ความเชื่อผิด ๆ ที่เสี่ยงทำพอร์ตพัง
Highlight
มีคนจำนวนมากที่ยังคงมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวม เช่นกองทุนเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น ซื้อกองทุนในราคา NAV ต่ำจะดี หรือ เลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีในอดีตเป็นต้น หากมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง อาจทำให้ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย Phillip Fund Supermart ซึ่งเสนอขายกองทุน จากทุกบริษัทจัดการลงทุนผ่านแอพพลิเคชั่น เสนอการลงทุนในรูปแบบที่หลากหลาย มีทั้งการออมกองทุนรายเดือน และการให้คำปรึกษาการลงทุนจากผู้เชี่ยวชาญ
มีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมในหลายประเด็น ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิปได้รวบรวมไสิ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักลงทุน เพิ่อให้พอร์ตการลงทุนและผลตอบแทนเป็นไปตามเป้าหมาย ตามความตั้งใจของทั้ง ฟิลลิปแบะนักลงทุน “Win with Asset Allocation with Phillip Capital”
ชัชพล ตันเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์กองทุน บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป กล่าวว่า ความเชื่อผิดๆ ที่เจอกันบ่อยๆ โดยเฉพาะนักลงทุนหน้าใหม่ ที่เข้ามาปรึกษากับทางฟิลลิป จะมีดังต่อไปนี้คือ
1. กองทุนรวมเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นได้หลตอบแทนแน่นอน
บางคนฟังมาว่า กองทุนรวมเป็นเครื่องมือการลงทุนที่มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลจัดพอร์ตให้ มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นหรือไม่ ปลอดภัยกว่าหรือไม่
คำตอบคือไม่ใช่ การที่เข้าใจกันมาผิดๆแบบนี้ อาจจะเจอ “Sale Talk” มาอาจจะฟังการแนะนำกองทุนตราสารหนี้ ที่ให้ได้ผลตอบแทนดีกว่าฝากเงินธนาคาร มีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น ทำให้เข้าใจว่ากองทุนรวมทั้งหมดเสี่ยงน้อยกว่าหุ้น อย่างไรก็ตาม อาจเป็นเพียงกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เสี่ยงน้อยกว่าหุ้น
โดยทั่วไปแล้ว กองทุนรวมเป็นเครื่องมือในการลงทุนที่มีหลายระดับความเสี่ยง กองทุนหุ้นก็มีความเสี่ยงสูง เช่นลงทุนในหุ้นไทยหรือกองทุนหุ้นต่างประเทศก็เสี่ยงสูงเช่นกัน มีบางสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงกว่าหุ้น เช่น อนุพันธ์ต่างๆ ที่มีความซับซ้อน เมื่อกองทุนรวมมีหลายประเภทสินทรัพย์แบะคงามเสี่ยงที่หลาก จึงเป็นเครื่องมือการลงทุนที่ตอบโจทย์คนได้หลากหลายกลุ่ม
2. ราคาต่อหน่วย หรือ NAV ต่ำยิ่งดี
ยกตัวอย่างกองทุนหุ้น ที่ก่อตั้งมาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลงทุนในหุ้นไทย SET50 ผ่านมา 10 กว่าปี หุ้นไทยก็มีการเติบโต NAV มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัจจุบันปี 2022 มีกองทุนใหม่ๆ ออกมาลงทุนใน SET50 เหมือนกัน NAV เริ่มต้น 10 บาท แต่อีกกองทุนหนึ่ง NAV เพิ่มขึ้นไปแล้ว 50 บาท
ถ้าหากสินทรัพย์ในกองทุนเหมือนกันต่างกันที่ราคา NAV สิ่งสำคัญต้องดูที่ สินทรัพย์ที่ลงทุน ว่ามีอะไรบ้าง มีโอกาสเติบหรือไม่ คุณชัชพลกล่าว
3. เลือกกองทุน แค่อ้างอิงผลงานที่ผ่านมา
การดูผลตอบแทนในอดีตเป็นเพียงแค่เบื้องต้นในการคัดกรอง ปัจจุบันมีกองทุนมากกว่า 2,000 กองทุน การดูเรื่องผลตอบแทนจึงเป็นเพียงการดูในเบื้องต้นเท่านั้น แต่จะเอาเรื่องผลตอบแทนในอดีตมาเป็นความเชื่อทั้งหมดไม่ได้ว่า ถ้าปีที่แล้วโตมาแบบนี้ ปีต่อไปจะต้องโตแบบนี้ไปเรื่อยๆ
เราจะได้ยินคำพูดบ่อยๆว่า “ผลตอบแทนในอดีต ไม่ใช่สิ่งที่จะการันตีผลตอบแทนในอนาคต” ซึ่งคำพูดนี้เป็นความจริง ดังนั้นการดูผลตอบแทนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ผลตอบแทนในอดีตพอจะบอกได้ว่า ผลตอบแทนของกองไหนดีกว่ากองไหน แต่สิ่งสำคัญคือต้องศึกษาดูว่าสินทรัพย์ที่กองทุนไปลงทุนนั้น ช่วงที่ผ่านมาเขาทำผลตอบแทนได้ดีเกิดจากปัจจัยอะไร และในอนาคตมีโอกาสเติบโตหรือไม่
ยกตัวอย่างปี 2020 ที่เกิดการระบาดของโควิด-19 สินทรัพย์ที่ราคาปรับขึ้นคือทองคำ เพราะทุกคนเกิดความกลัว จึงเข้าลงทุนใน”ทองคำ”ซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย
ปี 2021 เริ่มมีวัคซีนเข้ามา นักลงทุนคลายความกังวลในการลงทุนราคาทองคำปรับลงจากปี 2020
ส่วนปี 2021-2022 เปิดประเทศได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เพราะมีการเดินทางมากขึ้นจึงกลับมาเปิดเมืองมากขึ้น แต่การผลิตน้ำมันยังไม่เพียงพอ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น
ในช่วงต้นปี 2022 นักลงทุนก็มองว่าะลงทุนในกองทุนน้ำมันให้ผลตอบแทนดี แต่ภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ จึงควรลงทุนในกองทุนน้ำมันระยะสั้น แต่นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนน้ำมันระยะยาวยังไม่ตอบโจทย์ time-frame ระยะยาว อาจจะเป็นเรื่องพลังงานทดแทนที่เข้ามาแทนที่
4. จัดพอร์ตแบบถือยาว ไม่ต้องสนระหว่างทาง (ไม่ขายไม่ขาดทุน)
การลงทุนในกองทุนแม้มีผู้จัดการกองทุนคอยดูแลให้ แต่การลงทุนที่ดี ควรจะกำหนดเป้าหมายการลงทุนในระยะยาว 5-10 ปี และนักลงทุนควรตรวจทบทวนพอร์ตของตัวเองบ้างอย่าปล่อยทิ้ง
การลงทุนในกองทุนรวม มีหลากหลาย แต่ก็ควรดูว่าระยะเวลาผ่านไป กองทุนที่เราลงทุนอยู่ ยังเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ยังมีโอกาสเติบโตอยู่หรือไม่ เมื่อเกิดสงครามในยุโรป กองทุนหุ้นในยุโรปยังไปต่อได้ไหม เกิดเศรษฐกิจล่มสลายจะทำอย่างไร เราต้องทบทวนดูว่า กระทบอย่างไร มีโอกาสเติบโตหรือไม่ในอนาคต ซึ่งสามารถเปรียบเทียบกับกองทุนอื่นๆที่คล้ายกันว่าผลตอบแทนเป็นอย่างไร
ดังนั้นเราสามารถทบทวนพอร์ตลงทุนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ และมีการกระจายสินทรัพย์ที่ดี หรือ “Win with Asset Allocation” หากไม่มั่นใจ ต้องปรึกษาผู้จัดการกองทุนหรือผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
Phillip Fund Supermart ซึ่งเปรียบเสมือน Supper market สำหรับกองทุนรวม
การที่มีเครื่องมือกว้างเพียงพอ มีสินค้าด้านการลงทุนหลากหลาย มีกองทุนจากทุก 20 บลจ. ให้เลือกครอบคลุมความต้องซึ่งสามารถติดตามข้อมูลการลงทุนผ่านแอพพลิเคชั่น และช่องทางต่างๆ ของฟิลลิป รวมทั้งการออมกองทุนด้วย
การลงทุนรายเดือนก็มี Fund Builders Plan ให้เลือกลงทุน
การลงทุนรายเดือนหรือการออมกองทุน นักลงทุนสามารถลงทุนได้อย่างมีวินัย โดยใช้เงินลงทุนจำนวนเท่าๆกัน เพียงขั้นต่ำ เดือนละ 1,000 บาท และสามารถหักบัญชีเงินฝากผ่านธนาคารอัตโนมัติ ซึ่งมีความสะดวกสามารถทำรายการผ่านแอพพลิเคชั่นได้ทั้งหมด
ถ้าหากไม่สามารถตัดสินใจลงทุนได้ด้วยตนเอง Phillip Fund Suppermart มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาการลงทุน เพื่อให้พอร์ตลงทุนและสินทรัพย์ลงทุนตรงความต้องการ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนเป็นมืออาชีพด้านการลงทุน
สนใจการลงทุน กับ Phillip Fund Supermart สามารถติดต่อผ่าน
Tel : 02-635-1718
LINE : @phillipcapital
YouTube : PhillipCapital TH