02 สิงหาคม 2564
2,710

นักวิชาการเตือน หากโควิดยังระบาดแบบนี้ สิ้น ต.ค. ไทยติดสะสม 4 ล้านคน

นักวิชาการเตือน หากโควิดยังระบาดแบบนี้ สิ้น ต.ค. ไทยติดสะสม 4 ล้านคน
HighLight
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดระลอก 4 ในตอนนี้ ดูจะลุกลามบานปลายจนน่าเป็นห่วงอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลก็ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มขึ้นจาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด ซึ่งก็ยังต้องรอดูผลว่าจะเป็นอย่างไร

 
เนื่องจากการล็อกดาวน์รอบล่าสุด ก็ยังไม่สามารถชะลอการระบาดได้ ทำให้นักวิชาการออกมาคำนวณโดยใช้ประมาณการทางคณิตศาสตร์ พบว่า ถ้าเรายังคุมสถานการณ์ไม่ได้ เราอาจเห็นยอดการติดที่ประกาศโดยทางการวันละมากกว่า 60,000 คนและทำให้ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ไทยจะมีผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 4 ล้านคน คลิ๊กอ่าน #ทันข่าว รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์
 
รศ.ดร.นวลจันทร์ สิงห์คราญ นักวิชาการจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลคาดการณ์ตามแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พบว่า จากแนวโน้มตัวเลขการติดเชื้อโควิด-19 รายวัน คาดว่าวันที่ 2 ส.ค. 64 จะมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ระหว่าง 18,379-18,927 ราย
 
และหากตัวเลขที่ ศบค.แถลงเป็นไปตามแนวโน้มนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อสะสมของประเทศไทย อาจจะทะลุ 1 ล้านรายภายในวันที่ 19 ส.ค.นี้ (บวกลบ 2 วัน) และจะแตะ 4 ล้านรายภายในวันที่ 31 ต.ค. 64
 
โดยการศึกษาดังกล่าว ใช้การคาดการณ์ด้วยค่าจากการตรวจวัดตั้งแต่ 12 ม.ค. 63 ถึง 1 ส.ค. 64 (ที่มีค่าการตรวจวัดล่าสุด) ซึ่งประเมินได้ว่า อัตราการติดเชื้อ ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 18,307 รายต่อวัน
ดังเช่นในปัจจุบัน ก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
 
ซึ่งถ้าหาก เราจำกัดการระบาดไม่ได้เลย และจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือนตุลาคม เราอาจเห็นยอดการติดรายวันที่ระดับ 55,003 - 62,358 รายต่อวัน
 
ส่วนจำนวนการติดเชื้อสะสม หากการควบคุมไม่ได้ผล เราจะมียอดผู้ติดเชื้อสะสมประมาณ 1 ล้านราย ในวันที่ 19 ส.ค. 64 และจะขึ้นไปที่ระดับ 3.4 - 4 ล้านราย ในวันที่ 31 ต.ค. 64 ขึ้นกันว่า ยอดผู้ติดเชื้อรายวัน จะขึ้นไปถึงจุดไหนระหว่าง 55,003 - 62,358 รายต่อวัน ตามที่บอกไว้ด้านบน

20210802-b-01.jpg
 
นอกจากนี้ รศ.ดร.นวลจันทร์ ได้เผยผลการคาดการณ์แนวโน้มการติดเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทย ด้วยแบบจําลอง SIQR (5 เม.ย. ถึง 31 ธ.ค. 64) โดยปรับผลคาดการณ์ให้เหมาะสมด้วยค่าการตรวจวัด ช่วง 5 เม.ย. ถึง 1 ส.ค. 64

20210802-b-02.jpg
 จากแบบจำลองจะเห็นว่า ในกรณีมาตรการสกัดโควิดเข้มงวดของรัฐบาล "ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้" มีแนวโน้ม 75% ที่จะทำให้ยอดโควิดรายวันพุ่งถึงระดับสูงสุด (พีค) ที่กว่า 44,000 รายระหว่างวันที่ 16-17 ส.ค.
 
ขณะที่ในกรณีมาตรการต่าง ๆ สามารถ "ควบคุมสถานการณ์ได้" ตัวเลขยอดติดเชื้อสูงสุดจะต่ำกว่าคาดการณ์และเกิดจุดพีคช้าลง (กราฟเบ้ซ้าย หลัง ส.ค. 64)
 
ทั้งนี้ แบบจำลองของ รศ.ดร.นวลจันทร์ ระบุด้วยว่า อีกปัจจัยสำคัญในการชะลอยอดติดเชื้อในประเทศคือ การเร่งฉีดวัคซีน หากสามารถเร่งฉีดวัคซีนให้ได้ 40-50% ของประชากร จะทําให้จํานวนประชากรที่มีโอกาสติดเชื้อลดลง และทําให้อัตราการติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสําคัญ

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว

ติดต่อโฆษณา!