14 กันยายน 2566
755
นักเศรษฐศาสตร์ KKP ชี้มาตรการลด แลก แจก แถมของรัฐบาล กระทบวินัยการเงินการคลัง
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) นำเสนอบทความในวันนี้ ผ่าน Facebook หัวข้อเรื่อง “วินัยการคลัง” เมื่อรัฐบาลเสพติดการขาดดุล.. ติงรัฐบาลอาจสร้างปัญหาให้ประเทศในระยะยาว นโยบายลด แลก แจก แถม กระทบนโยบายการเงินการคลังประเทศ และอาจทำให้ต้นทุนการเงินภาคธุรกิจสูงขึ้นอีกด้วย
ในการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกเมื่อวานนี้ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วนหลายประการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้ทั้งเงินงบประมาณ การลดภาษี และกลไกอื่น ๆ
รัฐบาลได้อนุมัติกรอบการคลังระยะปานกลาง (Medium Term Fiscal Framework) ที่ควรจะเป็นกรอบการดำเนินงานของรัฐบาล และบอกกับนักลงทุนว่ารัฐบาลมีแผนในการจัดการการเงินอย่างไรในอนาคต
ดร. พิพัฒน์ ระบุว่า มีข้อน่าสนใจสามเรื่อง ดังนี้
▪️ ประเด็นแรก มีการปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปีหน้าเพิ่มขึ้นจาก 5.93 แสนล้านบาท เป็น 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มงบประมาณขึ้น 1.3 แสนล้านบาท และเพิ่มประมาณการรายได้ขึ้นอีกนิดหน่อย
“ผมสงสัย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการสร้างช่องว่างเพื่อใส่มาตรการแจกเงิน 5.6 แสนล้าน ซึ่งการขาดดุลก็เกือบเต็ม Max ตามกรอบ พรบ. หนี้สาธารณะ หรือเปล่า”
ถ้าใช่ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าเราจะหาเงินจากไหนมาชดเชยมาตรการที่เหลืออีก 4.3 แสนล้านบาท เข้าใจว่าจะให้ธนาคารของรัฐออกไปก่อนและตั้งงบประมาณชดชยทีหลัง แต่ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบมาตรา 28 ของ พรบ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่อาจจะต้องยกขึ้น แต่อาจจะยกขึ้นได้ไม่มากนัก
ที่เหลือจะให้ใครออกก่อน หรือต้องขายอะไรทิ้ง ?
▪️ ประเด็นที่สอง คือมีการปรับกรอบการขาดดุลงบประมาณในอนาคตขึ้นทั้งแผง จากเดิมที่เราคาดกันว่า ว่าจะค่อยๆปรับการขาดดุลงบประมาณลดลง และจะพยายามทำงบประมาณ “สมดุล” ในระยะยาว แผนดังกล่าวโดนใส่ลิ้นชักไปก่อน
สงสัยว่านี่คือน่าจะเป็นการตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยการแจกเงิน ที่เราคงต้องใช้หนี้ปีละ 0.6% ของ GDP ไปอีกสี่ห้าปีหรือเปล่า แต่เหมือนว่ารัฐบาลกำลังคาดว่าจะไม่ปรับลดงบประมาณอื่นๆลง หรือหารายได้ใหม่เพื่อชดเชยเลยหรือเปล่า
▪️ ประเด็นที่สาม คือ รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปแถวๆ 65% ของ GDP จากเดิมประมาณ 61% และกดไม่ลงตามที่คาดก่อนหน้านี้ และไปใกล้เพดานระดับ 70% ของ GDP ที่เราเพิ่งจะยกขึ้นมาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ Buffer ทางการคลังเพื่อรองรับ Shock ในอนาคตมีน้อยลง
“ถ้านี่คือผลจากการแจกเงิน วาทกรรมที่บอกว่า เราสามารถแจกเงินได้ โดยไม่กระทบวินัยการคลัง ไม่เป็นภาระงบประมาณนั้นเป็นไปไม่ได้เลย” ดร.พิพัฒน์ ระบุ
นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอีก เช่น ในระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทย ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะปรับตามอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศ แต่อีกส่วนอาจจะสะท้อนความเสี่ยงด้านการคลังและ Supply ของพันธบัตรรัฐบาลที่สูงขึ้นด้วย
ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการเงินของรัฐบาล และเอกชนไทยก็ปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ การใช้เงินนอกงบประมาณ ให้แบงก์รัฐออกเงินไปก่อน ก็อาจจะทำให้ต้องมีการระดมสภาพคล่องจนกระทบต่อต้นทุนการเงินในตลาดเพิ่มขึ้นไปอีกหรือไม่ จนน่าคิดว่ากระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อจะออกมาปรับมุมมองต่อ Rating ของไทยอีกหรือเปล่า
นอกจากนี้ การขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น และการอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟ อาจจะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดที่เราคาดว่าจะดีขึ้น แย่ลงไปจนกระทบต่อค่าเงินได้เหมือนกัน เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเรากับ ตปท สูงเหลือเกิน
“หรือนี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรนั่งควบ รมว.คลัง เพราะ รมว.คลัง ควรจะเป็นคนคุมกระเป๋าเงินของรัฐบาล และเป็นคนที่คานรัฐบาลว่าการใช้เงินมีข้อจำกัด และวินัยของการใช้เงินควรเป็นอย่างไร” ดร.พิพัฒน์ ระบุ
ในการการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นัดแรกเมื่อวานนี้ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายเร่งด่วนหลายประการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้ทั้งเงินงบประมาณ การลดภาษี และกลไกอื่น ๆ
รัฐบาลได้อนุมัติกรอบการคลังระยะปานกลาง (Medium Term Fiscal Framework) ที่ควรจะเป็นกรอบการดำเนินงานของรัฐบาล และบอกกับนักลงทุนว่ารัฐบาลมีแผนในการจัดการการเงินอย่างไรในอนาคต
ดร. พิพัฒน์ ระบุว่า มีข้อน่าสนใจสามเรื่อง ดังนี้
▪️ ประเด็นแรก มีการปรับเพิ่มการขาดดุลงบประมาณปีหน้าเพิ่มขึ้นจาก 5.93 แสนล้านบาท เป็น 6.93 แสนล้านบาท เพิ่มงบประมาณขึ้น 1.3 แสนล้านบาท และเพิ่มประมาณการรายได้ขึ้นอีกนิดหน่อย
“ผมสงสัย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นการสร้างช่องว่างเพื่อใส่มาตรการแจกเงิน 5.6 แสนล้าน ซึ่งการขาดดุลก็เกือบเต็ม Max ตามกรอบ พรบ. หนี้สาธารณะ หรือเปล่า”
ถ้าใช่ ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าเราจะหาเงินจากไหนมาชดเชยมาตรการที่เหลืออีก 4.3 แสนล้านบาท เข้าใจว่าจะให้ธนาคารของรัฐออกไปก่อนและตั้งงบประมาณชดชยทีหลัง แต่ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบมาตรา 28 ของ พรบ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่อาจจะต้องยกขึ้น แต่อาจจะยกขึ้นได้ไม่มากนัก
ที่เหลือจะให้ใครออกก่อน หรือต้องขายอะไรทิ้ง ?
▪️ ประเด็นที่สอง คือมีการปรับกรอบการขาดดุลงบประมาณในอนาคตขึ้นทั้งแผง จากเดิมที่เราคาดกันว่า ว่าจะค่อยๆปรับการขาดดุลงบประมาณลดลง และจะพยายามทำงบประมาณ “สมดุล” ในระยะยาว แผนดังกล่าวโดนใส่ลิ้นชักไปก่อน
สงสัยว่านี่คือน่าจะเป็นการตั้งงบประมาณเพื่อชดเชยการแจกเงิน ที่เราคงต้องใช้หนี้ปีละ 0.6% ของ GDP ไปอีกสี่ห้าปีหรือเปล่า แต่เหมือนว่ารัฐบาลกำลังคาดว่าจะไม่ปรับลดงบประมาณอื่นๆลง หรือหารายได้ใหม่เพื่อชดเชยเลยหรือเปล่า
▪️ ประเด็นที่สาม คือ รัฐบาลคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไปแถวๆ 65% ของ GDP จากเดิมประมาณ 61% และกดไม่ลงตามที่คาดก่อนหน้านี้ และไปใกล้เพดานระดับ 70% ของ GDP ที่เราเพิ่งจะยกขึ้นมาไม่นาน ซึ่งจะทำให้ Buffer ทางการคลังเพื่อรองรับ Shock ในอนาคตมีน้อยลง
“ถ้านี่คือผลจากการแจกเงิน วาทกรรมที่บอกว่า เราสามารถแจกเงินได้ โดยไม่กระทบวินัยการคลัง ไม่เป็นภาระงบประมาณนั้นเป็นไปไม่ได้เลย” ดร.พิพัฒน์ ระบุ
นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงอีก เช่น ในระยะไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของไทย ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะปรับตามอัตราดอกเบี้ยนอกประเทศ แต่อีกส่วนอาจจะสะท้อนความเสี่ยงด้านการคลังและ Supply ของพันธบัตรรัฐบาลที่สูงขึ้นด้วย
ซึ่งหมายความว่าต้นทุนการเงินของรัฐบาล และเอกชนไทยก็ปรับตัวสูงขึ้น
นอกจากนี้ การใช้เงินนอกงบประมาณ ให้แบงก์รัฐออกเงินไปก่อน ก็อาจจะทำให้ต้องมีการระดมสภาพคล่องจนกระทบต่อต้นทุนการเงินในตลาดเพิ่มขึ้นไปอีกหรือไม่ จนน่าคิดว่ากระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุน และบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อจะออกมาปรับมุมมองต่อ Rating ของไทยอีกหรือเปล่า
นอกจากนี้ การขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น และการอุดหนุนราคาน้ำมันและค่าไฟ อาจจะทำให้การดุลบัญชีเดินสะพัดที่เราคาดว่าจะดีขึ้น แย่ลงไปจนกระทบต่อค่าเงินได้เหมือนกัน เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเรากับ ตปท สูงเหลือเกิน
“หรือนี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ นายกรัฐมนตรีไม่ควรนั่งควบ รมว.คลัง เพราะ รมว.คลัง ควรจะเป็นคนคุมกระเป๋าเงินของรัฐบาล และเป็นคนที่คานรัฐบาลว่าการใช้เงินมีข้อจำกัด และวินัยของการใช้เงินควรเป็นอย่างไร” ดร.พิพัฒน์ ระบุ