30 กันยายน 2565
1,113

Dollar Index ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี จากนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

Dollar Index ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี จากนี้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
Highlight

Dollar Index ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี กดดันค่าเงินสกุลอื่นทั่วโลกอ่อนค่า เนื่องจากเงินทุนไหลกลับเข้าสู่ตลาดเงินสหรัฐฯ และกดดันสินทรัพย์เสี่ยงอื่นถูกเทขายทั้ง หุ้น ทองคำ น้ำมัน และสินค้าโภคภัณฑ์ บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า มองว่าการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐใกล้จุดสูงสุดแล้ว และเงินจะเริ่มเคลื่อนย้ายกลับเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงรอบใหม่ในไม่ช้า ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจได้แก่ ธนาคาร ท่องเที่ยว และผลิตไฟฟ้า


บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ Dollar Index ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี หลังจาก Fed ใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวอย่างต่อเนื่อง กดดันสินทรัพย์ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ทองคำ, น้ำมัน และตลาดหุ้น

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 3 และทำให้ Fed เริ่มชะลอความตึงตัวของนโยบายการเงิน ประกอบกับ Dot Plot ครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นว่า Fed  จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ราว 4.4% ณ สิ้นปี 2565 และ 4.6% ในปี 2566 หมายความว่า Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 3 ครั้ง ส่งผลให้ Dollar Index น่าจะใกล้ผ่านจุดสูงสุดแล้ว

จากสถิติในอดีต ฝ่ายวิจัยพบว่าหลังจากที่ Dollar Index ทำจุดสูงสุดไปแล้ว SET Index จะเริ่มกลับมาฟื้นตัว สอดคล้องกับภาพความสัมพันธ์ในอดีตที่สะท้อนว่า SET Index จะปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงที่เงินบาทแข็งค่า ซึ่งเมื่อผนวกกับปัจจัยบวกเฉพาะตัวของตลาดหุ้นไทย ที่ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก จะยิ่งทำให้ SET Index เด่นกว่าภูมิภาคเมื่อตลาดหุ้นทั่วโลกกลับมาฟื้นตัวในรอบถัดไป

ธีมการลงทุนหลักของฝ่ายวิจัยยังเป็น Domestic & Defensive Play ได้แก่ กลุ่มธนาคาร, ค้าปลีก, สื่อสาร, ท่องเที่ยว,โรงไฟฟ้า สื่อสิ่งพิมพ์ และอสังหาริมทรัพย์

Dollar Index ทําจุดสูงสุดในรอบ 20 ปี ใกล้จบรอบหรือยัง?

Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาแล้วกว่า 5 ครั้งติดต่อกันในการประชุม FOMC ที่ผ่านมา เพื่อรับมือกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ทำให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นจาก 0.00-0.25% เป็น 3.00-3.25% (รวมทั้งสิ้น 300 bps) ทั้งนี้การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของ FED ส่งผลให้ Dollar Index ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาจุดสูงสุดในรอบ 20 ปีที่ 114.80 จุด กดดันสินทรัพย์ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นทองคำ, น้ำมัน และ ตลาดหุ้น

ทั้งนี้ ประเมินว่า Fed ใกล้จะเริ่มชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้การปรับตัวขึ้นของ Dollar Index ใกล้ถึงจุดสูงสุด โดยเฉพาะในวันที่ 13 ต.ค. 2565 ซึ่งเป็นวันประกาศเงินเฟ้อเดือน ก.ย.ของสหรัฐฯ ที่ฝ่ายวิจัยคาดว่าจะชอลอตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 81.2 $/bbl. จากจุดสูงสุดที่ 122.1 $/bbl. (-33.5%) ซึ่งเป็นผลจากความกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ YTD ราคาน้ำมันเป็นบวกอยู่เพียง 8.0%

นอกจากนี้การประชุม FOMC ครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นว่าการคาดการณ์ของคณะกรรมการ FED หรือ Dot Plot อัตราดอกเบี้ยนโยบายของ FED ณ สิ้นปี 2565 จะขึ้นไปอยู่ที่ 4.4% และ 4.6% ในปี 2566 ซึ่งหมายความว่า FED จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 3 ครั้ง (คาด 75bps, 50bps และ 25bps ในการประชุม 3 ครั้งถัดไป)

สถิติบ่งชี้ หลัง Dollar Index ถึงจุดสูงสุด จะเป็นจุดเปลี่ยนให้ SET Index ฟื้นตัว 

ฝ่ายวิจัยได้เก็บข้อมูลในอดีต โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาที่ Dollar Index ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงจุดสูงสุด ตามภาพใน Figure 4 พบว่าหลังจาก Dollar Index ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดไปแล้ว ค่าเงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่า ขณะที่ SET Index จะปรับตัวขึ้นเฉลี่ยที่ 0.8%, 0.3%,6.7%, 16.7% และ 20.0% ในช่วงระยะเวลา 2 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน , 6 เดือน และ 1 ปี ตามลำดับ

ซึ่งสอดคล้องกับสถิติในอดีต ที่บ่งบอกว่า SET Index มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับค่าเงินบาท (20Y Correlation = -0.63) กล่าวคือ หากเงินบาทแข็งค่า SET Index จะปรับตัวขึ้นจากเงินทุนที่ไหลเข้า เนื่องจากเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศได้กำไรจากค่าเงินเพิ่มเติม 

ทั้งนี้หากประเมิน correlation ในช่วงระยะเวลาที่สั้นลงจะพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง SET Index และค่าเงินบาทมีความสัมพันธ์ที่แตกต่างจากอดีต โดยเฉพาะในปี 2564 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ SET Index ฟื้นตัวจากฐานต่ำในช่วง COVID-19 ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เพราะเงินทุนไหลออกไปยังประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ก่อนประเทศไทย

อย่างไรก็ตามตั้งแต่ต้นปี 2565 เป็นต้นมา ฝ่ายวิจัยเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง SET Index และค่าเงินบาท กลับมาเคลื่อนไหวเหมือนในอดีต โดย YTD Correlation ระหว่าง SET Index และ ค่าเงินบาทอยู่ที่ -0.70 หาก Dollar Index เป็นไปตามคาด ปัจจัยในประเทศจะเป็นอีกแรงหนุนหากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาตามคาด ประเมินว่าจะทำให้ Dollar Index ผ่านจุดสูงสุด และจะทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่า เปิดโอกาสให้ SET Index ฟื้นตัวขึ้นตามความสัมพันธ์ในอดีต 

นอกจากนี้ ยังมองว่า SET Index มีความน่าสนใจมากกว่าตลาดหุ้นอื่น จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ขณะที่ตลาดหุ้นในฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกแรงหนุนให้เงินทุนไหลเข้ามายังตลาดหุ้นไทย

โดยยังคงมุมมอง Theme การลงทุนหลักเป็น Domestic & Defensive play เช่น กลุ่มธนาคาร (KBANK, SCB, BBL), กลุ่มค้าปลีก(CPALL, BJC), กลุ่มสื่อสาร (ADVANC,INTUCH), กลุ่มท่องเที่ยว(AAV, BA), กลุ่มโรงไฟฟ้า(GULF, SSP) กลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์(PLANB), และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (ORI SC)





ติดต่อโฆษณา!