พักก่อน! นายกฯ เบรก Walk In ผุดไอเดียลงทะเบียนจุดบริการวัคซีนโควิด-19
Highlight
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เบรกบริการวัคซีนแบบ Walk In ผุดแนวคิดการลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีน หรือ “On-site Registration” ป้องกันปัญหาคนตั้งใจเดินทางไปฉีดแต่ไม่ได้ฉีด เว้นแต่อนาคต ถ้ามีมาตรการจัดการที่ชัดเจน ก็สามารถนำแนวคิด Walk In มาใช้ได้
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เคยประกาศไว้ว่าเป็นวาระแห่งชาติ ทางรัฐบาลมีแผนการกระจายวัคซีน 3 ช่องทาง
3 ช่องทางกระจายวัคซีนโควิด-19
1. ลงทะเบียนผ่าน “หมอพร้อม”
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค
- กลุ่มผู้อายุต่ำกว่า 60 ปี ลงทะเบียน 31 พ.ค.นี้
2. ลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีน “On-site Registration”
นายกรัฐมนตรี ผุดแนวคิดลงทะเบียนที่จุดบริการฉีดวัคซีน “On-site Registration” ทดแทนรูปแบบการเข้ารับบริการแบบ Walk In (วอล์กอิน) ว่า “ไม่อยากให้ใช้รูปแบบ Walk In เพราะถ้าประชาชนแห่กันไปพร้อมกันที่จุดเดียว จะเกิดความชุลมุนขึ้นได้ ในต่างจังหวัดไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่ กทม. มีคนจำนวนมาก จึงอยากให้ปรับรูปแบบใหม่ เช่น การไปลงทะเบียน ณ จุดที่ตั้ง ซึ่งจะมีการกำหนดชัดเจนเรื่องวัน - เวลา รับบริการวัคซีน จึงอยากให้หยุดพูดเรื่อง Walk In ไปก่อน จนกว่าจะได้มาตรการที่ชัดเจน ไม่เช่นนั้น คน Walk In เข้าไป แต่ไม่ได้ฉีด ก็จะโวยวายได้ ถ้าวัคซีนเพียงพอ หรือเหลือ ค่อยมาจัดการกันใหม่ เรื่อง Walk In เข้าไป แต่ไม่ได้ฉีด ก็จะโวยวายได้ ถ้าวัคซีนเพียงพอ หรือเหลือ ค่อยมาจัดการกันใหม่ เรื่อง Walk In ละเอียดอ่อน ต้องจัดการดี ๆ”
3. กระจายวัคซีนเชิงยุทธศาสตร์
ฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีความจำเป็นพิเศษ หรือมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน ได้แก่
- บุคลากรทางการแพทย์
- บุคลากรด่านหน้า อสม.
- ทหาร
- ตำรวจ
- ข้าราชการ
- พนักงานด้านการบิน
- ครู อาจารย์
- ผู้ขับขี่รถยนต์และจักรยานยนต์สาธารณะ
- พนักงานรถไฟและรถไฟฟ้า
- พนักงานในโรงแรม
- คณะผู้แทนการทูตและองค์กรระหว่างประเทศ
- นักธุรกิจและนักเรียน
- นักศึกษาที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ
- บุคลากรในโรงงาน
- คนพิการ
- พนักงานภาคบริการอาหารและยา
ตั้งเป้าปูพรมฉีดวัคซีน กทม. 5 ล้านคน ภายใน 2 เดือน
นายกรัฐมนตรี ตั้งเป้าหมายจะระดมฉีดวัคซีแบบปูพรมแก่ประชาชนใน กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศ ให้ได้อย่างน้อย 5 ล้านคน หรือ 70% ของประชากร เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ภายใน 2 เดือน คือเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม ซึ่งนอกจากโรงพยาบาลและจุดฉีดหลักแล้ว ยังมีจุดฉีดวัคซีนเสริมอีกอย่างน้อย 25 จุด กระจายทั่วกทม. รวมถึงสถานีกลางบางซื่อ เพื่อให้ประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ และแรงงานต่าง ๆ เข้าถึงวัคซีนได้สะดวกและรวดเร็ว