16 มิถุนายน 2564
4,609

วัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2 “ต่างชนิดกัน” ฉีดได้หรือไม่ ?

วัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2  “ต่างชนิดกัน” ฉีดได้หรือไม่ ?
Highlight

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เคยโพสต์เฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 64 ระบุว่า การให้วัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และเข็ม 2 “ต่างชนิดกัน” แม้ไม่แนะนำในทางปฏิบัติ แต่ ผลการตรวจภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แบบสลับชนิด จำนวน 5 คน พบว่า ภูมิคุ้มกันโควิด-19 สูงขึ้นกว่าเกณฑ์เฉลี่ย

จากกรณีชายชาวเชียงใหม่แสดงความวิตกกังวลผ่านโลกโซเชียล หลังเอกสารรับรองการได้รับวัคซีนโควิด-19 ระบุว่าเข็มแรก คือยี่ห้อ Sinovac ส่วนเข็ม 2 คือ AstraZeneca ซึ่งเป็นวัคซีน “ต่างชนิดกัน” จนกระทั่งล่าสุด วันนี้(16 มิ.ย. 64) โรงพยาบาลผู้ให้บริการ ยืนยันว่า เขาได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยี่ห้อ Sinovac ทั้ง 2 เข็ม เพียงแต่เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลผิดพลาด แม้ชายคนนี้รู้สึกสบายใจขึ้น แต่ชาวโชเชียลยังคงตั้งคำถามว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 ต่างชนิดกับเข็มที่ 2  สามารถทำได้หรือไม่ ?


ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ กำลังศึกษาวิจัย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยโพสต์เฟซบุ๊กที่ชื่อว่า Yong Poovorawan เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564 หัวข้อ : โควิด 19 วัคซีน การให้วัคซีนเข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน ใจความว่า


ในทางปฏิบัติ
:

วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่แนะนำที่ให้เข็ม 1 และ 2 ต่างชนิดกัน


ตามหลักทฤษฎี :

การใช้วัคซีนในเด็ก การใช้วัคซีน มีการสลับกันได้ และมีการศึกษามาแล้วทั้งสิ้น เช่น วัคซีนป้องกันท้องร่วงจาก Rotavirus , วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ , วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี , วัคซีนโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก เพราะโดยหลักการ เชื้อโรคไม่รู้ว่าฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไร


ผลทดสอบเบื้องต้น ภูมิคุ้มกันโควิด-19 “สูงกว่าเกณฑ์”

ขณะนี้ มีแนวทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการให้วัคซีนสลับยี่ห้อ ซึ่งยี่ห้อ Sinovac และยี่ห้อ AstraZeneca เป็นวัคซีนที่มีเทคนิคการผลิตต่างชนิดกัน จากการศึกษาวิจัยผู้ที่ได้รับวัคซีนแบบสลับยี่ห้อ จำนวน 5 คน พบว่า

1. ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 4 ราย ฉีดวัคซีนเข็มแรก ยี่ห้อ Sinovac เข็มแรก และเข็ม 2 ยี่ห้อ AstraZeneca ภูมิต้านทานขึ้นสูงกว่าการได้รับวัคซีน Sinovac ทั้ง 2 เข็ม

2. ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 ราย ฉีดวัคซีนเข็มแรก ยี่ห้อ AstraZeneca เข็มแรก และเข็ม 2 ยี่ห้อ

Sinovac ปรากฏว่า อีก 1 เดือนต่อมา ภูมิคุ้มกันก็ขึ้นสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเช่นกัน  

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากงานวิจัย ถ้าการฉีดสลับวัคซีน “ปลอดภัย”

ศ.นพ.ยง ระบุว่า ถ้าการฉีดแบบสลับวัคซีนปลอดภัย จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ในกรณีดังต่อไปนี้

1. กรณีเมื่อฉีดเข็มแรกแล้วเกิดแพ้วัคซีน ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน ในการฉีดวัคซีนเข็ม 2
2. กรณีที่วัคซีนชนิดใดชนิดหนึ่งขาดแคลน ก็สามารถใช้อีกชนิดหนึ่งได้เลย ไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บวัคซีนไว้สำหรับเข็ม 2
3. การบริหารวัคซีนจะง่ายขึ้นมาก ทำให้การให้วัคซีนเร็วขึ้น
4. เป็นแนวทางในการที่จะนำมาใช้ในการกระตุ้นเข็มที่ 3 โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้วัคซีนชนิดเดียวกัน

 

แหล่งที่มา :

https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/5793777023998200


#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!