20 กันยายน 2566
555
บาทอ่อน หนุนราคาทองคำในประเทศพุ่งทำนิวไฮ ตลาดห่วงรัฐออกบอนด์เยอะ ข่าวลือปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ
ช่วงนี้ราคาทองคำเริ่มขยับขึ้นไป ทั้งปัจจัยภายนอกและจากปัจจัยภายใน รวมทั้งเงินบาทอ่อนค่า ผู้ค้าทองคำคาดว่า หากดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง อาจะเห็นราคาทองคำพุ่งทำ New Highที่ระดับ 2,100 ดอลล่าร์ต่อออนซ์ ในไตรมาสแรกปีหน้า
นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี ประธานสมาคมผู้ค้าทองคำ กล่าวว่าราคาทองวันนี้ปรับขึ้นรวม 250 บาท ไปอยู่ที่บาทละ 33,550 บาท ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่เคยขึ้นสูงขนาดนี้มาก่อน โดยช่วงต้นปีราคาทองอยู่ที่ประมาณ 29,000 บาท
ทั้งนี้ปัจจัยหนุนราคาทองคำในประเทศขึ้นรอบนี้ เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.28 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าไปประมาณ 11% จากต้นปี ราคา Gold Spot วันนี้เคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 1,930 ดอลลาร์/ออนซ์
สมาคมค้าทองคำ รายงานว่า ราคาขายปลีกทองคำ (ทองคำ 96.5%) ในประเทศเปิดตลาด ปรับตัวเพิ่มขึ้นบาททองคำละ 150 โดยทองคำแท่งรับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,850.00 บาท ขายออกบาททองคำละ 32,950.00 บาท ขณะที่ราคาทองรูปพรรณ รับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,260.48 บาท ขายออกบาททองคำละ 33,450.00 บาท
ล่าสุดเมื่อเวลา 14.30 น. ราคาทองคำแท่งรับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,900 บาท ขายออกบาททองคำละ 33,000 บาท ขณะที่ราคาทองรูปพรรณ รับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,35.96บาท ขายออกบาททองคำละ 33,500.00 บาท
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ อาจส่งผลให้ราคาทองคำมีโอกาสที่จะดีดตัวขึ้นได้
ทั้งนี้ราคาทองคำมีแนวต้านหลักที่ 1,945-1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับราคาทองไทยภาพรวมยังคงอยู่ในแนวโน้มทิศทางขาขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง
▪️ YLG ชี้บาทอ่อนหนุนราคาทองในประเทศขึ้น ลุ้นปีหน้าแตะ 2,100 ดอลล่าร์ต่อออนซ์
นางพวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่าราคาทองคำในประเทศที่เคลื่อนไหวในทิศทางบวกในช่วงนี้เป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
อย่างไรก็ตามมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เนื่องจากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาล เช่นการเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นความต้องการเงินบาทได้ อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีผลแต่กับราคาทองคำในประเทศเท่านั้น
ส่วนราคาทองคำในตลาดโลก ในระยะสั้นอาจต้องจับตาเพิ่มเติมในประเด็นการส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งผลให้เยนผันผวนเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ
อย่างไรก็ตามในประเด็นหลัก ที่ส่งผลต่อราคาทองคำต่างประเทศคือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่มีขึ้นในวันที่ 19 – 20 ก.ย. นี้ ซึ่งตลาดคาดหวังให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยอีกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะปรับตัวลดลงในประมาณเดือนมีนาคม 2566
หากเป็นไปตามที่คาดก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบ 2,075-2,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ซึ่งก็จะเป็นการทำจุดสูงสุดรอบใหม่
สำหรับแนวโน้มในระยะยาวนั้น มองว่าราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในอีก 3-4 ปี ประเทศไทยจะมีการบริโภคทองคำเฉลี่ย 100 ตันต่อปี ซึ่งใกล้ระดับที่เคยสูงสุดที่ 153.8 ตันต่อปีในปี 2556
ปัจจุบันประเทศไทยมีการบริโภคทองคำโดยเฉลี่ย 63 ตันต่อปี ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย เป็นรอง จีน และ อินเดีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก
อีกปัจจัยที่การบริโภคทองคำจะเติบโตขึ้นได้อีกนั้น เป็นเพราะคนไทยหันมาซื้อขายทองคำผ่านระบบออนไลน์เพื่อลงทุนมากขึ้น เพราะเข้าถึงง่ายดูข้อมูลแบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ตลาดทองคำในประเทศยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง
▪️ เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง
เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์ ต่ำสุดใน 12 เดือน รอลุ้นผลการประชุม FOMC ทั้งนี้ Krungthai GLOBAL MARKETS ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้คาดจะแกว่งตัวในกรอบ 35.80-36.30 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้ผลการประชุม FOMC
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.07 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.95 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท Krungthai GLOBAL MARKETS มองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทในวันก่อนหน้า เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของธนาคารไปมาก โดยเงินบาทอ่อนค่าหนักกว่าสกุลเงินเอเชียอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่าการอ่อนค่าของเงินบาทอาจมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นไปได้ส่วนหนึ่งมาจากแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะบอนด์ หลังนักลงทุนต่างชาติต่างไม่มั่นใจต่อแนวโน้มปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาล
นอกจากนี้ แรงขายเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้ส่งออกได้ชะลอลงไปมาก เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่อาจทยอยขายเงินดอลลาร์ไปพอสมควรแล้วในช่วงก่อนหน้า ทำให้การอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35.85 บาทต่อดอลลาร์ เปิดทางให้เงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทที่มากกว่าคาดนั้น ได้เปิดโอกาสให้เงินบาทสามารถอ่อนค่าต่อทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้เช่นกัน ซึ่งต้องจับตาทิศทางเงินทุนต่างชาติ (Fund Flow)ว่าจะเดินหน้าเทขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนบอนด์ หลังบอนด์ยีลด์ฝั่งสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ผลการประชุม FOMC ในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินโดยประเมินว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง หาก Dot Plot ใหม่ ชี้ว่า Fed มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 1 ครั้งในปีนี้ และเฟดอาจไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงเกินกว่า -1% ในปีหน้า ตามที่เคยประเมินไว้ใน Dot Plot เดือนมิถุนายน
ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินบาททยอยอ่อนค่าทดสอบโซน 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ ขณะที่หาก Dot Plot ใหม่ ไม่ได้ชี้ว่า Fed พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือ สะท้อนว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยลงราว -1% (หรือมากกว่านั้น)ในปีหน้า ก็คาดว่าเงินดอลลาร์อาจย่อตัวลงบ้าง หนุนให้เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าหลุดระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้เช่นกัน
▪️ ลือปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ อีกปัจจัยทำบาทอ่อนค่า
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเมื่อวานนี้ ปิดตลาดอยู่ที่ 35.99 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลง จากระดับ 35.69 บาท/ดอลลาร์ในช่วงเช้า เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และมีข่าวลือเรื่องปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กรณีมีความเห็นขัดแย้ง เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่มีเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรราว 1.7 พันล้านบาท
"วันนี้ (19 ก.ย.) เงินบาทปรับตัวอ่อนค่ามาไกลมากสุดในภูมิภาค จากแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและมีข่าวลือเรื่องปลดผู้ว่าฯ แบงก์ ชาติ" นักบริหารเงิน
นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี ประธานสมาคมผู้ค้าทองคำ กล่าวว่าราคาทองวันนี้ปรับขึ้นรวม 250 บาท ไปอยู่ที่บาทละ 33,550 บาท ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ไม่เคยขึ้นสูงขนาดนี้มาก่อน โดยช่วงต้นปีราคาทองอยู่ที่ประมาณ 29,000 บาท
ทั้งนี้ปัจจัยหนุนราคาทองคำในประเทศขึ้นรอบนี้ เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ 36.28 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าไปประมาณ 11% จากต้นปี ราคา Gold Spot วันนี้เคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 1,930 ดอลลาร์/ออนซ์
สมาคมค้าทองคำ รายงานว่า ราคาขายปลีกทองคำ (ทองคำ 96.5%) ในประเทศเปิดตลาด ปรับตัวเพิ่มขึ้นบาททองคำละ 150 โดยทองคำแท่งรับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,850.00 บาท ขายออกบาททองคำละ 32,950.00 บาท ขณะที่ราคาทองรูปพรรณ รับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,260.48 บาท ขายออกบาททองคำละ 33,450.00 บาท
ล่าสุดเมื่อเวลา 14.30 น. ราคาทองคำแท่งรับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,900 บาท ขายออกบาททองคำละ 33,000 บาท ขณะที่ราคาทองรูปพรรณ รับซื้อเข้าบาททองคำละ 32,35.96บาท ขายออกบาททองคำละ 33,500.00 บาท
บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ว่า หากธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ยังคงไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ อาจส่งผลให้ราคาทองคำมีโอกาสที่จะดีดตัวขึ้นได้
ทั้งนี้ราคาทองคำมีแนวต้านหลักที่ 1,945-1,950 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับราคาทองไทยภาพรวมยังคงอยู่ในแนวโน้มทิศทางขาขึ้น เนื่องจากค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง
▪️ YLG ชี้บาทอ่อนหนุนราคาทองในประเทศขึ้น ลุ้นปีหน้าแตะ 2,100 ดอลล่าร์ต่อออนซ์
นางพวรรณ์ นววัฒนทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่าราคาทองคำในประเทศที่เคลื่อนไหวในทิศทางบวกในช่วงนี้เป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า
อย่างไรก็ตามมองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทน่าจะเป็นเพียงช่วงสั้นๆ เนื่องจากนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาล เช่นการเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นความต้องการเงินบาทได้ อย่างไรก็ดีการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมีผลแต่กับราคาทองคำในประเทศเท่านั้น
ส่วนราคาทองคำในตลาดโลก ในระยะสั้นอาจต้องจับตาเพิ่มเติมในประเด็นการส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งผลให้เยนผันผวนเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ
อย่างไรก็ตามในประเด็นหลัก ที่ส่งผลต่อราคาทองคำต่างประเทศคือการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่มีขึ้นในวันที่ 19 – 20 ก.ย. นี้ ซึ่งตลาดคาดหวังให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยอีกเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะปรับตัวลดลงในประมาณเดือนมีนาคม 2566
หากเป็นไปตามที่คาดก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในกรอบ 2,075-2,100 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ซึ่งก็จะเป็นการทำจุดสูงสุดรอบใหม่
สำหรับแนวโน้มในระยะยาวนั้น มองว่าราคาทองคำมีโอกาสปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าในอีก 3-4 ปี ประเทศไทยจะมีการบริโภคทองคำเฉลี่ย 100 ตันต่อปี ซึ่งใกล้ระดับที่เคยสูงสุดที่ 153.8 ตันต่อปีในปี 2556
ปัจจุบันประเทศไทยมีการบริโภคทองคำโดยเฉลี่ย 63 ตันต่อปี ซึ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย เป็นรอง จีน และ อินเดีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก
อีกปัจจัยที่การบริโภคทองคำจะเติบโตขึ้นได้อีกนั้น เป็นเพราะคนไทยหันมาซื้อขายทองคำผ่านระบบออนไลน์เพื่อลงทุนมากขึ้น เพราะเข้าถึงง่ายดูข้อมูลแบบ Real-time ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ตลาดทองคำในประเทศยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง
▪️ เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง
เงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง เปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์ ต่ำสุดใน 12 เดือน รอลุ้นผลการประชุม FOMC ทั้งนี้ Krungthai GLOBAL MARKETS ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้คาดจะแกว่งตัวในกรอบ 35.80-36.30 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้ผลการประชุม FOMC
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 36.07 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.95 บาทต่อดอลลาร์
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท Krungthai GLOBAL MARKETS มองว่าการอ่อนค่าของเงินบาทในวันก่อนหน้า เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของธนาคารไปมาก โดยเงินบาทอ่อนค่าหนักกว่าสกุลเงินเอเชียอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่าการอ่อนค่าของเงินบาทอาจมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นไปได้ส่วนหนึ่งมาจากแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะบอนด์ หลังนักลงทุนต่างชาติต่างไม่มั่นใจต่อแนวโน้มปริมาณการออกบอนด์ของรัฐบาล
นอกจากนี้ แรงขายเงินดอลลาร์จากฝั่งผู้ส่งออกได้ชะลอลงไปมาก เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่อาจทยอยขายเงินดอลลาร์ไปพอสมควรแล้วในช่วงก่อนหน้า ทำให้การอ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 35.85 บาทต่อดอลลาร์ เปิดทางให้เงินบาทอ่อนค่าทดสอบ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยาก
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทที่มากกว่าคาดนั้น ได้เปิดโอกาสให้เงินบาทสามารถอ่อนค่าต่อทดสอบโซนแนวต้านถัดไปแถว 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้เช่นกัน ซึ่งต้องจับตาทิศทางเงินทุนต่างชาติ (Fund Flow)ว่าจะเดินหน้าเทขายสินทรัพย์ไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะในส่วนบอนด์ หลังบอนด์ยีลด์ฝั่งสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ผลการประชุม FOMC ในช่วงเช้าตรู่ของวันพรุ่งนี้ จะเป็นตัวกำหนดทิศทางค่าเงินโดยประเมินว่า เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้บ้าง หาก Dot Plot ใหม่ ชี้ว่า Fed มีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 1 ครั้งในปีนี้ และเฟดอาจไม่ได้ลดดอกเบี้ยลงเกินกว่า -1% ในปีหน้า ตามที่เคยประเมินไว้ใน Dot Plot เดือนมิถุนายน
ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินบาททยอยอ่อนค่าทดสอบโซน 36.30 บาทต่อดอลลาร์ได้ ขณะที่หาก Dot Plot ใหม่ ไม่ได้ชี้ว่า Fed พร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หรือ สะท้อนว่า Fed อาจลดดอกเบี้ยลงราว -1% (หรือมากกว่านั้น)ในปีหน้า ก็คาดว่าเงินดอลลาร์อาจย่อตัวลงบ้าง หนุนให้เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าหลุดระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ได้เช่นกัน
▪️ ลือปลดผู้ว่าแบงก์ชาติ อีกปัจจัยทำบาทอ่อนค่า
นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเมื่อวานนี้ ปิดตลาดอยู่ที่ 35.99 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าลง จากระดับ 35.69 บาท/ดอลลาร์ในช่วงเช้า เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และมีข่าวลือเรื่องปลดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กรณีมีความเห็นขัดแย้ง เกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ขณะที่มีเงินทุนไหลออกจากตลาดพันธบัตรราว 1.7 พันล้านบาท
"วันนี้ (19 ก.ย.) เงินบาทปรับตัวอ่อนค่ามาไกลมากสุดในภูมิภาค จากแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและมีข่าวลือเรื่องปลดผู้ว่าฯ แบงก์ ชาติ" นักบริหารเงิน