15 กรกฎาคม 2562
3,611
ทันข่าว สุขภาพ ตอน การกู้ชีพ พื้นฐานสาหรับประชาชน (CPR) | โรงพยาบาลวิภาวดี

หากเรามีโอกาสและความรู้พอที่จะช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือแม้กระทั่งคนใกล้ตัวได้ แล้วเราจะปล่อยโอกาสนั้นไปทาไม มาเรียนรู้วิธีทา CPR ที่ถูกต้องจากพญ. นิตยา พะวงษ์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประจาห้องฉุกเฉิน รพ.วิภาวดี
CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary Resuscitation สามารถเรียกได้ทั้ง การกู้ชีพ การช่วยชีวิต หรือ การช่วยฟื้นคืนชีพ

6 ขั้นตอนในการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการทำ CPR

1. เมื่อพบคนหมดสติ ให้ตรวจดูความปลอดภัยของสถานที่รอบตัวผู้ป่วยก่อนเข้าไปช่วยเหลือ

2. ปลุกผู้ป่วยด้วยเสียงที่ดังและตบไหล่ทั้งสองข้าง


3. ขอความช่วยเหลือจากบริเวณนั้น ประเมินผู้ป่วยว่าหายใจหรือรู้สึกตัวหรือไม่โดยการฟังเสียงลมหายใจพร้อมทั้งสังเกตการขยับของหน้าอกของผู้ป่วย และ โทรขอความช่วยเหลือที่สายด่วน 1669

4. เมื่อตรวจการหายใจแล้ว พบว่าผู้ป่วยไม่หายใจให้ทำการ CPR การกดหน้าอกที่ถูกต้อง ให้วางส้นมือบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอกมืออีกข้างวางทับประสานลงไป
ล็อกนิ้วมือและกระดกข้อมือขึ้นเล็กน้อย ทำการกดหน้าอกให้ยุบลงไปโดยกดหน้าอกลึกอย่างน้อย 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที



5. เปิดทางเดินหายใจของผู้ป่วย เพื่อช่วยการหายใจ โดยมือข้างหนึ่งกดหน้าผาก และมืออีกข้างหนึ่งใช้นิ้วชี้กับนิ้วกลางเชยคางเมื่อทำการช่วยหายใจให้เปลี่ยนมือที่กดหน้าผาก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้มาบีบจมูกผู้ป่วย
ผู้ช่วยเหลือสูดลมเข้า แล้วประกบปากกับผู้ป่วยเป่าลมเข้าไปประมาณ 1 วินาที แล้วทำซ้ำอีก 1 ครั้ง ทำสลับกันไปเรื่อยๆ ระหว่างการกดหน้าอกและการช่วยผู้ป่วยหายใจ จำนวน 5 รอบ ใช้เวลาประมาณ 2 นาที

6.กดหน้าอกต่อไปกดหน้าอกต่อเนื่องทำ CPR และปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องเออีดี จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึงส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพ เพื่อนำส่งโรงพยาบาล
ปัจจุบันหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการทำ CPR มีการสอน “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและกู้ชีพพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป” ทุกๆ ปี
สนใจเข้าร่วมอบรม ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์หรือสอบถามประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลวิภาวดี ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
คลิ๊กชมรายการเต็ม >> https://youtu.be/VHFs-vUfo4w