19 กันยายน 2566
905
สรรพากรจะเก็บภาษีกำไรลงทุนต่างประเทศ ทำ Private Fund ป่วน ธนาคารเตรียมโยกเงินลูกค้ากลับ
จากกรณีคำสั่งกรมสรรพากร เรื่อง การเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัฐฎากร โดยมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมสำหรับคนที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ผ่านมา จากการทำงานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ดร.สาธิต ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยผลกระทบจากการเก็บภาษีเงินได้ที่มาจากต่างประเทศตามมาตรา 41 เป็นเรื่องที่นักลงทุนกำลังรอดูความชัดเจนของกฎหมายฉบับนี้ โดยอาจจะทำให้นักลงทุนกังวล แต่ก็เริ่มทบทวนการถือครองทรัพย์สินของตัวเองว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ในบางทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศก็อาจจะไม่เข้าข่าย เพราะไม่ได้ลงทุนตรงในต่างประเทศ เช่น การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการลงทุนหรือการลงทุนใน DR ที่เป็นตราสารที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศแต่เป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในประเทศไทยก็ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนในต่างประเทศ
หากเป็นการลงทุนไว้ก่อนปี 2565 ก็อาจจะเริ่มนำกลับเข้าประเทศก่อนที่กฎหมายจะมีผลในปี 2567 แต่ไม่แนะนำให้นำกลับเข้ามาหมดเพราะอาจจะทำให้นักลงทุนสับสนเรื่องปีปฏิทิน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารเข้าไปช่วยนักลงทุนจัดการทรัพย์สินของพวกเขา
โดยปกตินักลงทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. นักลงทุนที่ลงทุนในไทยเป็นหลักไม่มีการลงทุนนอกประเทศ แต่สนใจการลงทุนในต่างประเทศก็จะลงทุนผ่านสถาบันการเงินไทยที่มีค่าธรรมเนียมการลงทุน
2. กลุ่มที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักคุ้นเคยกับการลงทุนในต่างประเทศเป็นอย่างดี ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้กังวลมากและไม่ได้ทำให้ต้องถอนการลงทุนในต่างประเทศกลับมาเพราะมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว ถ้าจะเอาทรัพย์สินกลับมาประเทศในอนาคตจะมีเรื่องภาษีที่ต้องจัดการซึ่งอาจจะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าพออยู่แล้ว
3. นักลงทุนกลุ่มตรงกลางที่ยังไม่เชี่ยวชาญการลงทุนในต่างประเทศแต่มีการลองลงทุนในต่างประเทศไว้บ้าง ก็อาจจะพิจารณาเอาเงินลงทุนที่อยู่ในต่างประเทศกลับมาบางส่วน ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เพื่อมาตั้งหลักก่อน
การตัดสินใจนำทรัพย์สินในต่างประเทศกลับเข้ามา เจ้าของทรัพย์สินต้องมีการแยกการลงทุนทั้งหมดว่ากำไรเป็นของปีไหน และเป็นการลงทุนในอะไรบ้าง ก็จะยุ่งยากบ้าง ซึ่งสถาบันการเงินที่ให้บริการด้าน Private Banker ก็อาจจะช่วยลูกค้าได้
แต่ลูกค้าไม่ได้ใช้ Private Banker รายเดียวและมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายแห่งจึงต้องมีการจัดการเอกสารการลงทุนที่มากขึ้นกว่าเดิม
ดร.สาธิต กล่าวว่านักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศมักจะมีสินทรัพย์มั่งคั่งสูงระดับ Ultra-high net worth หรือมากกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งหากเป็นนักลงทุนรายเล็กก็ไม่ได้มีการลงทุนตรงในต่างประเทศมากส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกองทุนไทยและซื้อหุ้นกู้ไทยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามต้องรอคำอธิบายเพิ่มเติมจากกรมสรรพากรในเรื่องนี้เพื่อความชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งก็อาจจะมีการยกเว้นในบางเรื่องตามมาในอนาคตก็ได้ โดยกฎหมายฉบับปัจจุบันที่ออกมายังเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด แต่อาจจะมีการออกข้อยกเว้นในรายละเอียดตามมาได้
ด้าน Jitta Wealth Asset Management สตาร์ทอัพ WealthTech และเป็นผู้บริหารกองทุนส่วนบุคคล และ แพลตฟอร์มการลงทุนผ่านระบบออนไลน์ เสนอรัฐทบทวนการจัดเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมกับนักลงทุนมากขึ้น
นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ระบุอยากเห็นความชัดเจนในแนวปฏิบัติ อยากให้ภาครัฐยกเว้น Capital Gain Tax หรือกำไรจากการซื้อขายหุ้น จากการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้ เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นไทย พร้อมเป็นตัวแทนนักลงทุนหารือทางออกร่วมกับสรรพากร
ทั้งนี้นายตราวุทธิ์ อธิบายว่า ปัจจุบันนักลงทุยนายเล็กๆสามารถลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศผ่าน เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ด้วยเงินจำนวนน้อยหลักร้อย หลักพันเท่านั้น ซึ่งจะได้รับผลกระทบไปด้วย รวมทั้งกองทุนส่วนบุคคล ที่ไม่ได้รับการยกเว้น
โดยการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะช่วยนักลงทุนบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวน นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีเฉพาะช่วงที่มีกำไร ก็ไม่เป็นธรรม เพราะบางปีก็ขาดทุน แต่ไม่มีความชัดเจนว่านำมาหักลบได้หรือไม่
ดร.สาธิต ผ่องธัญญา ผู้อำนวยการอาวุโส Wealth Planning and Family Office ธนาคารไทยพาณิชย์ เผยผลกระทบจากการเก็บภาษีเงินได้ที่มาจากต่างประเทศตามมาตรา 41 เป็นเรื่องที่นักลงทุนกำลังรอดูความชัดเจนของกฎหมายฉบับนี้ โดยอาจจะทำให้นักลงทุนกังวล แต่ก็เริ่มทบทวนการถือครองทรัพย์สินของตัวเองว่าจะได้รับผลกระทบหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ในบางทรัพย์สินที่ลงทุนในต่างประเทศก็อาจจะไม่เข้าข่าย เพราะไม่ได้ลงทุนตรงในต่างประเทศ เช่น การลงทุนผ่านกองทุนรวมที่ไปลงทุนในต่างประเทศ บริหารจัดการโดยบริษัทจัดการลงทุนหรือการลงทุนใน DR ที่เป็นตราสารที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศแต่เป็นหลักทรัพย์ที่ซื้อขายในประเทศไทยก็ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนในต่างประเทศ
หากเป็นการลงทุนไว้ก่อนปี 2565 ก็อาจจะเริ่มนำกลับเข้าประเทศก่อนที่กฎหมายจะมีผลในปี 2567 แต่ไม่แนะนำให้นำกลับเข้ามาหมดเพราะอาจจะทำให้นักลงทุนสับสนเรื่องปีปฏิทิน ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารเข้าไปช่วยนักลงทุนจัดการทรัพย์สินของพวกเขา
โดยปกตินักลงทุนแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. นักลงทุนที่ลงทุนในไทยเป็นหลักไม่มีการลงทุนนอกประเทศ แต่สนใจการลงทุนในต่างประเทศก็จะลงทุนผ่านสถาบันการเงินไทยที่มีค่าธรรมเนียมการลงทุน
2. กลุ่มที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักคุ้นเคยกับการลงทุนในต่างประเทศเป็นอย่างดี ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่ได้กังวลมากและไม่ได้ทำให้ต้องถอนการลงทุนในต่างประเทศกลับมาเพราะมองว่าเป็นการลงทุนระยะยาว ถ้าจะเอาทรัพย์สินกลับมาประเทศในอนาคตจะมีเรื่องภาษีที่ต้องจัดการซึ่งอาจจะมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าพออยู่แล้ว
3. นักลงทุนกลุ่มตรงกลางที่ยังไม่เชี่ยวชาญการลงทุนในต่างประเทศแต่มีการลองลงทุนในต่างประเทศไว้บ้าง ก็อาจจะพิจารณาเอาเงินลงทุนที่อยู่ในต่างประเทศกลับมาบางส่วน ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้เพื่อมาตั้งหลักก่อน
การตัดสินใจนำทรัพย์สินในต่างประเทศกลับเข้ามา เจ้าของทรัพย์สินต้องมีการแยกการลงทุนทั้งหมดว่ากำไรเป็นของปีไหน และเป็นการลงทุนในอะไรบ้าง ก็จะยุ่งยากบ้าง ซึ่งสถาบันการเงินที่ให้บริการด้าน Private Banker ก็อาจจะช่วยลูกค้าได้
แต่ลูกค้าไม่ได้ใช้ Private Banker รายเดียวและมีการกระจายการลงทุนในหลากหลายแห่งจึงต้องมีการจัดการเอกสารการลงทุนที่มากขึ้นกว่าเดิม
ดร.สาธิต กล่าวว่านักลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศมักจะมีสินทรัพย์มั่งคั่งสูงระดับ Ultra-high net worth หรือมากกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งหากเป็นนักลงทุนรายเล็กก็ไม่ได้มีการลงทุนตรงในต่างประเทศมากส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกองทุนไทยและซื้อหุ้นกู้ไทยเป็นหลัก
อย่างไรก็ตามต้องรอคำอธิบายเพิ่มเติมจากกรมสรรพากรในเรื่องนี้เพื่อความชัดเจนอีกครั้ง ซึ่งก็อาจจะมีการยกเว้นในบางเรื่องตามมาในอนาคตก็ได้ โดยกฎหมายฉบับปัจจุบันที่ออกมายังเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด แต่อาจจะมีการออกข้อยกเว้นในรายละเอียดตามมาได้
ด้าน Jitta Wealth Asset Management สตาร์ทอัพ WealthTech และเป็นผู้บริหารกองทุนส่วนบุคคล และ แพลตฟอร์มการลงทุนผ่านระบบออนไลน์ เสนอรัฐทบทวนการจัดเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศให้มีความชัดเจนและเป็นธรรมกับนักลงทุนมากขึ้น
นายตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด ระบุอยากเห็นความชัดเจนในแนวปฏิบัติ อยากให้ภาครัฐยกเว้น Capital Gain Tax หรือกำไรจากการซื้อขายหุ้น จากการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้ เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นไทย พร้อมเป็นตัวแทนนักลงทุนหารือทางออกร่วมกับสรรพากร
ทั้งนี้นายตราวุทธิ์ อธิบายว่า ปัจจุบันนักลงทุยนายเล็กๆสามารถลงทุนในทรัพย์สินต่างประเทศผ่าน เทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ด้วยเงินจำนวนน้อยหลักร้อย หลักพันเท่านั้น ซึ่งจะได้รับผลกระทบไปด้วย รวมทั้งกองทุนส่วนบุคคล ที่ไม่ได้รับการยกเว้น
โดยการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะช่วยนักลงทุนบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนในช่วงที่ตลาดผันผวน นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีเฉพาะช่วงที่มีกำไร ก็ไม่เป็นธรรม เพราะบางปีก็ขาดทุน แต่ไม่มีความชัดเจนว่านำมาหักลบได้หรือไม่