6 เคล็ดลับลงทุนออนไลน์ไม่ให้ถูกหลอก

Highlight
มิจฉาชีพยุคนี้ร้ายนัก มีกลโกงหลากหลายรูปแบบมาหลอกลวงประชาชนและผู้ลงทุนโดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ หลอกไปทั่วหลายวงการ ไม่เว้นวงการหุ้น ตลาดทุนดิจิตัล หรือการโทรหาหลอกลวงให้โอนเงินออกจากบัญชีเข้ากระเป๋าโจรแบบดื้อๆ จนหมดเนื้อหมดตัวก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ ล่าสุด ก.ล.ต. งัดคำเตือน 6 ข้อ เป็นเกราะป้องกันภัย เพื่อเอาตัวรอดก่อนตกเป็นเหยื่อโจรยุคไซเบอร์
มิจฉาชีพยุคนี้ร้ายนัก มีกลโกงหลากหลายรูปแบบมาหลอกลวงประชาชนและผู้ลงทุน โดยเฉพาะผ่านช่องทางออนไลน์ (loud volume) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ขอแนะนำ 6 เคล็ดลับลงทุนออนไลน์ไม่ให้ถูกหลอก ไว้เป็นเกราะกันภัย
1. อย่าผลีผลามลงทุน ตามคำชวนใน social media ไม่ว่าจะมาทางช่องทางใด หรือแอปพลิเคชันไหน
2. สังเกตสัญญาณเตือนภัยกลโกงจากข้อเสนอการลงทุน ลักษณะผลตอบแทนที่ดูดีเกินไป รับประกันผลตอบแทน เร่งรัดให้ตัดสินใจลงทุน ดึงดูดใจด้วยสินทรัพย์ใหม่ ๆ
3. ไม่ลงทุนจากคำชวนของคนใน social media โดยไม่ตรวจสอบ ระวังการแอบอ้างชื่อคนมืชื่อเสียง ใช้ชื่อหรือโลโก้ของผู้ประกอบธุรกิจ ที่ได้รับอนุญาตจาก ก.ล.ต.
4. รักษาความเป็นส่วนตัว และตั้งค่าความปลอดภัยบน social media
5. ไม่ฝาก โอนเงินลงทุนเข้าบัญชีส่วนตัวของบุคคลธรรมดา โดยเฉพาะคนที่มาชักชวนลงทุน หรืออ้างว่าเป็นตัวแทนบริษัท
6. เช็คให้ชัวร์ก่อนลงทุน ให้แน่ใจว่าเป็นบริษัทที่มีตัวตน ไม่มีเจตนาหลอกลวง
(incoming call) หากพบเบาะแสหรือพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจ หรือสงสัยว่าเป็นการหลอกลวงให้ลงทุน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ให้บริการในตลาดทุนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ได้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. https://market.sec.or.th/LicenseCheck/Search หรือแอปพลิเคชัน #SECCheckFirst
หรือ (email) แจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนได้ที่ “ศูนย์บริการประชาชน สำนักงาน ก.ล.ต.” โทร 1207 หรือทางเฟซบุ๊กเพจ “สำนักงาน กลต.” หรือ SEC Live Chat ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. www.sec.or.th
นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มมิจฉาชีพ ได้โพสต์ โฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับ ว่ารัฐบาลจีน ประกาศซื้อขายเงินดิจิทัลกับไทยอย่างเป็นทางการ นั้น “เป็นข่าวปลอม”
กรณีการเผยแพร่ข้อมูลที่ระบุว่าประเทศไทย ประกาศซื้อขายเงินดิจิตอลกับประเทศจีนอย่างเป็นทางการแล้วนั้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ประเทศไทยไม่มีการซื้อขายเงินดิจิทัลแต่อย่างใด โดยประชาชนสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของไทยได้ที่เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามลิงก์นี้ https://www.bot.or.th/Thai/DigitalCurrency/Pages/default.aspx
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 02-283-5353
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ประเทศไทยไม่มีการซื้อขายเงินดิจิทัลกับประเทศจีนแต่อย่างใด
สำหรับข้อสังเกตุการดู “ข่าวจริง ข่าวปลอม” นั้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. สรุปไว้ ดังนี้
ข่าวปลอมมากมาย ที่เผยแพร่ออกไปสร้างความบิดเบือน ความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนักให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้น เราสามารถจำแนกกว้างๆได้ถึง 10 ประเภทด้วยกันแล้วแต่ละประเภททำขึ้นมาเพื่ออะไร? มีเจตนาแอบแฝงร้ายแรงแค่ไหน? มาทำความรู้จักและรู้เท่าทันข่าวปลอมไปพร้อม ๆ กันได้เลย
1. ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก (Clickbait) : เป็นข่าวที่ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปอ่าน. ผู้สร้างข่าวอาศัยประโยชน์จากความสงสัย
โดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ ทั้งที่เนื้อข่าวอาจไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือ ความถูกต้องของข้อมูล แต่การพาดหัวทำให้คนหลงกลดลึกเข้าไปเพื่อเรียกยอดวิวในเว็บไซต์นั่นเอง
2. โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) : เป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งชักจูงทัศนคติของผู้รับสารต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโมษณาชวนเชื่อ มักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิด เพื่อหวังผลให้ผู้รับสารเชื่อและคล้อยตามอุดมการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ
3. ข่าวแฝงการโมษณา (Sponsored content , Native Advertsing) : รูปแบบโฆษณาที่ใช้รูปแบบเนื้อหาแนบเนียนกับเนื้อหาปกติในเว็บไชต์นั้น ๆ พร้อมทำหน้าที่ให้เนื้อหาที่คนต้องการรับรู้ หรือรับชม โดยไม่ทราบว่าเป็นโฆษณาจนกว่าจะได้อ่าน/ดูจบ ข่าวแฝงการโฆษณานี้จะทำการแฝง (Tie-in) เรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่มากเกินไป ทำให้คนอ่านหรือคนเสพสื่อนั้น รู้สึกว่าไม่ไต้อ่านโฆษณาอยู่
4. ข่าวล้อเลียนและเสียดสี (Satire and Hoax) : ข่าวที่ดัดแปลงข้อมูลเพื่อมุ่งสร้างอารมณ์ขันให้กับผู้อ่าน ใช้เนื้อหาที่ตลกขบขัน เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวในโลกแห่งความเป็นจริงผ่านการล้อเลียนหรือเสียดสี
5. ข่าวที่ผิดพลาด (Error) : บางครั้งแม้แต่ข่าวที่เผยแพร่จากสำนักข่าวออนไลน์ที่เชื่อถือได้ ก็อาจมีความผิดพลาดได้เช่นกัน เช่น การเขียนข้อความที่ผิด ชื่อบุคคลหรือรูปภาพผิดจากเนื้อข่าวจริง ๆ ซึ่งทำให้ผู้รับสารเข้าใจไปในทิศทางอื่น หรือไม่เข้าใจในข่าวนั้น
6.ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง (Partisan) : เป็นข่าวบิดเบือนข่าวสาร มักจะเลือกข้างโดยนำเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ในทางลบต่อฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ ในขณะที่ฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน จะเสนอข่าวชื่นชมเกินจริง โดยเฉพาะด้านการเมือง
7. ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) : เป็นเรื่องเล่าหรือบทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคนที่นำเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน. โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน และอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น เพื่อให้ประโยชน์ ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด เช่น เครื่องบินที่หายไปนั้นโดน CIA ยึดไว้ เพราะต้องการของสำคัญที่อยู่ในเครื่องบิน เป็นต้น
8. วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudoscience) : คือ ข้อเขียนที่อ้างว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริง แต่จริง ๆ แล้วขัดแย้งหรือเข้ากันไม่ได้กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่มีหลักฐานหรือความเป็นไปได้ใด ๆมาสนับสนุน มักจะมาในรูปแบบของบทความทางการแพทย์หรือบทความสุขภาพที่แฝงโฆษณายารักษาหรือ อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ โดยแอบอ้างว่าได้ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว มีการสร้างภาพผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ
9. ข่าวที่ให้ข้อมูลผิด ๆ (Misinformation) : คือ ข่าวที่ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อน ข้อมูลอาจมีทั้งจริงและเท็จผสมกัน ผู้ส่งสารตั้งใจจะส่งข่าวออกไป แต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่าข่าวนั้นมีข้อมูลที่ผิดพลาดอยู่ เช่น ข่าวลือต่างๆ
10. ข่าวหลอกลวง (Bogus) : คือ ข่าวปลอมที่เจตนาในการสร้างขึ้นมาและจงใจให้แพร่กระจาย มีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกลวง อาจมีเนื้อเรื่อง ภาพ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเท็จมาประกอบกัน อาจรวมถึงการแอบอ้างเป็นแหล่งข่าวหรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ทุกวิธีการที่จะทำให้ข่าวนั้นดูเป็นข่าวปลอมที่สมบูรณ์มากขึ้น
ข่าวยอดนิยม

6 แอปฯ "ออมทอง" ไม่ต้องมีเงินก้อน ก็เริ่มลงทุนได้ !

7 แอป สร้างรายได้เสริม ไม่ต้องออกจากบ้าน ก็หาเงินได้!

ส่องรายได้คนขับส่งอาหาร ทางเลือกอาชีพยุคโควิด

6 บัญชี “ออมทรัพย์ดิจิทัล” ดอกเบี้ยดีต่อใจ สมัครง่ายผ่านออนไลน์ !
