ตั้งการ์ด “พอร์ตลงทุน” ปี64 ยังไง ให้รอดจาก COVID-19 ระลอกใหม่
Highlight
เหมือนวันนี้ ไม่มีใครรู้ว่าโรคระบาดระลอกใหม่จะจบลงเมื่อไหร่ ?
เศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นอย่างไร?
เพราะเพิ่งเริ่มได้รับผลกระทบ แปลว่า อาจจะยังเร็วไปที่จะสรุปผลกระทบในระยะยาว
ดังนั้น ในสถานการณ์แบบนี้ “การเลือกลงทุน” จึงเป็นสิ่งสำคัญ และสำคัญกว่า การหยุดลงทุนไปเลย ด้วยสถิติที่น่าสนใจ “ตลาดหุ้นไทยหลังทุกโรคระบาด”
ผลแทนตอบตลาดหุ้นไทยหลังเกิดโรคระบาด
จากสถิติพบว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2546 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก โดย
- 1 เดือนหลังจากเกิดโรคระบาด ตลาดหุ้นไทยบวกขึ้นมาเฉลี่ย 1.92%
- และ 1 ปีหลังเกิดโรคระบาด ตลาดบวกขึ้นมาเฉลี่ยถึง 19.80%
หุ้นไทยช่วงวิกฤติCOVID-19 “ถูกหรือแพง” ?
อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการ บริหารฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) แนะนำว่า โดยปกติจะดูจาก P/E Ratio (อัตราส่วนราคาตลาดต่อกําไรสุทธิ) กับ Price to Book Value (P/BV Ratio) (อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชี) ของหุ้นหรือของตลาด
“แต่ไม่มีใครทราบว่า Price to Book Value จะปรับลดตัวลงไปอีกหรือไม่ ดังนั้น
ในแง่ของการลงทุน คือ ควรทยอยลงทุน หรือที่เรียกว่า วิธีการซื้อหลายๆ ไม้ หรือแบ่งไม้ซื้อ”
ยกตัวอย่าง... ลงทุน 3 – 4 ไม้ จากนั้นก็วางกลยุทธ์ว่าจะถอยหรือจะรับอย่างไร
เช่น ดัชนีหุ้นลดลง 30 จุด ก็ซื้อไม้แรก เมื่อดัชนีหุ้นปรับลดลงต่ออีก 20 จุด ก็เข้าซื้อเป็นไม้ถัดไป
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ ราคาหุ้นมากำหนดได้ เช่น ถ้าราคาหุ้นปรับลดลงมา 5 บาท ก็ซื้อไม้แรก ลดลงไปอีก 3 บาท ก็ซื้อไม้ที่สอง เป็นต้น
ที่เดี๋ยวนี้เครื่องมือต่างๆ บน แอปพลิเคชั่นลงทุนจากโบรกเกอร์ค่ายต่างๆนั้น ก็มีให้เลือกใช้ได้ง่าย และสะดวก
แนวคิดปรับพอร์ตหุ้นเอาตัว(ให้)รอด
เมื่อเกิดวิกฤติ ทางออกสําคัญประการหนึ่งเพื่อลดความสูญเสีย คือ “การปรับพอร์ต”
"การปรับพอร์ตหุ้น" ควรให้น้ำหนักกับ
- ฐานะการเงินของกิจการที่แข็งแกร่ง
- แนวโน้มการฟื้นตัวของกิจการ
คำแนะนำจาก ธนวัฒน์ ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการบริหาร บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ที่เชื่อว่ารัฐบาลในแต่ละประเทศ รวมทั้งไทยด้วย มีการออกมาตรการหนุนเศรษฐกิจ และกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อเร่งการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ Logistics และ E-Commerce ก็จะได้ ประโยชน์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในช่วงโรคระบาด เป็นต้น และคาดว่า จะได้เห็นการควบรวมกิจการมากขึ้นหลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัว
ธีมการลงทุนที่น่าจับตามอง...ปี 64
- ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’
- ‘การเติบโตสูง’
หุ้นกลุ่มที่มีโอกาสฟื้นตัวกลับมาได้ดี
เช่น กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ พลังงานและปิโตรเคมี โรงแรม รวมถึงโรงพยาบาล
หุ้นกลุ่มที่มีประสิทธิภาพในการเติบโตได้ดี
เช่น สาธารณูปโภค ค้าปลีก ขนส่งสาธารณะและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
มารู้จักกับ Top-Down Analysis ที่ใช้เลือกหุ้นในยามวิกฤติ
ทันข่าวรวบรวมเอาข้อแนะนำจาก คุณ มยุรี โชวิกรานต์, CISA, AFPTTM รองกรรมการผู้จัดการฝ่าย Smart Wealth Consulting
บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ในแนวคิดการคัดเลือกหุ้นยามวิกฤติมาฝาก ซึ่งเข้ากับสถานการณ์ปี 64 นี้ได้เป็นอย่างดี
- วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจ
สิ่งที่ควรประเมินต่อ ได้แก่
- เศรษฐกิจจะชะงักงันนานขนาดไหน ?
เพราะมีผลต่อการคัดเลือก อุตสาหกรรมในขั้นต่อไป - นโยบายการเงิน การคลังของแต่ละประเทศมีการช่วยเหลืออย่างไร และมากน้อยเพียงใด ?
เพื่อประคองไม่ให้เศรษฐกิจถดถอยมากไปกว่าควรจะเป็น - พัฒนาการวัคซีน
เพิ่มความสามารถในการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะฟื้นตัวในอัตราเร่งขึ้นได้
- อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์
- อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ ผลกระทบมีทั้งทางตรงและทางอ้อม
3. เลือกหุ้นที่น่าสนใจ เมื่อแบ่งกรอบเวลาของการลงทุนออกเป็น 2 ช่วง
- อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากวิกฤติ - เลือกหุ้นในกลุ่มนี้
สะท้อนดูได้จากรายได้ และกําไรจากการดำเนินงาน หลังจากนั้นก็นําราคาตลาด ณ ปัจจุบัน เทียบกับ กําไรต่อ หุ้น (EPS) ของปีที่ประเมิน เพื่อหาว่าบริษัทไหนมี
Valuation อยู่ที่ ระดับใด รวมถึงสังเกตุ Price Performance ในช่วง 1 - 3 เดือน ที่เริ่มเกิดวิกฤติถึงปัจจุบัน ว่าราคาหุ้นปรับขึ้นมามากน้อยเพียงใด เพื่อประเมิน
ว่าราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาสะท้อนปัจจัยบวกไปหมดแล้ว หรือไม่ - อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติ
- มองหาธุรกิจที่อยู่รอดในภาวะวิกฤติ
- อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
ยิ่งอัตราส่วนนี้สูง ยิ่งเสี่ยงมากกับสภาพคล่องทางการเงิน
- อัตราส่วน EBITต่อดอกเบี้ยจ่าย
ยิ่งอัตราส่วนนี้สูงมากเท่าไรยิ่งดี ความเสี่ยงที่จะผิดนัด ชําระหนี้ส่วนของดอกเบี้ยจ่ายแต่ละงวดจะลดลง
- กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกมากน้อยเพียงใด
ยิ่งบวกมาก ยิ่งสะท้อนถึงสายป่านว่าสภาพคล่องสูง
จากนั้น ก็มาดูกันที่ Valuation เช่นPrice to Book Value (P/BV) ณ ขณะนี้ต่ำกว่า 1 เท่า มากน้อยเพียงใด อัตราผลตอบแทน จากเงินปันผล (Dividend Yield)
อยู่ในระดับที่ดีหรือไม่ หรือในภาวะวิกฤติยังสามารถ จ่ายเงินปันผลได้ และ Price to EPS (PER) ใกล้เคียงหรือต่ำกว่าอัตราผลตอบแทน จากเงินปันผลมากน้อยแค่ไหน
และสิ่งที่สำคัญที่ต้องไม่ลืม ก็คือ เมื่อเลือกหุ้นที่น่าสนใจลงทุนได้แล้ว สิ่งที่ต้องคอยติดตามคือ หากราคาหุ้นดีดตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วย Sentiment ของตลาดหุ้นโดยรวม
และสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ
สุดท้ายปี “ปีฉลู-2564” ตลาดหุ้นและภาพการลงทุนจะไปได้ไกลแค่ไหนนั้น ยังคงต้องติดตามกันต่อไป เพราะสูตรการลงทุนที่ยังคงใช้ได้ตลอดกาล คือ
“การกระจายความเสี่ยงถือหุ้นหลายๆ ตัวเป็นเรื่องจำเป็น “ เพราะโอกาสผิดพลาดโดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตนั้นมีสูงกว่าปกติ