คาดกำไรตลาด Q1/65 แตะ 3 แสนล้านสูงเป็นประวัติการณ์
Highlight
เข้าสู่ฤดูกาลประกาศงบ Q1/65 พร้อมการประกาศจ่ายปันผลกันแล้วในปีนี้นักวิเคราะห์บางสำนักมีมุมมองเชิงบวกมากๆ เช่น บล.ทิสโก้ ที่มองว่ากำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนไทยจะกระโดดไปถึง 3 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มธนาคาร ที่ได้อานิสงส์จากการตั้งสำรองลดลงและกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
ฤดูกาลการประกาศงบ 1Q ปี 2565 กำลังเริ่มขึ้น ด้วยภาพการฟื้นตัวของหลายๆ บริษัท คาดว่ากำไรรวมของตลาดในงวดนี้จะขึ้นทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์เกิน 3 แสนล้านบาทได้
มุมมอง บล.ทิสโก้
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่าแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส 1/65 ของตลาดโดยรวมที่เบื้องต้นคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 หลัก ทั้งเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (QoQ) แตะระดับ 3 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ น่าจะช่วยหล่อเลี้ยงบรรยากาศการลงทุนโดยรวมต่อเนื่องในเดือน เม.ย.นี้
สำหรับผลประกอบการหุ้นกลุ่มธนาคารที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ของ บล.ทิสโก้ ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ BAY, BBL, KBANK, KKP, KTB, SCB และ TTB คาดว่าไตรมาส 1/65 จะมีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 4.89 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% YoY และเพิ่มขึ้น 21.7% QoQ
การเติบโต YoY หลักๆ มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ และการตั้งสำรองฯ (ต้นทุนเครดิต) ที่คาดจะลดลงจากการกลับมาเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริหารคุณภาพสินทรัพย์ ขณะที่การเติบโตของกำไร QoQ มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และต้นทุนเครดิตที่ลดลง
โดยเชื่อว่า ธนาคารขนาดใหญ่ยังมีโอกาสเห็นต้นทุนเครดิตลดลงได้มากกว่าธนาคารขนาดเล็ก รวมทั้งจะได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอตัว หลักๆ มาจากผลกระทบของสงครามยูเครน-รัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ รวมถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และแนวโน้มการเร่งเข้มงวดทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED)
ทั้งการขึ้นดอกเบี้ยและการเริ่มดึงสภาพคล่องออกจากระบบในช่วงเดือนพ.ค.ถึงเดือนมิ.ย.นี้ เชื่อว่าจะไม่เป็นผลดีต่อตลาดโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ และทิศทางของกระแสเงินทุนต่างประเทศในระยะถัดไป
สำหรับการลงทุนในเดือน เม.ย. หุ้นที่น่าสนใจ คือ
1. หุ้นที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ และหุ้นที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น แนะนำ PTTEP, PTTGC, BBL
2. หุ้นเปิดเมืองรับการผ่อนคลายต่างชาติเข้าประเทศง่ายขึ้นและการเตรียมปรับ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่นแนะนำ MINT และ
3. หุ้นอิงเศรษฐกิจในประเทศที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว เด่น AP, BCH, SPVI
ด้านแนวรับสำคัญของ SET Index เดือนนี้อยู่ที่ 1,660 - 1,670 จุด และแนวรับถัดไปที่ 1,640 จุด และ 1,620 จุด ตามลำดับ และแนวต้านสำคัญ อยู่ที่ 1,700 - 1,705 จุด และแนวต้านต่อไปคือ 1,720 - 1,730 จุด และ 1750 จุด ตามลำดับ
มุมมอง บลจ.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์
ประกิต สิริวัฒนเกตุ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ กล่าวว่า จากการสำรวจการคาดการณ์แนวโน้มผลประกอบการงวด 1Q65 ของ Consensus จำแนกออกมาได้ดังนี้
1. กลุ่มหุ้นที่จะมีการรายงานผลประกอบการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1Q64(+YoY)และ เติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาส 4Q64 (+QoQ) ประกอบไปด้วย
- กลุ่มธนาคารฯ BBL KBANK KTB BAY SCB TISCO KKP TTB
- กลุ่มปิโตรเคมี IVL GGC
- กลุ่มค้าปลีก CPALL GLOBAL MAKRO
- กลุ่มเทคโนโลยี HUMAN
- กลุ่มพลังงาน BAFS BANPU BCP ESSO PTT PTTEP SPRC TOP GULF EGCO BPP BCPG ACE
- กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ DELTA
- กลุ่มการเงิน JMT TIDLOR KTC BAM CHAYO
- กลุ่มเกษตร GFPT TACC
- กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม OSP RBF
- กลุ่มโรงพยาบาล BDMS BH IMH
- กลุ่มบันเทิง MAJOR
- กลุ่มอสังหาฯ PSH ORI ALL
- กลุ่มขนส่ง AAV AOT LEO
- กลุ่มสื่อสาร INTUCH
- กลุ่มยานยนต์ SAT
- กลุ่มบริการ SISB
- กลุ่มวัสดุก่อสร้าง EPG
- กลุ่มประกัน BLA THRE THREL TQM
- กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค IP
- กลุ่ม MAI SMD
2. กลุ่มหุ้นที่จะมีการรายงานผลประกอบการเติบโตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1Q64 (+YoY) แต่หดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4Q64 (-QoQ) ประกอบไปด้วย
- กลุ่มค้าปลีก COM7 HMPRO BJC CRC
- กลุ่มการเงิน THANI
- กลุ่มพลังงาน UBE CKP
- กลุ่มอาหาร M MINT SUN ZEN
- กลุ่มโรงพยาบาล BCH CHG EKH LPH
- กลุ่มบันเทิง BEC PLANB
- กลุ่มนิคมฯ AMATA WHA
- กลุ่มอสังหาฯ LH QH SPALI AWC
- กลุ่มสื่อสาร ADVANC JMART
- กลุ่มโรงแรม ERW CENTEL SHR
- กลุ่มขนส่ง AMA
- กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค SMPC
- กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ KCE
- กลุ่ม MAI SPA IIG
3. กลุ่มหุ้นที่จะมีการรายงานผลประกอบการหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1Q64 (-YoY) แต่เติบโตเมื่อเทียบกับไตรมาส 4Q64 (+QoQ) ประกอบไปด้วย
- กลุ่มปิโตรเคมี PTTGC
- กลุ่มค้าปลีก DOHOMEOR RS
- กลุ่มพลังงาน IRPC RATCH
- กลุ่มการเงิน SAWAD MTC
- กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม CBG
- กลุ่มบันเทิง VGI
- กลุ่มอสังหา ANAN AP LPN
- กลุ่มขนส่ง BEM KEX
- กลุ่มสื่อสาร DTAC THCOM
- กลุ่มยานยนต์ AH STANLY
- กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC SCCC DCC
- กลุ่มโรงไฟฟ้า GPSC
- กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค KISS
4. กลุ่มหุ้นที่จะมีการรายงานผลประกอบการ หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 1Q64 (-YoY) และหดตัวเมื่อเทียบกับไตรมาส 4Q64 (-QoQ) ประกอบไปด้วย
- กลุ่มโรงไฟฟ้า BGRIM
- กลุ่มพลังงาน PTG
- กลุ่มอาหาร CPF TU
- กลุ่มบรรจุภัณฑ์ SCGP
- กลุ่มสิ่งพิมพ์ UTP
- กลุ่มขนส่ง BTS
- กลุ่มสื่อสาร TRUE
- กลุ่มบันเทิง JKN
- กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค STGT TSR
- กลุ่มเกษตร STA
- กลุ่ม MAI NETBAY TNP XO
มุมมอง บล.บัวหลวง
บทวิเคราะห์ของหลักทรัพย์บัวหลวง คาดการณ์ว่า กำไรไตรมาส 1ปี 65 จะเห็นการเติบโตเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหนุนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและกิจกรรมทางธุรกิจที่ทยอยฟื้นตัวหลังคลายข้อจำกัดต่างๆที่เกี่ยวกับโควิด-19 บนสมมติฐานที่อัตราการติดเชื้อ และเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังจากเทศกาลสงกรานต์ไม่ได้สูงขึ้นมากและสงครามรัสเซีย - ยูเครนไม่ได้ทวีความรุนแรง
คาดจะเห็นการเติบโตของกำไรหลักเมื่อเทียบกับปีก่อนอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2ปี 65 ทั้งนี้ผลประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมหภาค โดยเฉพาะหุ้นที่ยังมีราคาถูก และ/หรือปรับตัวได้ช้ากว่าตลาด (เทียบกับช่วงก่อนโควิด-19)
สำหรับกำไรสุทธิรวมไตรมาส 1 ปี 65 คาดว่าหุ้นใน SET จะรายงานกำไรสุทธิรวมไตรมาส 1 ปี 65 ที่เติบโต 6% เมื่อเทียบกับปีก่อนขณะที่คาดกำไรหลักจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึง 26% เมื่อเทียบกับปีก่อนและ 11% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนโดยกลุ่มที่มีแนวโน้มจะรายงานการเติบโตของกำไรหลักเมื่อเทียบกับปีก่อนเกิน 30% ได้แก่กลุ่มการแพทย์ (รายได้ที่เกี่ยวกับโควิด-19 และการเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่มากขึ้น
ด้าน“กลุ่มการแพทย์” น่าจะเป็น Safe-Haven สําหรับช่วงสงครามรัสเซีย – ยูเครนและเงินเฟ้อสูง (สาเหตุจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น) BDMS และ BH จะเป็นผู้นํากลุ่มในการปรับตัวขึ้นจากภาพการฟื้นตัวของธุรกิจที่แข็งแกร่ง (หนุนจากผู้ป่วยต่างประเทศ) ขณะที่ BCH และ CHG จะเป็นผู้เล่นลําดับที่ 2 ซึ่งทั้ง 2 บริษัทมีการรายงานกําไรที่แข็งแกร่งในช่วงยุคโควิด-19
สำหรับปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตามต่อ คือ
1. โมเมนตัมเศรษฐกิจที่อ่อนแอ (ทั่วโลกและประเทศไทย)
2. ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงแรง
3. ความตึงเครียดทางการเมือง