3 นักเศรษฐศาสตร์ดัง ฟันธงเศรษฐกิจปี 65 ฟื้นตัว
Highlight
● ปีหน้าเศรษฐกิจไทยเป็นปีเสือหมอบที่พร้อมกระโจน โดยทิศทางเศรษฐกิจ น่าจะสดใสขึ้น จากปัจจัยการส่งออก กำลังซื้อที่ดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยว ที่ทยอยฟื้นตัว
● เมื่อถึงปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.9% โดยปัจจัยชี้วัด ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ การระบาดของ โควิด-19 จะกลับมาระบาดใหม่อีกหรือไม่ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวว่าจะ กลับมาหรือไม่
3 นักเศรษฐศาสตร์แนวหน้า ฟันธงแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2565 ในงานสัมมนาเศรษฐกิจประจำปี 2564 สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ภายใต้หัวข้อ “ทางรอด 2022 Survival Guide” มองเป็นปีเสือหมอบที่พร้อมกระโจน โดยทิศทางเศรษฐกิจน่าจะสดใสขึ้น จากปัจจัยการส่งออก กำลังซื้อที่ดีขึ้น และภาคการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัว
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
สำหรับปัจจัยเสี่ยง คือ การเมืองของสหรัฐฯ ที่จะมีการเลือกตั้ง ซึ่งจะมีการสร้างกระแสนิยม โดยต้องการให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีการเติบโตอันดับ 1 จีดีพีขยายตัว 4-5% แต่จะเห็นว่าจีนไล่ตามมาติดๆ ซึ่งจะมีผลต่อการต่อสู้ในเรื่อง สงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี ซึ่งไทยเป็นประเทศเปิดขนาดเล็กจึงมีโอกาส ได้รับผลกระทบแน่นอน
ขณะที่ทิศทางค่าเงินบาท ประเมินว่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยจะอ่อนค่า ที่สุดในช่วงกลางปีที่ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งภายหลังจากนักท่องเที่ยว ทยอยเข้ามา ทำให้มีรายได้และดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก จะเห็นค่าเงินบาท กลับมาแข็งค่าในระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งจะต้องกลับมาดูนโยบายการเงิน
ภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญ และมองว่าวันนี้ภาครัฐยังมีเงิน ไม่ได้ถังแตก แต่ไม่ได้บอกว่ารัฐต้องมากู้และใช้เต็มที่ จากการระบาดของโควิดในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐใช้เงินไปแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท ชึ่งหากมีการระบาดรอบถัดๆ ไปก็ยังมีเงิน เพื่อนำมาใช้พยุงเศรษฐกิจต่อได้
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร
เมื่อถึงปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.9% โดยปัจจัยชี้วัด ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ การระบาดของโควิด-19 จะกลับมาระบาดใหม่อีกหรือไม่ รวมถึงภาคการท่องเที่ยวว่าจะกลับมาหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามมองว่า กว่าจะเห็นเศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตเหมือนก่อนโควิด-19 อาจต้องรอไปถึง ปี 2566
ขณะที่นโยบายการเงิน จะเห็นว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวเต็มที่จนเกิดปัญหาเงินเฟ้อแล้ว แต่ไทยยังไม่ทันฟื้น โดยเงินเฟ้อพุ่งสูงในรอบ 40 ปี ที่ระดับ 6.1% ซึ่งปัญหาปัจจุบัน คือ ฝั่งซัพพลายโตไม่ทันดีมานด์ ทั้งการขนส่ง ตลาดแรงงาน และการขาดแคลนชิป
ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาส่งสัญญาณว่าต้องดูเศรษฐกิจ ภายในประเทศ หากเศรษฐกิจโตไม่ดีจริงการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะลำบาก ดังนั้น จะเกิดความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย และค่าเงินบาทจะมีความผันผวนได้ ซึ่งผู้ประกอบการและนักธุรกิจจำเป็นต้องติดตาม
ดร.ชนินทร์ มโนภินิเวส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสด้านโครงสร้างพื้นฐาน ธนาคารโลก
เวิร์ดแบงก์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตที่ 1% และปีหน้าคาดขยายตัว 3.9% โดยเชื่อว่าภาครัฐจะมีบทบาทสูงมากในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะจากนอกเป็น ผู้จ้างงานแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของฐานรากคือประชาชนทั่วไปด้วย ที่ต้องการความช่วย เหลืออยู่
ปีหน้าถึงแม้เศรษฐกิจไทย จะไม่ได้เติบโตเท่ากับรประเทศอื่นๆ แต่เราสามารถใช้ เวลา ในการสร้างพื้นฐานกำลังภายในให้ฐานรากแข็งแรงได้
สิ่งที่ต้องจับตาคือทั้งความไม่แน่นอนของการขนส่ง และปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากซัพพลายที่มีความไม่แน่นอน เพราะภาคการผลิตเกี่ยวโยงกันหมด อาจทำให้การผลิตโลกเกิดการสะดุด ทำให้เศรษฐกิจไทยสะอึกได้จากปัจจัยเหล่านี้”
อ้างอิง :