15 สิงหาคม 2564
2,295

WHO เตือน โควิดสายพันธ์ุ Delta แบ่งตัวเร็วมากถึง 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธ์ุดั้งเดิม เพิ่มความเสี่ยงอาจติดเชื้อซ้ำ

WHO เตือน โควิดสายพันธ์ุ Delta  แบ่งตัวเร็วมากถึง 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธ์ุดั้งเดิม เพิ่มความเสี่ยงอาจติดเชื้อซ้ำ
Highlight :  

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยผลการศึกษาหลายฉบับล่าสุดพบว่า โควิดกลายพันธุ์ Delta มีความสามารถในการแบ่งตัวได้รวดเร็วมาก จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำ และขณะนี้เชื้อกลายพันธุ์นี้ได้แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว



องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปิดเผยผลการศึกษาหลายฉบับล่าสุดพบว่า โควิดกลายพันธุ์ Delta มีความสามารถในการแบ่งตัวได้รวดเร็วมาก จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำผลการศึกษาดังกล่าวได้มาจากผลการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธีตรวจลำดับพันธุกรรม PCR ในผู้ติดเชื้อโควิดที่ถูกกักตัว


พบว่า ปริมาณของไวรัสที่ตรวจพบในผู้ที่ติดเชื้อ Delta เป็นครั้งแรก มีมากกว่า 1,000 เท่า เมื่อเทียบกับปริมาณไวรัสของโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม ที่ตรวจพบในผู้ป่วยโควิดที่ติดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม


แสดงให้เห็นว่า เชื้อ Delta มีความสามารถในการแบ่งตัวที่รวดเร็วมากกว่าสายพันธ์ุดั้งเดิมเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ Delta ซ้ำได้ ตั้งแต่ช่วงแรก ๆ ที่ Delta เริ่มระบาด


นอกจากนี้ โควิดสายพันธุ์ Delta ยังระบาดเพิ่มใน 142 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกแล้ว โดยเพิ่มขึ้นรวดเดียว 7 ประเทศภายในสัปดาห์เดียว ในช่วงวันที่ 4-10 สิงหาคมที่ผ่านมา 


ส่วนไวรัส Alpha โควิดกลายพันธุ์จากอังกฤษ ระบาดไป 185 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้น 3 ประเทศใน 1 สัปดาห์ ขณะที่ Beta เชื้อกลายพันธุ์จากแอฟริกาใต้ ระบาดไป 136 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้น 4 ประเทศจากสัปดาห์ก่อนหน้า และ Gamma กลายพันธุ์จากบราซิล ระบาดไป 81 ประเทศทั่วโลก 


ทั้ง 4 สายพันธุ์เป็นโควิดกลายพันธุ์อันตราย ที่ WHO ได้ยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่ "น่ากังวล" ส่วนโควิดกลายพันธุ์ Lambda และ Columbia ยังไม่ได้ถูกยกระดับให้เป็นสายพันธุ์น่ากังวล


ล่าสุดยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดสะสมทั่วโลก ทะลุหลัก 200 ล้านคนไปแล้ว เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ใช้เวลาเพียงแค่ 6 เดือนในการเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวจาก 100 ล้านคนแรก
 

ส่วนยอดผู้เสียชีวิตและยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิดสะสมทั่วโลก ก็ยังเพิ่มไม่หยุดในรอบสัปดาห์ ที่สิ้นสุดวันที่ 8 สิงหาคม โดยผู้เสียชีวิตรายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 65,000 คนทั่วโลก และผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 4.2 ล้านคนทั่วโลก


ล่าสุด มีการฉีดวัคซีนทั่วโลกกว่า 4,590 ล้านเข็ม และมีผู้ได้รับวัคซีนครบถ้วน 16% ของประชากรโลก


สำหรับสถานการณ์โควิดในประเทศไทย ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับเกิน 20,000 คนต่อวันและผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 คนต่อวัน


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวเมื่อ 10 ส.ค. 2564-ที่ผ่านมาว่าโควิดสายพันธุ์เดลตา ครองพื้นที่ในไทยกว่า 91% ครอบคลุมทุกจังหวัด เฉพาะกทม.สูงถึง 95% ใช้เวลาราว 2 เดือนเบียดสายพันธุ์อัลฟาแทบไม่เหลือ


โควิดสายพันธ์ุแลมป์ด้าน่ากลัวแค่ไหน


ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อ้างอิง WHO และ ft.com เผยแพร่ "แลมบ์ดา" โควิดสายพันธุ์พิศวง (Viva La Lambda) กลายพันธุ์ในลักษณะ "ผิดปกติ" ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา



แลมบ์ดา "Lambda" ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ล่าสุด กำลังสร้างความพิศวงระคนวิตกกังวลให้กับนักวิทยาศาสตร์ในขณะนี้ เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ในลักษณะ "ผิดปกติ" ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายเชื้อได้รวดเร็วและหลบภูมิคุ้มกันได้ และสามารถเพิ่มศักยภาพให้ไวรัสแพร่ระบาดมากขึ้นได้อย่างมหาศาล และยังลดทอนประสิทธิภาพของแอนติบอดีบางตัวที่ใช้ในการยับยั้งไวรัสได้อีกด้วย


อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกจะยังไม่ได้ยกระดับความอันตรายของแลมบ์ดาให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลในขณะนี้


ที่มา : TNN world News, Reuters, ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

 

#รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์คลิกอ่านทันข่าว  #ทันข่าวสุขภาพ #ทันข่าวทูเเย์

#โควิดDelta #โควิด19 #WHO #เจาะลึกรอบโลก #วัคซีนโควิด #โลกร้อน   

ติดต่อโฆษณา!