ต.ค. นี้ จะมีวัคซีนเข้ามาอีก 24 ล้านโดส เตรียมแบ่งกลุ่มนักเรียน 4.8 ล้านโดส หรือ 20% รวมไตรมาส 4 จะมีวัคซีนเข้ามาเพิ่มอีก 71 ล้านโดส
Highlight
การจัดสรรวัคซีน 24 ล้านโดนเดือน ต.ค. ใครได้บ้าง
1.ประชาชนอายุ18 ปีขึ้นไปร้อยละ 70
2.กลุ่มนักเรียนที่มีอายุ12-17 ปี ฉีดไฟเซอร์เข็ม 1 และ 2 จำนวน 4.8 ล้านโดส
คิดเป็นร้อยละ 20
3.กลุ่มแรงงานในระบบประกันสังคมจำนวน0.8 ล้านโดส คิดเป็นร้อยละ 3
4.หน่วยงานอื่นๆเช่นองค์กรภาครัฐ ราชทัณฑ์ ใช้สูตร ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา
จำนวน 1.1 ล้านโดสร้อยละ 5
5.ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ2 เข็ม และต้องการเข็มกระตุ้น (เข็มที่3) ร้อยละ 2
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 (ศบค.) กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 64 ที่ผ่านมาพิจารณาแผนการจัดหาวัคซีน COVID-19 ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี 64 ซึ่งจะมีวัคซีนชนิดต่างๆ ทยอยเข้าอีก 71 ล้านโดส โดยจะทยอยเข้ามาในช่วงต่างๆ ประกอบด้วย
เดือน ต.ค. จะมีเข้ามาอีก 24 ล้านโดส ซึ่งจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา 10 ล้านโดส ซิโนแวค 6 ล้านโดส และไฟเซอร์ 8 ล้านโดส เดือน พ.ย.นี้จะมีวัคซีนเข้าไทยอีก 23 ล้านโดส แบ่งเป็น แอสตราเซเนกา 13 ล้านโดส ไฟเซอร์ 10 ล้านโดส และเดือน ธ.ค.นี้อีก 24 ล้านโดส แบ่งเป็น แอสตราเซเนกา 14 ล้านโดส และไฟเซอร์ 10 ล้านโดส
วัคซีน 24 ล้านโดสเดือน ต.ค. ฉีดใคร-ใช้สูตรไหน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมศบค.ได้พิจารณาจัดสรรวัคซีน 24 ล้านโดสที่จะเข้ามาในช่วง 27 ก.ย.-31 ต.ค.นี้ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1. ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใช้สูตรวัคซีน ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา, แอสตราเซเนกา-
แอสตราเซเนกา, แอสตราเซเนกา-ไฟเซอร์ จำนวน 16.8 ล้านโดสคิดเป็น
ร้อยละ 70 ของล็อต เดือน ต.ค.นี้
2. กลุ่มนักเรียน ที่มีอายุ 12-17 ปี ฉีดไฟเซอร์เข็ม 1 และ 2 จำนวน 4.8 ล้านโดส
คิดเป็นร้อยละ 20
3. กลุ่มแรงงานในระบบประกันสังคม ใช้สูตรซิโนแวค-แอสตราเซเนกา จำนวน
0.8 ล้านโดสคิดเป็นร้อยละ 3
4. หน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์กรภาครัฐ ราชทัณฑ์ ใช้สูตร ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา
จำนวน 1.1 ล้านโดสร้อยละ 5
5. ผู้ได้รับวัคซีน ซิโนแวคครบ 2 เข็ม และต้องการเข็มกระตุ้น(เข็มที่3) ใช้สูตรซิโนแวค-
ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา จำนวน 0.5 ล้านโดส คิดเป็นร้อยละ 2
วัคซีนนักเรียน เน้น ม.1-ม.6, ปวช., ปวส.
สำหรับแนวทางการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในกลุ่มอายุ 12 ปีขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเน้นนักเรียน นักศึกษาระดับ ม.1-ม.6 หรือระดับ ปวช.ปวส.หรือเที่ยบเท่า โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือช่วงแรกจะฉีดสำหรับนักเรียน ม.4 /ปวช./ปวส.และระยะถัดไปจัดสรรสำหรับระดับชั้นอื่นๆ แต่ให้บริการผ่านสถาบันการศึกษา นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
“การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับกลุ่มเด็ก 12-18 ปี จะต้องไม่ปิดบังผลของการฉีดวัคซีน ต้องรายงานผลที่เกิดขึ้น เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่สำคัญต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองและขอให้เป็นไปตามความสมัครใจ ไม่มีการบังคับ” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
ส่วนวัคซีนเข็มกระตุ้น ขณะนี้เริ่มใช้ในพื้นที่โครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ โดยได้มีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนพอสมควร แม้ว่าจะมีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ลดการเจ็บป่วยรุนแรง จึงต้องมีการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มกระตุ้น เช่นเดียวกับกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อ COVID-19 จะใช้ 1-3 เดือนหลังหายแล้ว และพ้นระยะการกักตัว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้รายงานสถานการณ์โควิดในโรงงาน พบมีตัวเลขทั้งหมด 952 แห่ง ผู้ติดเชื้อสะสม 65,000 คน หายป่วยแล้ว 25,000 คนพบการระบาดใน 32 จังหวัดที่มีโรงงานโดยเฉพาะที่เพชรบุรี ติดเชื้อสูงสุด 7,467 คน รองลงมาสมุทรปราการ 4,057 คน ฉะเชิงเทรา สระบุรี และสมุทรสาคร
ทั้งนี้การระบาดส่วนใหญ่พบในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร รองลงมาอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องนุ่งห่ม โลหะและพลาสติก พบอัตราการป่วยมากช่วง พ.ค-ส.ค.นี้
จำเป็นต้องทำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีล ในสถานประกอบการเป้าหมายคนงาน 140,000 คน ใน 30,000 โรงงาน ซึ่งขณะนี้มีโรงงาน 10% หรือ 3,000 แห่งใช้มาตรการนี้
จะเห็นได้ว่ายอดการติดเชื้อยังสูงและยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จึงยังคงมาตรการควบคุมเข้มข้นในพื้นที่สีแดง ซึ่งประชาชน ต้องใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังตามปกติ นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
ที่มา : ศบค. ThaiPBS