ลงทุนในแบรนด์หรูอีก 1 ในเมกะเทรนด์ที่น่าจับตา
Highlight
เศรษฐกิจที่ดูอาจจะมีโอกาสถดถอย จากสภาวการณ์ทั้งจากความขัดแย้งในสงครามรัสเซีย-ยูเครน หรือ ภาวะเงินเฟ้อที่กดดันเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่น่าแปลกคือ ปัจจัยเหล่านี้แทบไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสินค้าและบริการเหล่าแบรนด์หรูเหล่านี้อย่างมีนัยยะสำคัญมากนัก ในทางตรงกันข้าม ยอดขายสินค้าและจำนวนผู้ใช้บริการในบางรายการกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมูลค่าของสินค้าแบรนด์และบริการแบรนด์หรูกลับพุ่งทะยานสวนทางขึ้นด้วยซ้ำ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่น่าจับตามองในตลาดการลงทุนเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้
ชัชพล สีวลีพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ บลจ. กรุงไทย กล่าวไว้ในคอลัมน์ Investment Focus by KTAM ว่าสินค้าแบรนด์หรู เป็นอีกทางเลือกลงทุที่น่าสนใจ เพราะธุรกิจสามารถเติบโตได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขาลงและความผันผวนจากปัจจัยต่างๆ ไม่ได้มีผลต่อการเติบโตของสินค้ากลุ่มนี้
3 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินค้าแบรนด์เนมยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ราคาสินค้าแบรนด์เนมเพิ่มสูงขึ้นนั้น ไม่ส่งผลให้ “ความต้องการ” ของผู้คน (Demand) ลดน้อยลงไปเหมือนสินค้าประเภทอื่น ๆ เพราะปัจจัยสำคัญ ดังนี้
1. ภาพลักษณ์ เอกลักษณ์ และการสื่อถึงตัวตนหรือสถานะ
จุดเด่นของสินค้าแบรนด์เนม ไม่ใช่แค่เรื่องของกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพสูง การออกแบบที่ปราณีตและมีเอกลักษณ์ จนทำให้มีราคาที่สูงเป็นพิเศษ แต่สินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้มักบวกเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจให้กับตัวแบรนด์ หรือสินค้าของตน ที่ ทำให้สินค้าแบรนด์เนมเหล่านี้มีทั้งมูลค่า สามารถสะท้อนรสนิยม ตัวตน และสถานะทางสังคมของผู้ถือครองสินค้าแบรนด์เนมได้ด้วย ซึ่งไปผูกกับค่าความนิยมของสังคม Social Media ในปัจจุบันอีกด้วย หมายถึง การที่คนโดยเฉพาะวัยรุ่น หรือ กลุ่มคน Gen Yและ Gen Z เป็นกลุ่มคนที่มีค่านิยมการแสดงตัวตน ภาพลักษณ์ เอกลักษณ์ สูงมากผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ก็เป็นอีกจุดนึงที่ทำให้เกิดความต้องการสินค้าในกลุ่มแบรนด์เนมเพิ่มมากขึ้น
โดยจากข้อมูล Bain & Company และข้อมูลจาก Business Of Fashion ระบุว่ากลุ่มคน Gen Z จะกลายเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อหลัก โดยคิดเป็น 40% ของการซื้อสินค้าแบรนด์เนมทั่วโลกในปี ค.ศ. 2035 อีกทั้งยังคาดการณ์ว่ากลุ่มคน Millennials และ Gen Z จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้มีโอกาสเติบโต ถึง 130% สำหรับการเติบโตของตลาดแบรนด์เนมจากปัจจุบันจนถึงปี ค.ศ. 2025 อีกด้วย โดยข้อมูลจาก Business Of Fashion ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2021
2. สินค้ามีจำนวนจำกัด และเพิ่มมูลค่าด้วยการใส่ใจสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น
หลาย ๆ แบรนด์ เริ่มปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในการผลิตสินค้าคอลเลกชันใหม่ ที่หันมาใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น รวมถึงการลดการผลิตสินค้าลง สืบเนื่องจากการเรียกร้องต่อสหภาพยุโรป (EU) ในข้อบังคับให้มีการใช้เส้นใยรีไซเคิล (Recycled fibers) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอภายในปี 2030 รวมถึงห้ามทำลายเสื้อผ้าสินค้าที่ขายไม่ออก นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ในทางกลับกัน สินค้าคอลเลกชันต่าง ๆ จากแบรนด์หรูบางแบรนด์ อาจยังเป็นที่ต้องการของผู้คนในบางกลุ่มเช่นกัน ประกอบกับจำนวนการผลิตที่น้อยลง จึงทำให้สินค้าแบรนด์หรูบางชิ้นมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น
3. มุมมองของผู้คนที่เปลี่ยนจากการใช้งานเป็นการลงทุน
ด้วยเหตุผลข้างต้นที่ว่ามาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอกลักษณ์ของสินค้าที่สามารถสะท้อนถึงรสนิยม ตัวตน และสถานะทางสังคม รวมไปถึงการที่สินค้าในแต่ละคอลเลกชันที่น้อยลงแต่ความต้องการเท่าเดิมหรือมากขึ้น จึงทำให้ผู้คนเริ่มเห็นมูลค่า และหันมาลงทุนเพื่อการเก็งกำไรเป็นจำนวนมากขึ้น
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีสถิติที่น่าสนใจพบว่า ไม่ว่าจะเป็นการคาดการณ์มูลค่าทางการตลาดในอนาคต ที่เชื่อว่ามูลค่าตลาดสินค้าแบรนด์เนมจะเติบโตมากถึง 382.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2025 จากเดิมที่ในปี ค.ศ. 2021 นั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 309.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น
หรือหากย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 2020 แม้ว่ามูลค่าโดยรวมของตลาดแบรนด์หรูจะตกมาอยู่ที่ประมาณ 94,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มูลค่าก็สามารถดีดกลับขึ้นไปอยู่ที่ 108,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งถือเป็นรายได้ที่สูงที่สุดตลอดกาลของตลาดสินค้าแบรนด์หรูด้วยเช่นกัน (ที่มา ©The Moodie Davitt Report ณ 6 January 2022
จากปัจจัยทั้ง 3 นักลงทุนบางส่วนที่สนใจในสินค้าแบรนด์เนม แต่แน่นอนว่าหนึ่งในปัญหาใหญ่สำหรับการลงทุนในสินค้าแบรนด์เนม ก็คือเรื่องของต้นทุนที่ค่อนข้างมีราคาสูง ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคด้านการลงทุนสำหรับคนที่สนใจ รวมถึงการที่จะไปตามหาสินค้ารุ่นที่สนใจที่จะต้องการลงทุนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่การลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่จะมีโอกาสได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตของความต้องการและมูลค่าราคาของสินค้าแบรนด์เนมที่ขายปรับตัวเพิ่มขึ้นคือ การลงทุนในบริษัทที่เป็นเจ้าของตราสินค้าเหล่านั้นผ่าน “กองทุนเคแทม Luxury” หรือ “KT-LUXURY” ที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหลักที่ชื่อว่า Pictet - Premium Brands โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV
ซึ่งกองทุนรวมหลักมีวัตถุประสงค์การลงทุน คือ เน้นการเติบโตของมูลค่าเงินลงทุน ผ่านการลงทุนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ในตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมสินค้า และบริการระดับบน (Premium brands sector) ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง โดยบริษัทเหล่านี้เป็นที่ถูกจดจำหรือรับรู้โดยผู้บริโภคในตลาด (Strong market recognition) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความสามารถที่จะสร้างหรือมีอิทธิพลในการกำหนดกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ (Consumers trends)