15 สิงหาคม 2565
1,655

เกษียณแล้ว จะเลือกลงทุนยังไงให้งอกเงย ?

Highlight

การจัดพอร์ตลงทุนในวัยเกษียณ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะถ้าหากเกษียณแล้วไม่ลงทุน สุดท้ายเงินเฟ้อก็จะกัดกินเงินออมของเราให้มีมูลค่าลดลงไปในวันข้างหน้า ดังนั้นเราต้องบริการจัดการเงินก้อนสุดท้ายในชีวิตให้เหมาะสม เพื่อให้เงินก้อนนี้งอกเงยขึ้น แต่หากไม่มีความชำชาญ ไม่มีเวลาติดตามสถานการณ์และสภาวะการลงทุน บมจ.ฟิลลิป มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาการลงทุน และให้คำแนะนำ การลงทุนที่เป็นกลาง “Phillip Fund SuperMart” มีกองทุนรวมให้เลือกกว่า 2,000 กองทุนจากกว่า 20 บลจ.


คุณชัชพล ตันเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์กองทุน บมจ.หลักทรัพย์ฟิลลิป จากบริการ Phillip Fund SuperMart กล่าวว่า การลงทุนในช่วงวัยเกษียณมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบางคนซึ่งเป็นเงินก้อนสุดท้ายจริงๆ ไม่มีธุรกิจส่วนตัว ไม่มีรายได้เสริม ดังนั้นการวางแผนการลงทุนที่ดี จะช่วยให้การบริหารสินทรัพย์ในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลายคนจะค่อนข้างกังวลและระมัดระวังการลงทุนเมื่อยามเกษียณ เพราะเป็นเงินที่ต้องใช้ในระยะ 10-20 ปีข้างหน้า บางคนไม่กล้ารับความเสี่ยงในการลงทุน เลยเลือกที่จะไม่ลงทุน แต่ถึงจะไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อเหมือนกัน

การไม่ลงทุนคือการยกธงขาวยอมแพ้ให้กับเงินเฟ้อ ที่จะให้กัดกินค่าเงินของเราให้ลดค่าลง เงินเราตอนนี้ที่จะสามารถใช้ได้เท่านั้นเท่านี้ แต่พอถึงตอนนั้น จะใช้ได้น้อยกว่าที่คิดแล้ว “เพราะฉะนั้นเมื่อถึงวัยเกษียน การคิดถึงการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญ” คุณชัชพล กล่าว

ปัจจัยที่ระวังสำหรับการลงทุนในวัยเกษียณ

ขึ้นชื่อว่าการลงทุน แน่นอนว่า เราลงทุนเพื่อหวังว่าเงินที่เราลงทุนนั้นจะเติบโตขึ้น แต่การลงทุนก็หนีสิ่งที่เรียกว่าความเสี่ยงไม่พ้น เป็นเหรียญสองด้านมาคู่กัน ฉะนั้นหลักการสำคัญของการลงทุน คือต้องคำนึงถึงความเสี่ยง Matching ความเสี่ยงให้เหมาะกับตัวเอง

ยกตัวอย่าง  บางคนเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำสุด เช่น การฝากเงินกับธนาคาร การลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน ซึ่งมีระดับความเสี่ยงต่ำ แต่จะเห็นได้ว่าช่วงหลัง หรือยุคปัจจุบันนั้น มีการเติบโตน้อยมาก ผลตอบแทนดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำมาก สู้เงินเฟ้อไม่ได้

การลงทุนที่ไม่เหมาะกับความเสี่ยงกลายเป็น Pain Point ที่สำคัญ ของคนวัยเกษียณ ลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำเกินไปก็ทำให้กองทุนไม่โต

ในทางกลับกันเป็นผู้ใหญ่วัยเกษียณแต่..ใจยังวัยรุ่น ไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงเกินไป พร้อมลุยเต็มที่ เช่นไปลงทุนในคริปโทเคอเรนซี หรือหุ้นเสี่ยงสูง จัดเต็มเทหมดหน้าตัก! อันนั้นก็น่ากลัวเกินไป เพราะว่าเงินสำหรับใช้ในวัยเกษียณไม่สามารถรองรับได้ขนาดนั้น

ถ้าเกิดการลงทุนไม่ได้เป็นอย่างที่เราคาดหวังไว้ ผลตอบแทนในอดีตมันซิ่งมากเลย ผมคาดหวังว่ามันจะเป็นอย่างนั้น เงินที่วางแผนไว้ เช่นหวังว่าจะใช้เงินหลังเกษียนอีก 30 ปี กลายเป็นเงินที่เหลือใช้เพียง 15 ปี อันนี้คือหนักมาก และตอนนั้นไม่มีรายได้แล้ว ดังนั้นข้อควรระวัง คือต้องลงทุนให้เหมาะกับความเสี่ยงด้วย คุณชัชพล กล่าว


20220815-a-01.jpg


คำแนะนำการลงทุนของคนวัยเกษียณ

1. ต้องมีการแบ่งเงินเป็นสัดส่วน คือเงินสำรองฉุกเฉิน เงินที่จะไว้ใช้ 1-3 ปีแรก เงินก้อนนี้ต้องมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ สินทรัพย์แนะนำ คือ ตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งอาจจะเติบโตน้อยหน่อย แต่มีสภาพคล่องและมีความปลอดภัย ไม่ใช่ว่าอีก 6 เดือน ต้องการใช้เงิน แต่เงินไม่พอใช้ เพราะขาดทุนหุ้น

2. การใช้เงินในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า ก็สามารถลงทุนในทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงปานกลาง-สูง สินทรัพย์ที่แนะนำคือ การลงในกองทุนหุ้น (บางส่วน)

3. เงินที่จะใช้ใน 10 ปีข้างหน้า สามารถลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้ สินทรัพย์แนะนำคือหุ้น (บางส่วน)


หลักการจัดพอร์ตสำหรับวัยเกษียณ การแบ่งสัดส่วนลงทุน

ในแง่การลงทุนในแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองในภาพกว้างๆ นักลงทุนวัยเกษียณ สามารถจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ 60-70% โดยลงในกองทุนรวมตราสารหนี้ และ 30-40% อาจเป็นส่วนที่กันเอาไว้เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูงได้มากขึ้น เช่นกองทุนผสมที่เป็น Aggressive Allocation หรือกองทุนหุ้นพื้นฐาน มีโอกาสเติบโตได้ดี ไม่ผันผวนจนเกินไป

“สำหรับความเชื่อว่านักลงทุนวัยเกษียณให้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ อันนี้มีส่วนจริง แต่โจทย์บางคนไม่เหมือนกัน บางคนอาจเตรียมเงินก้อนใหญ่ไว้รองรับวัยเกษียณ แบ่งสัดส่วนเงินไว้ชัดเจนสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และมีอีกก้อนหนึ่ง ที่จะไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งได้กันเงินส่วนนี้ไว้แล้ว ก็สามารภนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงได้” คุณชัชพล กล่าว

ปัจจุบันมีสินทรัพย์และเครื่องมือการลงทุนหลากหลายเมื่อเทียบกับอดีต และกองทุนรวมก็มีออกมาใหม่เยอะมาก ต่างกับในอดีตที่หากพูดถึงกองทุนที่เติบโตได้ดี ก็จะนึกถึงกองทุนหุ้น

การลงทุนในกองทุนหุ้นในอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ในอดีตกองทุนหุ้นจะแบ่งเป็นการลงทุนหุ้นของแต่ละประเทศ แต่ปัจจุบัน เป็นการเลือกลงทุนแบบ Themetic Funds เป็นการเลือกลงทุนเฉพาะกลุ่ม Sector ที่จะพัฒนาไปเป็นเมกะเทรนด์ โฟกัสในกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจ

ตัวอย่างเช่นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เราจะได้ยินการลงทุนในกองทุนพลังงานสะอาด ซึ่งได้รับความสนใจมากขึ้นในช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน หรือช่วงที่มี Supply ขาดแคลน Theme Semiconductor ก็น่าสนใจ หรือ Theme ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ช่วง Covid-19 ระบาดก็จะนึกถึง Theme Health Care

Covid-19 เข้ามา นวัตกรรมยารักษาโรค เป็น Theme กองทุน Health Care Biotechnology เป็นทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นสำหรับนักลงทุน มีความท้าทายให้นักลงทุนมากขึ้นกว่ากองทุน Healthcare ในอดีต ซึ่งมันมีหลากหลายมากขึ้น

Phillip  Fund Supermart

Phillip  Fund SuperMart เป็น Supermarket สำหรับกองทุนรวม ที่มีกองทุนรวมหลากหลายประเภทให้เลือกลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกองทุนยุคเก่าๆ ที่เป็นกองทุนรวมรายประเทศ หรือกองทุนยุคใหม่ ที่เป็นที่เป็น Thematic

ลูกค้าของ Phillip สามารถลงทุนได้หลากหลายทุกประเภท ซึ่งสามารถเลือกลงทุนได้อย่างสะดวกในทุกกองทุนรวมจากกว่า 20 บลจ. พร้อมด้วยคำแนะนำการลงทุนที่ เป็นกลาง

“แต่ Pain Point ของเราคือ พอมีทางเลือกในการลงทุนเยอะ ทำให้นักลงทุนไม่สามารถตัดสินใจลงทุนได้ว่า จะเลือกการลงทุนแบบไหนดี เช่น SSF ดีหรือไม่ หรือ เป็น Themestic Funds จะปลอดภัยหรือไม่  นักลงทุนวัยเกษียณจะลงทุนกองทุนพลังงานสะอาดได้หรือไม่ ซึ่งคำถามเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักลงทุนทุกคนตลอดเวลา” คุณชัชพล กล่าว

ดังนั้นนักลงทุน จะลงทุนอย่างไรให้ตอบโจทย์ ก็จำเป็นต้องมีมืออาชีพ ผู้ช่วยแนะนำการลงทุนให้ตอบโจทย์เราได้

ที่ Phillip Fund Supermart มีกองทุนเยอะกว่า 2,000 กองทุน แต่มีทีมนักวิเคราะห์กองทุนรวมช่วยทำการบ้านให้ เช่น กองทุนนั้นลงทุนในสินทรัพย์อะไร มีความเสี่ยงมากไปมั้ย เหมาะกับการลงทุนแบบไหน เพื่อแนะนำจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม หรือนักลงทุนบางคนอาจจะไม่อยากตัดสินใจเยอะ ก็มีบริการ Private Fund ที่เรียกว่า Phillip Smart Wealth

Phillip Smart Wealth

Phillip Smart Wealth  เป็นกองทุนส่วนบุคคล ที่จะกระจายลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ (Fund of Funds) โดยผ่านการคัดสรรจากนักวิเคราะห์กองทุน และผู้จัดการกองทุน เหมาะกับผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามสภาวะตลาด ไม่เชี่ยวชาญ ไม่มั่นใจ การปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์และต้องการมืออาชีพมาช่วยดูแลพอร์ตอย่างใกล้ชิด เริ่มลงทุนได้ในวงเงิน 500,000 บาท

ส่วน Phillip Fund Supermart  ลงทุนสะดวกทุกกองทุนรวม มากกว่า 20 บลจ.
ด้วยคำแนะนำการลงทุนที่เป็นกลาง และทันสถานการณ์

สนใจใช้บริการ Phillip Fund SuperMart
ติดต่อ Tel. 02-635-1718 หรือสแกน QR Code

20220815-a-02.png

ติดต่อโฆษณา!