจพบเชื้อโควิด-19 
3. เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามกำหนด 

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!