01 ตุลาคม 2566
737
ยอดบริโภค “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” พุ่งขึ้นทั่วโลก เหตุเงินเฟ้อและค่าครองชีพสูง
สมาคมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโลก (World Instant Noodles Association) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโอซากา ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยข้อมูลปริมาณการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ประเมินจากยอดการส่งสินค้าใน 53 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ดีมานด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลกแตะ 1.21 แสนล้านชาม เติบโต 2.6% จากปี 2564 และเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 7
สำหรับตลาดที่มีดีมานด์สูงติดท็อป 5 นั้น นำโดยจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมฮ่องกง) ด้วยดีมานด์มากกว่า 4 หมื่นล้านชาม ตามด้วยอินโดนีเซีย, อินเดีย, เวียดนามและญี่ปุ่น ส่วนสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 6 และไทยอยู่ในอันดับ 9 ขณะเดียวกันยังเกิดภาพการเติบโตสูงต่อเนื่องในเม็กซิโกซึ่งดีมานด์เพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลัก 2 ปีติดต่อกัน โดยปี 2565 เติบโต 11% หลังจากปี 2564 เติบโต 17.2%
สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ และสถานการณ์เงินเฟ้อสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในหลายประเทศ บีบให้ผู้บริโภคต้องหันมาเลือกรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน
การเติบโตของธุรกิจอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะในปี 2563 ซึ่งมีการล็อกดาวน์และความไม่มั่นใจในสถานการณ์การระบาดทำให้ดีมานด์เพิ่มขึ้น 9.5% ก่อนจะลดลงเป็นเติบโต 1.4% ในปี2564 ที่การระบาดเริ่มคลี่คลาย และเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 จากสภาพค่าครองชีพพุ่งสูง
นิชชิน ฟู้ด หนึ่งในผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปรายใหญ่ อธิบายถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า เงินเฟ้อทำให้ตอนนี้ แม้แต่ผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางที่ปกติไม่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังต้องหันมาเพิ่มบะหมี่กึ่งฯเข้าไปในมื้ออาหารแล้ว
อย่างไรก็ตามท่ามกลางกระแสการเติบโตนี้ยังมีบางตลาดที่ดีมานด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงด้วยเช่นกัน อย่างตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งตลาดหดตัว 1.4% เมื่อปี 2564 ก่อนจะดีดกลับในปี 2565 ด้วยการเติบโต 3.4%
สหรัฐอเมริกายังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี แม้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาหารที่ทั้งสหรัฐฯและเม็กซิโกไม่มีอาหารสไตล์เส้นอย่างบะหมี่หรือก๋วยเตี๋ยวมาก่อน ต่างกับฝั่งเอเชียซึ่งผู้บริโภคคุ้นเคยกับอาหารประเภทนี้อยู่แล้ว
บริษัทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อย่างเช่น นิชชิน ฟู้ด หรือโทโย ซุยซัน ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่อีกราย ต่างมีกำไรเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ด้วยรายได้จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นบริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2 บริษัท มีแผนขยาย โรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2568 เพื่อรองรับดีมานด์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก พร้อมเพิ่มความหลากหลายในรสชาติสินค้ามากขึ้น
สถานการณ์เงินเฟ้อสูง สินค้าหลายอย่างประกาศปรับราคาสินค้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ปรับขึ้นเดียวกัน โดยปรับขึ้นราว 10% ในช่วง 2 ปีมานี้ แต่พบว่าปริมาณการขายลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
สำหรับตลาดที่มีดีมานด์สูงติดท็อป 5 นั้น นำโดยจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมฮ่องกง) ด้วยดีมานด์มากกว่า 4 หมื่นล้านชาม ตามด้วยอินโดนีเซีย, อินเดีย, เวียดนามและญี่ปุ่น ส่วนสหรัฐอเมริกาอยู่ในอันดับ 6 และไทยอยู่ในอันดับ 9 ขณะเดียวกันยังเกิดภาพการเติบโตสูงต่อเนื่องในเม็กซิโกซึ่งดีมานด์เพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลัก 2 ปีติดต่อกัน โดยปี 2565 เติบโต 11% หลังจากปี 2564 เติบโต 17.2%
สภาพเศรษฐกิจตกต่ำ และสถานการณ์เงินเฟ้อสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นแบบก้าวกระโดดในหลายประเทศ บีบให้ผู้บริโภคต้องหันมาเลือกรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซึ่งมีราคาถูกกว่าแทน
การเติบโตของธุรกิจอาหารกึ่งสำเร็จรูปมีมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะในปี 2563 ซึ่งมีการล็อกดาวน์และความไม่มั่นใจในสถานการณ์การระบาดทำให้ดีมานด์เพิ่มขึ้น 9.5% ก่อนจะลดลงเป็นเติบโต 1.4% ในปี2564 ที่การระบาดเริ่มคลี่คลาย และเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 จากสภาพค่าครองชีพพุ่งสูง
นิชชิน ฟู้ด หนึ่งในผู้ผลิตบะหมี่สำเร็จรูปรายใหญ่ อธิบายถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า เงินเฟ้อทำให้ตอนนี้ แม้แต่ผู้บริโภคระดับชนชั้นกลางที่ปกติไม่กินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังต้องหันมาเพิ่มบะหมี่กึ่งฯเข้าไปในมื้ออาหารแล้ว
อย่างไรก็ตามท่ามกลางกระแสการเติบโตนี้ยังมีบางตลาดที่ดีมานด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปลดลงด้วยเช่นกัน อย่างตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งตลาดหดตัว 1.4% เมื่อปี 2564 ก่อนจะดีดกลับในปี 2565 ด้วยการเติบโต 3.4%
สหรัฐอเมริกายังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี แม้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอาหารที่ทั้งสหรัฐฯและเม็กซิโกไม่มีอาหารสไตล์เส้นอย่างบะหมี่หรือก๋วยเตี๋ยวมาก่อน ต่างกับฝั่งเอเชียซึ่งผู้บริโภคคุ้นเคยกับอาหารประเภทนี้อยู่แล้ว
บริษัทบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อย่างเช่น นิชชิน ฟู้ด หรือโทโย ซุยซัน ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่อีกราย ต่างมีกำไรเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา ด้วยรายได้จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้นบริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 2 บริษัท มีแผนขยาย โรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในสหรัฐอเมริกาภายในปี 2568 เพื่อรองรับดีมานด์ทั้งในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก พร้อมเพิ่มความหลากหลายในรสชาติสินค้ามากขึ้น
สถานการณ์เงินเฟ้อสูง สินค้าหลายอย่างประกาศปรับราคาสินค้า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็ปรับขึ้นเดียวกัน โดยปรับขึ้นราว 10% ในช่วง 2 ปีมานี้ แต่พบว่าปริมาณการขายลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น