13 มีนาคม 2566
1,094

ปัจจัยที่ต้องระวัง - พอร์ตการลงทุนหลังจาก SVB ล้มควรเป็นอย่างไร

ปัจจัยที่ต้องระวัง - พอร์ตการลงทุนหลังจาก SVB ล้มควรเป็นอย่างไร
Highlight

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศอุ้มสถาบันการเงินสองแห่งคืนเงิน 100% ให้ผู้ฝากทั้ง Silicon Valley Bank (SVB) และ Signature Bank เพื่อหยุดกระแส Panic ถอนเงินชั่วคราว ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับเข้าเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้งทั้ง ทองคำ คริปโท และตลาดล่วงหน้า ขณะที่ CNBC รายงานว่า HSBC เข้าซื้อกิจการของ SVB สาขาอังกฤษ ในราคา 1 ปอนด์เท่านั้น ผู้เชี่ยวลงทุนแนะลงทุนหุ้นจีน เอเชีย หลบความผันผวนในช่วงนี้

  • ล่าสุดสถานการณ์ปั่นป่วนในตลาดเงินสหรัฐฯ เริ่มคลายตัวหลังจากรัฐบาลประกาศเข้าช่วยเหลือผู้ฝากเงินในธนาคารที่ประกาศล้มไปทั้งสองแห่งทั้ง 100% คือ Silicon Valley Bank และ Signsture Bank ทำให้หยุดกระแส Panic การไล่ถอนเงินในธนาคารอื่น ที่อาจลุกลามไปเรื่อยๆได้ชั่วคราว

  • ขณะที่นักลงทุนหันมาเก็งกำไรในสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ทั้งทองคำ คริปโท และสินทรัพย์ในตลาดล่วงหน้า

  • CNBC รายงานบ่ายวันนี้ว่า HSBC เข้าซื้อกิจการของ Silicon Valley Bank หรือ SVB สาขาอังกฤษ ในราคา 1 ปอนด์ หลังจากผ่านช่วงสุดสัปดาห์กันฝุ่นตลบกับเจ้าหน้าที่ของสหราชอาณาจักร เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

  • ในแถลงการณ์มีข้อมูลประกอบด้วยว่า ณ วันที่ 10 มีนาคม 2023 ธนาคาร SVB UK มีเงินกู้ประมาณ 5.5 พันล้านปอนด์และเงินฝากประมาณ 6.7 พันล้านปอนด์ สำหรับปีงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2022 กำไรก่อนหักภาษี 88 ล้านปอนด์

  • เจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอังกฤษ โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า "เช้าวันนี้ รัฐบาลและธนาคารแห่งอังกฤษ อำนวยความสะดวกในการขายของ Silicon Valley Bank UK ให้กับ HSBC เงินฝากจะได้รับความคุ้มครอง

  • ด้านตลาดคริปโทคึกคักขึ้น ข้อมูลจาก coinmarketcap ระบุว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาคริปโทในครั้งนี้ ดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นหลังจาก Changpeng Zhao (CZ) CEO ของ Binance ได้ออกมาประกาศนำเงินเหลือจากกองทุนฟื้นฟูอุตสาหกรรมคริปโตในเหรียญ BUSD มูลค่า $1 พันล้านดอลลาร์ มาแปลงเป็น BTC BNB ETH

  • แม้ว่าการแปลงเงินกองทุนไปเป็นเหรียญคริปโตของ Binance ครั้งนี้ จะไม่ได้เป็นการทุ่มเงินทั้งหมดไปเหรียญ BNB แต่ถึงกระนั้นความคาดหวังของตัวนักลงทุนที่เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อราคาของเหรียญกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น เรื่อย ๆ จนส่งผลให้ราคาพุ่งกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 300 ดอลลาร์ได้อีกครั้งในวันนี้

  • ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัยและที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่าเชื่อว่าปัญหาภาคธนาคารของสหรัฐกระจุกในธนาคารขนาดเล็กที่เชื่อมโยงกลุ่มเทคหรือกลุ่ม start up รวมทั้งมีการขาดทุนทางตัวเลขที่ไม่รับรู้ (unrealized loss)

  • สำหรับธนาคารที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สหรัฐฯ แต่ด้วยความน่าเชื่อถือที่ยังดี และหากธนาคารถือพันธบัตร จนครบอายุสัญญา ก็ไม่เสี่ยงขาดทุน (ผลกระทบน่าจะอยู่ในระดับจำกัด) จึงมองว่าเป็นความผันผวนระยะสั้น ไม่ลามจนเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ ซึ่งการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ พื้นฐานดี กระจายการลงทุนทั่วโลกยังน่าทำได้

  • นอกจากนี้ ที่ลุ้นคือเงินเฟ้อสหรัฐแม้ยังอยู่ในระดับสูง แต่มีท่าทีชะลอลง ซึ่งนักลงทุนน่าหาจังหวะเข้าสะสมพันธบัตร หรือตราสารหนี้ ที่ใกล้ถึงจุดสูงสุด ส่วนภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะจีนยังน่าสนใจ เราอาจให้น้ำหนัก A-share หรือหุ้นในจีน มากกว่า H-share ที่มีกลุ่มเทค ในฮ่องกง โดยรวมน่าเห็นมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจ ในจีนและจีนน่าหาทางลดความผันผวนในตลาดทุนเทียบสหรัฐฯ ได้

 

Lesson learned ข้อคิดที่ได้จากกรณี SVB

1. อย่าใส่ไข่ทุกใบในตะกร้า ใบเดียว ควรกระจายการลงทุน อย่าเป็นเหมือนคนฝากเงินใน SVB ที่พึ่งแบงก์เดียว รวมทั้งนักลงทุนไม่ลงทุนในสินทรัพย์ ใดประเภทเดียว

2. วิกฤติเปลี่ยนรูปแบบเสมอ จากด้านเครดิต ปี 08 เป็น mismatch และสภาพคล่องปี 23 หรืออาจมีรูปแบบใหม่ ๆ เข้ามา แต่ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นในระดับสูงเช่นนี้ อาจเห็นธุรกิจอื่นที่มีปัญหาซ่อนไว้รอประทุขึ้นได้

3.แม้ตลาดจะฟื้น แต่นักลงทุนยังควรระมัดระวัง ความผันผวนต่อไปจากการขึ้นดอกเบี้ย ของเฟด และภาพรวมเศรษฐกิจ สหรัฐฯ น่าแบ่งเงินลงทุนเป็นหลาย ๆ ไม้ ค่อย ๆ ลงทุน ทีละน้อยจนครบเป้าหมาย ไม่แนะนำลงทุนทีเดียวครบ เพราะเราไม่มีทางรู้ทิศทางตลาดและไม่จำเป็นต้องได้ราคาต่ำสุดเสมอไป แต่น่าได้ความสบายใจไปด้วย

  • วิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ Bond Yield สหรัฐ ฯ อายุ 10 ปีปรับลงต่อเนื่อง 2 วันติดต่อกันจาก 4% มาที่ระดับ 3.7%

  • “เรามองว่า ตลาดตราสารหนี้จะมีแรงซื้อเข้ามา สะท้อนความกังวลที่ไม่แน่นอนในสหรัฐฯ เช่นเดียวกับราคาทองคำที่ปรับขึ้น 2% มาที่ $1867 ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐ ฯ คาดยังได้รับแรงกดดันโดยรวม โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มการเงิน”

Krungsri Exclusive มีมุมมองการลงทุนสำหรับในช่วงนี้ดังนี้

  1. มีมุมมองด้านผลกระทบจากเหตุการณ์ ยังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในกลุ่มธนาคารที่มีฐานสินเชื่อในกลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยี แตกต่างจากธนาคารในกลุ่มอื่น ๆ ที่มีธุรกิจที่หลากหลาย รวมถึงกลุ่มลูกค้าสินเชื่อที่แตกต่างกัน

  2. แนะนำนักลงทุนจับตาการประชุม Fed รอบพิเศษในคืนวันที่ 13 มี.ค. ขณะที่ตลาดการลงทุนโดยรวมมีแนวโน้มผันผวนจากระดับปกติด้วยความกังวลดังกล่าว

“โดยส่วนตัว ผมมองว่า มีโอกาสที่เฟดจะต้องเข้ามาช่วยดูแลด้วยการ "อัดฉีดสภาพคล่อง" เพื่อไม่ให้เรื่องของ SVB ลุกลามบานปลาย และมีโอกาสที่เฟดน่าจะต้องชะลอการขึ้นดอกเบี้ย เพราะต้องรักษา Financial Stability (แปลว่า ถ้าฝืนขึ้นดอกเบี้ยต่อ ระบบพัง เฟดจะกลายเป็นผู้ร้ายทันที)” นายวิน กล่าว

  • บลจ.อีสท์สปริง มองว่ารัฐบาลสหรัฐฯออกมาตรการเข้าช่วยเหลือผู้ฝากเงิน “ทั้งหมด เต็มจำนวน”จากความวิตกของการปิด SVB ธนาคารใหญ่อันดับ 16 ของสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และสถาบันคุ้มครองเงินฝาก(FDIC) ได้เรียกประชุมผู้บริหารธนาคาร และมีการอนุมัติการตั้งเงินกองทุนพิเศษสำรอง Bank Term Funding Program เพื่อให้ผู้ฝากเงินกับธนาคาร SVB และ Signature Bank ที่ถูกปิดไป ให้สามารถเข้าถึงและถอนเงินของตนได้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม ได้ทั้งหมด

  • ล่าสุดกระทรวงการคลังสหรัฐฯ, Federal Reserve และ Federal Deposit Insurance Corp. ร่วมกันแถลงถึงมาตรการเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบธนาคาร และเสริมสร้างสภาพคล่องให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ

  • โดยทางด้าน Janet Yellen รัฐมนตรีกระทรวงการคลังกล่าวว่า การกระทำดังกล่าวต้องการจะปกป้อง “ผู้ฝากเงินทั้งหมด” ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณช่วยเหลือผู้ที่มีบัญชีเงินฝาก โดยผู้ฝากเงินของ SVB จะสามารถเข้าถึงเงินทั้งหมดของพวกเขาได้ ทั้งนี้ยังได้เสริมอีกว่า ผู้เสียภาษีจะต้องไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาของ SVB รวมถึงธนาคารอื่นที่อาจเป็นเช่นเดียวกัน รัฐบาลระบุในแถลงการณ์

  • มองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการบริหารสภาพคล่องที่ผิดพลาดเฉพาะตัวของบริษัท และจะไม่นำไปสู่ Domino Effect เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 2008 ประกอบกับท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯที่พร้อมเข้าดูแลความเชื่อมั่นในทันที ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวอาจสร้างความกังวลให้กับตลาดหุ้นได้บ้างในระยะสั้นได้บ้าง แต่มองเป็นโอกาสเข้าลงทุนในระยะยาว

  • รวมถึงรอดูท่าที่ของ Fed ว่าจะมีการดำเนินนโยบายอย่างไรในการประชุมวันที่ 22 มีนาคมนี้ ซึ่งล่าสุดทั้ง Bond Yield 2 ปี และ Terminal Rates ต่างปรับลดลงซึ่งสะท้อนการลดความ Hawkish ลงของ Fed ในช่วงเวลานี้ ซึ่งอาจช่วยลดความตึงเครียดและความวิตกของนักลงทุนจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้



ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC
ติดต่อโฆษณา!