06 มิถุนายน 2564
4,428

จำให้ขึ้นใจ ! ข้อปฏิบัติ ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19

จำให้ขึ้นใจ !  ข้อปฏิบัติ ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19

HighLight
พรุ่งนี้ (7 มิ.ย. 64) การฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ จะเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน ก็ต้องศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อม แต่ถ้ามีไข้ , เจ็บป่วยเฉียบพลัน , ท้องเสีย หรือโรคประจำตัว มีอาการกำเริบ ควบคุมไม่ได้  ก็ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน

finish.jpg
ข้อปฏิบัติ ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19
 

วันก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. ตรวจสอบวัน-เวลา นัดฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ถูกต้อง
  2. งดออกกำลังกายหนัก หรือยกของหนัก ช่วง 1-2 วัน ก่อนฉีด
  3. งดชา , กาแฟ , เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 วันฉีดวัคซีนโควิด-19

- ก่อนฉีด

  1. พกบัตรประจำตัวประชาชน
  2. รับประทานอาหารให้อิ่ม
  3. ดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อย 500-1,000 ซีซี (3-4 แก้ว)
  4. แจ้งข้อมูลและปรึกษาแพทย์ ถ้ามีโรคประจำตัว/ ประวัติแพ้ยา หรือข้อมูลอื่น ๆ
  5. เลือกฉีดวัคซีนแขนข้างที่ไม่ถนัด

- หลังฉีด

นั่งพักคอยสังเกตอาการ 30 นาที อาจจะเกิดผลข้างเคียงที่เป็นปฏิกิริยาเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดวัคซีน ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา

 วันหลังฉีดวัคซีนโควิด-19

ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ รีบพบแพทย์ หรือโทร 1669 เพื่อรับบริการทางแพทย์ฉุกเฉิน

  1. ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง
  2. เหนื่อยแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หรือ หายใจไม่ออก
  3. อาเจียน มากกว่า 5 ครั้ง
  4. ผื่นขึ้นทั้งตัว ผิวหนังลอก
  5. มีจุด (จ้ำ) เลือดออกจำนวนมาก
  6. ใบหน้าเบี้ยว หรือ ปากเบี้ยว
  7. แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้
  8. ต่อมน้ำเหลืองโต
  9. ชัก หรือหมดสติ

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. อายุต่ำกว่า 18 ปี
  2. มีประวัติแพ้วัคซีน หรือ แพ้ยา หรือส่วนประกอบของวัคซีน อย่างรุนแรง
  3. เคยได้รับการถ่ายเลือด พลาสมา ผลิตภัณฑ์จากเลือด ส่วนประกอบของเลือด อิมมูโนโกลบูลิน ยาต้าน ไวรัส หรือแอนติบอดีสำหรับการรักษาโควิด-19 ภายใน 90 วันที่ผ่านมา
  4. ตรวจพบเชื้อโควิด 19 ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา

ข้อควรระวัง ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ในการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19

  1. มีโรคประจำตัวที่อาการยังไม่คงที่ ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ เช่น เจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยใจสั่น เป็นต้น
  2. มีอาการเกี่ยวกับสมอง หรือ ระบบประสาทอื่น ๆ
  3. มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน หรือ นอนรักษาตัวและออกจากโรงพยาบาลไม่เกิน 14 วัน
  4. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
  5. มีภาวะเลือดออกง่ายหรือหยุดยาก เกล็ดเลือดต่ำ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือ ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  6. มีอาการป่วยเช่น มีไข้ หนาวสั่น หายใจลำบาก อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ เป็นต้น

 การฉีดวัคซีนอื่น เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ , วัคซีนพิษสุนัขบ้า , วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก , วัคซีนรวมหัดหัดเยอรมัน พร้อมกับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในคราวเดียวกันได้หรือไม่ ?

            กรมควบคุมโรค ระบุว่า เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนที่ผลิตออกมาไม่นาน และยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้วัคซีนนี้ควบคู่กับวัคซีนอื่น จึงแนะนำให้เลี่ยงการรับวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนชนิดอื่นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนโควิด และวัคซีนที่ต้องการใช้ร่วมเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนพร้อมกัน และการรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกัน แต่วัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น เมื่อถูกสัตว์กัดให้ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทิ้งช่วงเวลา เนื่องจากความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ามีความสำคัญกว่า

 

แหล่งที่มา :

https://www.facebook.com/prbangkok/photos/pcb.3493805530719043/3493805490719047

https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1620107083101.pdf

https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/

 

ติดต่อโฆษณา!