10 กรกฎาคม 2564
5,383

ประเมินอาการหลังติดโควิด-19 กลุ่มสีเขียว เหลือง แดง เป็นแบบไหน ?

ประเมินอาการหลังติดโควิด-19  กลุ่มสีเขียว เหลือง แดง เป็นแบบไหน ?
HighLight : 

“ไทย” แบ่งระดับอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็น 3 ระดับ ได้แก่ กลุ่มสีเขียว สีเหลือง และสีแดงถ้าสภาพอยู่ในระดับสีเหลืองจะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ในไทย ยอดติดเชื้อรายวันใกล้แตะหลักหมื่น !!! การรักษาในโรงพยาบาลตึงตัว



รัฐบาลเริ่มนโยบายดูแลผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวด้วยการให้กักตัวอยู่บ้าน (Home Isolation) ถ้าบ้านไหนไม่สะดวก แต่ชุมชนพร้อม ก็จะใช้วิธีดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนามสำหรับคนในชุมชน หรือ การแยกกักตัวในชุมชน ที่เรียกว่า Community Isolation 

แต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ ? การแบ่งระดับกลุ่มผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสีเขียว สีเหลือง สีแดง แยกสภาพอาการอย่างไร ? “ทันข่าว Today” พาไปพบคำตอบ ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร

 

ระดับ 1 “กลุ่มสีเขียว

  1. ไม่มีอาการ
  2. ไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
  3. ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  4. ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่น
  5. ถ่ายเหลว
  6. ไม่มีอาการหายใจเร็ว
  7. ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
  8. ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  9. ไม่มีปอดอักเสบ
  10. ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ โรคร่วมสำคัญ

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ โรคร่วมสำคัญ คืออะไร ?

ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่

  1. อายุมากกว่า 60 ปี
  2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ
  3. โรคไตเรื้อรัง(CKD)
  4. โรคหัวใจและหลอดเลือด
  5. โรคหัวใจแต่กำเนิด
  6. โรคหลอดเลือดสมอง
  7. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
  8. ภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย (BMI) ≥30 กก./ม.2 หรือ น้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม)
  9. ตับแข็ง
  10. ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  11. Lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร

 

ระดับ 2 “กลุ่มสีเหลือง

  1. มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือ โรคร่วมสำคัญ “ข้อใดข้อหนึ่ง”
  2. แน่นหน้าอก
  3. หายใจไม่สะดวก ขณะทำกิจกรรม
  4. หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อย
  5. อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  6. ปอดอักเสบ
  7. ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน

  

ระดับ 3 “กลุ่มสีแดง

  1. หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค ขณะสนทนา
  2. แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  3. ซึม เรียกไม่รู้สึกตัว หรือตอบสนองช้า
  4. ปอดบวมที่มี Hypoxic (Resting O2 Saturation < 96%) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2  3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (Exercise Induced - Hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ Pulmonary Infiltrates

 

สำหรับสภาพอาการผู้ป่วย ถ้าอยู่ในระดับสีเหลือง หรือสีแดง จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

แหล่งที่มา :

https://www.facebook.com/erawancenter/posts/1241432692982997

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g04_CPG170464.pdf

 

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!