05 เมษายน 2566
2,172

ราคาทองคำจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หรือไม่ ?

ราคาทองคำจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หรือไม่ ?
Highlight

ราคาทองคำล่าสุดไต่ระดับไปอยู่ $2,027.88 ต่อออนซ์  จากการความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ย ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า มีการซื้อทองคำสะสมมากขึ้นของธนาคารกลางและกองทุน SPDR ทั้งนี้ราคาทองคำจะไปต่อหรือไม่ และทำจุดสูงสุดใหม่หรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวแปรทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ


20230405-b-01.jpg

ราคาทองคำพุ่งทะลุ $2,000 ต่อออนซ์ ไปแตะที่ $2,024 ต่อออนซ์ สูงสุดในรอบ 1 ปีอีกครั้ง นักวิเคราะห์ราคาทองคำหลายคนเริ่มออกมาคาดการณ์ว่า ราคาทองคำจะทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีกครั้งในปีนี้หรือไม่ ทั้งนี้ราคาทองคำขึ้นสูงสุดในปี 2020 ที่ระดับ $2,070 ต่อออนซ์

  • จากสถานการณ์ที่ประเมินถึงความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจสหรัฐ ในการควบคุมเงินเฟ้อ โดยการขึ้นดอกเบี้ย จนทำให้เกิดการล้มของธนาคารและในที่สุดก็ต้องเสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบและอุ้มผู้ฝากเงินอีกครั้ง

  • ทำให้สภาพคล่องในระบบดีขึ้น แต่ทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า จากความไม่แน่นอนนี้ นอกจากนี้ธนาคารกลางต่าง ๆ พากันเข้าซื้อทองคำสะสม อีกทั้งประเทศผู้ผลิตน้ำมัน เช่นกลุ่ม BRIC ที่นำโดยบราซิล รัสเซีย เริ่มพึ่งพาเงินดอลลาร์น้อยลงและหันมาให้ความสำคัญกับสกุลอื่นมากขึ้นรวมทั้งทองคำ

  • ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นักลงทุนใช้ป้องกันคงามเสี่ยงหรือ Hedging เงินเฟ้อ ดังนี้นหากสถานการณ์เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงและมีความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ จึงมีการเข้ามาเก็งกำไรทองคำค่อนข้างมาก

  • ราคาทองคำจะไปต่อหรือไม่ ต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวหรือไม่ สถานการณ์เงินเฟ้อ เป็นอย่างไร ดอกเบี้ยลดลงหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลต่อราคาทองคำทั้งสิ้น

  • จากบทความของ YLG Bullion International ระบุว่าธนาคารกลางทั่วโลกเร่งตุนทองคำสำรองด้วยการถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเกือบ 1,136 ตันในปี 2022 เพิ่มขึ้น 152% จากปีก่อนหน้า พร้อมทั้งสถิติการเข้าซื้อรายปีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1967 และเป็นการเข้าซื้อที่สูงสุดเป็นอันดับ 2 เป็นประวัติการณ์เมื่อย้อนหลังไปถึงปี 1950 อีกทั้งยังเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 13 ติดต่อกันอีกด้วย

 

“เหตุผลสำคัญเบื้องหลังการถือครองทองคำเพิ่มของเหล่าธนาคารกลาง ได้แก่ ผลการดำเนินงานของทองคำในช่วงที่เกิดวิกฤต บทบาทของทองคำในฐานะ Store of Value อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์

ยิ่งเกิดสงครามในยูเครน และการคว่ำบาตรต่อรัสเซียของชาติตะวันตก ก็ยิ่งกระตุ้นเทรนด์หนึ่งในตลาด ซึ่งเทรนด์ที่ว่านี้คือ De-Dollarization ซึ่งหมายถึงการที่ประเทศต่างๆ หาวิธีการ ‘ลด’ บทบาทค่าเงินดอลลาร์ต่อการค้าและการลงทุนของประเทศตัวเอง และเป็นเทรนด์ที่ตรงข้ามกับ Dollarization คือการใช้เงินตราต่างประเทศสกุลเงินในแบบคู่ขนานหรือแทนสกุลเงินในประเทศนั่นเอง”

 

  • ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว สกุลเงินดอลลาร์มีสัดส่วนประมาณ 70% ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือเงินยูโร และนับตั้งแต่นั้นมาส่วนแบ่งของดอลลาร์ก็ลดลง 11% แต่ล่าสุดเมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ IMF COFER พบว่าสัดส่วนของสกุลเงินดอลลาร์ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เป็นสกุลเงิน ลดลงเหลือ 59.15% ในไตรมาสที่ 3/21 ลดลงจากสัดส่วนราว 59.23% ในไตรมาสที่ 2/21 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปีในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมา

  • YLG จึงมองว่าปรากฏการณ์ De-Dollarization มีบทบาทอย่างมากที่ทำให้เหล่าธนาคารกลางเลือกเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำสำรอง เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ท่ามกลางปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้น สะท้อนจากสัดส่วนของสินทรัพย์ต่างๆ ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของธนาคาร ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 พบว่า ณ สิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี 2020 โครงสร้างของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกมีทองคำคิดเป็นสัดส่วน 16% ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ ณ ไตรมาส 3 ของปี 2019 ที่ทองคำมีสัดส่วนเพียง 13%

  • ล่าสุด สภาทองคำโลก (World Gold Council) เปิดเผยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกถือครองทองคำเพิ่มขึ้นเกือบ 1,136 ตันในปี 2022 เพิ่มขึ้น 152% จากปีก่อนหน้า สถิติการเข้าซื้อรายปีที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1967 และเป็นการเข้าซื้อที่สูงสุดเป็นอันดับ 2 เป็นประวัติการณ์เมื่อย้อนหลังไปถึงปี 1950 อีกทั้งยังเป็นการซื้อสุทธิเป็นปีที่ 13 ติดต่อกันอีกด้วย

 

“เมื่อมองไปยังอนาคต ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโลกมีแนวโน้มจะยังคงดำเนินต่อไป โดยความเสี่ยงสูงสุดคือ Russia-NATO Conflict และความขัดแย้งดังกล่าวอาจยิ่งกระตุ้นความร่วมมือระหว่างจีน-รัสเซียที่ไม่มีขอบเขต (China-Russia cooperation has no limits) และจะเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาคและโลกในระยะข้างหน้าต่อไป นั่นทำให้ปรากฏการณ์ De-Dollarization มีแนวโน้มเด่นชัดมากขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นแรงซื้อทองคำในหมู่ธนาคารกลาง”

 

20230405-b-02.jpg

การใช้ทองคำจากประเทศที่เผชิญหรือเสี่ยงต่อการควํ่าบาตร

  • รัสเซียถือเป็นกรณีศึกษาของประเทศที่ถูกควํ่าบาตรได้เป็นอย่างดี อันที่จริงรัสเซียต้องเผชิญกับการถูกควํ่าบาตรทางการเงินมานับเกือบ 10 ปีแล้ว จากการถูกอายัดเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ

  • อย่างไรก็ตาม รัสเซียใช้แผนตอบโต้ด้วยการซื้อทองคำเพื่อใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศในจำนวนมาก การซื้อทองคำของธนาคารกลางรัสเซียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2014 จนปัจจุบันรัสเซียมีมูลค่าทองคำสำรองสูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก และยังลงทุนทำเหมืองทองคำใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก

  • อีกหนึ่งประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการถูกควํ่าบาตรในอนาคตคือ จีน จากการทำสงครามการค้ากับสหรัฐอเมริกา และกรณีพิพาทกับไต้หวัน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกมาตรการกีดกันจากชาติตะวันตก จีนจึงเริ่มซื้อทองคำเพิ่มเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และเป็นการซื้อ 2 เดือนติดต่อกัน เพื่อหวังคานอำนาจเงินดอลลาร์ ทำให้จีนก้าวเข้ามาเป็นประเทศที่มีมูลค่าทองคำสำรองสูงสุดเป็นอันดับ 6 ของโลก

  • การเตรียมความพร้อมด้วยการใช้มาตรการเพิ่มปริมาณทองคำสำรอง โดยกดไม่ให้ราคาสูงมากเกินไป อาจเป็นมาตรการทางออกต่อการถูกควํ่าบาตร โดยเฉพาะกรณีรัสเซียและจีน ในขณะเดียวกันหากใช้สินค้าโภคภัณฑ์ในการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศ จะช่วยระงับผลจากการควํ่าบาตรได้

  • การใช้ทองคำเป็นเครื่องมือในลักษณะดังกล่าวไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะเมื่อทศวรรษก่อนหน้านี้มีการกล่าวอ้างว่า ตุรกีได้ใช้ทองคำมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อก๊าซธรรมชาติจากอิหร่านที่กำลังถูกควํ่าบาตรจากกรณีโครงการนิวเคลียร์ หลังจากนั้นอิหร่านได้แลกทองคำบางส่วนเป็นสกุลเงินของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตามรายงานของ Global Initiative against Transnational Organized Crime องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

  • อย่างไรก็ตาม ในปี 2020 Financial Action Task Force หน่วยงานหนึ่งของกลุ่มประเทศ G7 ระบุว่า ตลาดทองคำขนาดใหญ่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความเสี่ยงอย่างมากสำหรับการถูกใช้เป็นแหล่งฟอกเงิน แม้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สัญญาว่าจะจัดการอย่างจริงจัง แต่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงนัก ปัจจุบันดูไบกำลังกลายเป็นแหล่งเก็บทรัพย์สินแห่งใหม่สำหรับชาวรัสเซีย

  • จุดสำคัญที่บรรดาผู้ใช้มาตรการควํ่าบาตรกำลังจับตามองในช่วงเวลานี้คือ ตลาดทองคำลอนดอนที่มีทองคำกว่า 9000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.44 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเมืองที่มีประวัติพัวพันกับการฟอกเงินอยู่บ่อยครั้ง ทั้งหมดนี้อาจเป็นสัญญาณว่าทองคำกำลังกลายมาเป็น ‘ตัวแปร’ สำคัญต่อเหตุการณ์การควํ่าบาตรที่กำลังเกิดขึ้น




ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC
ติดต่อโฆษณา!