20 ตุลาคม 2565
3,354

RMF for PVD คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับมนุษย์เงินเดือน

RMF for PVD คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับมนุษย์เงินเดือน
Highlight

ในช่วงของการทำงาน 20-30 ปีของมนุษย์เงินเดือน เราอาจจะมีการเปลี่ยนงาน ย้ายงาน ลาออกก่อนอายุ 55 หลายๆคน เอาเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาใช้ทุกครั้งที่เปลี่ยนงาน ตอนจบในวันเกษียณจึงไม่มีเงินมากพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากและไม่สามารถที่จะกลับไปย้อนเวลาแก้ไขได้ ทำให้หลายๆคนต้องพึ่งลูกหลานและอาจจะต้องทำงานหารายได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆในวัยเกษียณ

20221020-b-01.jpg

เรื่องที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ กับหลักการและเทคนิคทำให้เงินเกษียณโตและพอใช้ด้วย RMF for PVD

ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงของการเกษียณอายุของผู้ที่ทำงานในระบบราชการ ซึ่งเป็นความโชคดีของผู้เกษียณในกลุ่มนี้ที่ไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องการใช้จ่ายดำรงชีวิตหลังเกษียณมากนัก เพราะในวันเกษียณยังมีเงินก้อนและเงินเกษียณในระดับประมาณ 70% ของเงินเดือนก่อนเกษียณมาใช้จ่ายทุกเดือน ซึ่งแตกต่างจากผู้ที่ทำงานบริษัทเอกชนที่แหล่งเงินเกษียณของผู้ที่ทำงานบริษัทเอกชนหลักจะมาจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งสะสมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานในช่วงทำงานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จึงจะเห็นยอดเงินที่มากพอที่จะสามารถนำมาใช้ดำรงชีวิตต่อได้หลังเกษียณ

ในช่วงของการทำงาน 20-30 ปีของมนุษย์เงินเดือน เราอาจจะมีการเปลี่ยนงาน ย้ายงาน ลาออกก่อนอายุ 55 หลายๆคนเอาเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาใช้ทุกครั้งที่เปลี่ยนงาน ตอนจบในวันเกษียณจึงไม่มีเงินมากพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างมากและไม่สามารถที่จะกลับไปย้อนเวลาแก้ไขได้ ทำให้หลายๆคนต้องพึ่งลูกหลานและอาจจะต้องทำงานหารายได้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆในวัยเกษียณ

เงินกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ” (Provident Fund หรือ PVD) เป็นเงินที่จะได้รับจากเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบที่นายจ้างนําส่งเข้ากองทุนพร้อมดอกผลจากการลงทุนในช่วงที่เป็นสมาชิกกองทุน และหากเกษียณอายุตามเงื่อนไขภาษีที่กรมสรรพากรกําหนด กล่าวคือ เกษียณตอนอายุครบ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินกองทุนทั้ง 4 ส่วน (เงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ) 

สำหรับคนที่เปลี่ยนงาน ย้ายงานก่อนที่จะครบอายุ 55 เรามีเทคนิคง่ายๆให้เงินเกษียณโตต่อเนื่อง โดยมี 2 ทางเลือก

1. คงเงินไว้ในกองทุนสํารองเลี้ยงชีพต่อไปจนกว่าจะเข้าเงื่อนไขที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 

2. โอนเงินไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือที่ เรียกว่า RMF for PVD ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจัดการหลายแห่งที่ให้บริการกองทุนดังกล่าวด้วยนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย เช่น ลงทุนในตราสารหนี้ไทย ตราสารหนี้ต่างประเทศ ตราสารทุนไทย ตราสารทุนต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เป็นต้น เงินส่วนนี้เราสามารถบริหารได้เองโดยอิสระ และไม่ทำให้เสียสิทธิทางภาษี สามารถถือจนครบกําหนดระยะเวลาตามเงื่อนไขภาษีหรือบริหารต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ จนถึงเวลาที่เหมาะสม

ทั้งสองทางเลือกมีข้อดีข้อเสียที่เราควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบดังนี้

20221020-b-02.jpg

ข้อดี ข้อเสียของการคงเงินไว้ที่เดิม

ข้อดี
* ฝากเงินไว้กับนายจ้างเดิม ตามแผนทางเลือกเดิมที่คุ้นเคย
* ลงทุนต่อเนื่อง ไม่มีภาระภาษี

ข้อเสีย
* ไม่สามารถตัดสินใจในการบริหารกองทุนด้วยตนเอง
* แผนทางเลือกของการลงทุนมีจำกัดตามที่นายจ้างเดิมเลือกไว้
* ไม่สะดวกในการติดต่อกับนายจ้างเดิมทุกๆปีเพื่อต่ออายุการคงเงิน

20221020-b-03.jpg

ข้อดี ข้อเสียของการโอนย้ายไป RMF for PVD

ข้อดี
* สามารถเลือกแผนการลงทุนและตัดสินใจในการบริหารกองทุนด้วยตนเอง
* แผนทางเลือกมีหลากหลาย
* ลงทุนต่อเนื่อง ไม่มีภาระภาษี

ข้อเสีย
* อาจบริหารเงินลงทุนผิดพลาดถ้าไม่ศึกษาให้รอบคอบ

นักลงทุนที่สนใจโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป RMF for PVD และต้องการคำแนะนำก่อนตัดสินใจโอนย้าย ปรึกษามาได้ที่

บลน. เวลท์ รีพับบลิค จำกัด อาคารธนิยะ พลาซา ชั้น 14 ถนนสีลม แขวงสุริยะวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ

สนใจลงทุนติดต่อ

โทร : 02-266-6697
มือถือ : 097-44-99999
YouTube : ครบเครื่องเรื่องกองทุน
Line ID : @wealthrepublic
⚠️คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน
ติดต่อโฆษณา!