แนวทางการใช้ Antigen Test Kit ตรวจหาเชื้อ COVID-19 ด้วยตัวเอง
HighLight :
ชุดทดสอบแอนติเจนใช้ตรวจหาโปรตีนของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เป็นชุดทดสอบที่อนุญาตให้ประชาชนใช้ เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น ด้วยการเก็บตัวอย่างทางจมูกหรือปากหรือน้ำลาย แต่ถึงแม้ผลจะออกมาเป็นลบ ถ้าเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง อาจอยู่ในระยะฟักตัว ควรทำการแยกตัว และทดสอบซ้ำอีกครั้งภายหลัง 3-5 วัน หรือหากมีอาการของโรคโควิด-19 ควรทำการทดสอบซ้ำทันที
จากการแพร่ระบาดหนักของไวรัสโควิด-19 จนกระทั่งล่าสุด ยอดผู้ติดเชื้อวันเดียวทะลุหมื่นคน ! ยิ่งทำให้ขณะนี้ ประชาชนที่มีความเสี่ยง ต้องการตรวจหาเชื้อเป็นจำนวนมาก แต่นอกเหนือจากการรอคิวตรวจด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR ตามจุดบริการต่าง ๆ แล้ว ล่าสุด อย. อนุมัติ ขึ้นทะเบียนชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง เพื่อให้ประชาชนรู้ถึงสถานการณ์การติดเชื้อของตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะเป็นการคัดแยกผู้ติดเชื้อได้รวดเร็วขึ้นและให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที
ขั้นตอนการใช้ Antigen Test Kit (ATK) เป็นอย่างไร ? เมื่อรู้ผลแล้ว ไม่ว่าจะออกมาเป็น “ลบ” หรือ “บวก” ต้องทำอะไรบ้าง ? “ทันข่าว Today” ได้รวบรวมข้อมูลและการสาธิตจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาให้ติดตามกัน
ชุดทดสอบแอนติเจน (Antigen Test Kit: ATK) คืออะไร ?
ชุดทดสอบแอนติเจนใช้ตรวจหาโปรตีนของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เป็นชุดทดสอบที่อนุญาตให้ประชาชนใช้ เพื่อตรวจคัดกรองเบื้องต้น ด้วยการเก็บตัวอย่างทางจมูกหรือปากหรือน้ำลาย ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะกำหนดตัวอย่างที่ใช้ตรวจไม่เหมือนกัน ให้อ่านในเอกสารกำกับที่มาพร้อมกับชุดทดสอบ โดยตัวตลับทดสอบจะมีแถบทดสอบ (ตัว T) และแถบควบคุม (ตัว C)
แนวทางการใช้ Antigen Test Kit (ATK)
1. ชุดตรวจที่ใช้ต้องผ่านการประเมินและขึ้นทะเบียนแล้วกับ อย.
ตรวจสอบได้ทางลิงก์นี้ https://www.fda.moph.go.th/sites/Medical/Shared%20Documents/ข้อมูลรายชื่อชุดตรวจและน้ำยาสำหรับ%20COVID-19%20antigen.pdf
2. ตัวอย่างที่ใช้ตรวจเก็บจาก Nasopharyngeal (โพรงหลังจมูก), Oropharyngeal(ช่องปากและลำคอ)Nasal (โพรงจมูก)หรือ น้ำลาย ตามที่ชุดตรวจกำหนด
3. ใช้เพื่อการคัดกรองเบื้องต้นตามแนวทางที่แนะนำ ดังนี้
3.1 ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายติดเชื้อให้พิจารณาตรวจ ด้วยวิธี RT-PCR ก่อนกรณีตรวจผู้ป่วยจำนวนมาก
ให้พิจารณาใช้ Antigen Test Kit ถ้าให้ผลบวกให้ยืนยันด้วย RT-PCR
3.2 ผู้สงสัยแต่ไม่มีอาการ สามารถพิจารณาตรวจเบื้องต้นด้วย Antigen Test Kit หากผลเป็นลบ
ให้ตรวจซ้ำในอีก 3-5 วัน แต่หากมีความเสี่ยงสูงให้พิจารณาตรวจด้วย RT-PCR
3.3 กรณีที่ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ทำการตรวจด้วยตนเอง ควรเลือกชุดทดสอบ
ที่สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจด้วยตนเองได้ง่าย เช่น เก็บจากโพรงจมูกหรือน้ำลาย เมื่อมีผลบวก
ให้แจ้งสถานบริการที่กำหนดใกล้บ้าน เพื่อพิจารณาดำเนินการอย่างเหมาะสมต่อไป
การตรวจน้ำลาย การตรวจแบบ Pooled Samples, LAMP, CRISPR เป็นต้น
ข้อแนะนำกรณีการใช้ Antigen Test Kit ด้วยตนเอง
1. ตรวจสอบว่าแต่ละชุดทดสอบนั้นมีคำแนะนำที่แนบมากับชุดทดสอบว่าสามารถใช้กับตัวอย่างที่เก็บจากบริเวณใดเช่น Nasal (โพรงจมูก), Nasopharyngeal (โพรงหลังจมูก) Oropharyngeal
(ช่องปากและลำคอ)หรือ น้ำลาย เป็นต้นควรเลือกใช้ชุดทดสอบที่สามารถเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง
ได้ง่าย
2. ศึกษารายละเอียดขั้นตอนวิธีการทดสอบ การแปลผล จากเอกสารกำกับชุดทดสอบ
ก่อนเริ่มทำการทดสอบ
3. การเก็บตัวอย่างและดำเนินการทดสอบ
3.1 ล้างมือให้สะอาด พร้อมสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน (PPE) ก่อนทำการเก็บตัวอย่าง
3.2 ทำการเก็บตัวอย่างให้ถูกต้อง (ตามคำแนะนำวิธีการเก็บตัวอย่าง)
3.3 ทำการทดสอบตามขั้นตอนที่ระบุในเอกสารกำกับอย่างเคร่งครัด
3.4 การเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำ อาจทำให้ผลการทดสอบผิดพลาดได้
4.1 ชุดทดสอบถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ชุดทดสอบกำหนด ก่อนนำมาใช้งาน
4.2 ตรวจสอบวันหมดอายุของชุดทดสอบ
4.3 เตรียมพื้นที่สำหรับใช้ทดสอบให้สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
4.4 อย่าเปิดหรือฉีกซองที่บรรจุตลับทดสอบ จนกว่าจะเริ่มทำการทดสอบ
4.5 อ่านผลตามเวลาที่ชุดทดสอบกำหนด (การอ่านผลเร็วหรือช้าเกินไปอาจเกิดความผิดพลาดได้)
4.6 ไม่นำอุปกรณ์หรือตลับทดสอบอันเดิมมาใช้ซ้ำ
4.7 นำชุดทดสอบที่ทดสอบแล้ว พร้อมอุปกรณ์ของชุดทดสอบที่เหลือจากการใช้งานแช่น้ำยาฆ่าเชื้อ
และแยกใส่ถุงปิดให้มิดชิด และทิ้งให้เหมาะสม
4.8 ล้างมือให้สะอาดภายหลังทำการทดสอบ
องค์ประกอบของชุดตรวจ Antigen Test Kit
1.ตลับทดสอบ2.หลอดใส่น้ำยาสกัด
3.ฝาหลอดหยด
4.ไม้ Swab
5.เอกสารกำกับชุดตรวจ
ที่มาภาพประกอบ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ตัวอย่างขั้นตอนการใช้ Antigen Test Kit
คลิปประกอบ: https://www.facebook.com/DMScNews/posts/4852719688088481
กรณีเก็บตัวอย่างจาก “โพรงจมูก” หยดน้ำยาสกัด 10 หยด ลงในหลอดใส่น้ำยาสกัด จากนั้นปิดฝาหลอดหยดไว้
1.1 แหงนหน้าขึ้นมองหลอดไฟ 70 องศา
1.2 แหย่ไม้ Swab เข้าไปในรูจมูกทั้ง 2 ข้าง ให้ลึกประมาณ 2-3 นิ้ว หมุนไม้ Swab ข้างละ 5 รอบ
2.1 จุ่มไม้ Swab ลงในหลอดที่มีน้ำยาสกัด หมุนและบีบอย่างน้อย 5 รอบ
จากนั้น นำไม้ Swab ออก แล้วปิดด้วยจุกฝาหลอดหยด
2.2 หยดน้ำยาลงในตลับทดสอบ ตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด
2.3 รออ่านผลหลังหยดน้ำยาตามช่วงเวลาที่ชุดตรวจกำหนด โดยมาก 15-30 นาที
ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนดไว้
ผลบวก ปรากฏแถบทั้งแถบทดสอบ (T) และแถบควบคุม (C)
ผลลบ ปรากฏเฉพาะแถบควบคุม (C)
ผลใช้งานไม่ได้ ไม่ปรากฏแถบควบคุม (C)
นำชุดตรวจที่ทดสอบแล้ว พร้อมอุปกรณ์ของชุดตรวจที่เหลือจากการใช้งาน
แช่น้ำยาฆ่าเชื้อแล้วแยกมาใส่ถุงปิดให้มิดชิดและทิ้งขยะ
ที่มาภาพประกอบ: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
การปฏิบัติตัวหลังรู้ผลการทดสอบ
ผลบวก แจ้งหน่วยบริการใกล้บ้านที่กำหนด และแยกกักตัวเองจากผู้อื่น เพื่อลดการแพร่เชื้อ เช่น แยกห้องน้ำ ของใช้ส่วนตัว หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการหายใจลำบาก ควรติดต่อขอรับเข้าการรักษาหรือแจ้งผู้ใกล้ชิดกับตนเองให้ทราบ เพื่อลดความเสี่ยง จากการสัมผัส และควรได้รับการทดสอบการติดเชื้อต่อไป
ผลลบ
หากเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง อาจอยู่ในระยะฟักตัว ควรทำการแยกตัว และทดสอบซ้ำอีกครั้งภายหลัง 3-5 วัน หรือหากมีอาการของโรคโควิด-19 ควรทำการทดสอบซ้ำทันที
แหล่งที่มา :
https://www3.dmsc.moph.go.th/assets/post/VjVfUGFnZV8yLTY=.pdf#viewer.action=download
#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว