30 กันยายน 2566
1,318
หนี้ครัวเรือนคืออะไร กระทบหุ้นไฟแนนซ์-ธนาคาร อย่างไร ?
จากข้อมูลสินเชื่อในระบบที่อยู่ในเครดิตบูโรในปัจจุบัน (ตัวเลข เดือนมี.ค. 2565) คนไทยที่มีหนี้สูงถึง 37% หรือคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของประชากรไทย โดย 57% ของคนไทยที่มีหนี้ มีหนี้เกิน 100,000 บาท และสัดส่วนคนที่มีหนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ที่ต่อเนื่องมาหลายปี
แม้เศรษฐกิจอาจเริ่มมีการฟื้นตัว แต่ก็ยังมีอยู่หลายภาคส่วนที่ยังได้รับผลกระทบอยู่ ปัญหาเหล่านี้ส่งต่อการลงทุนในหุ้นหรือไม่ บล.บัวหลวง อธิบายและวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ ไว้ดังนี้
หนี้ครัวเรือน คือ หนี้เงินกู้ส่วนบุคคลที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน และบุคคลอื่นนอกครัวเรือน เช่น หนี้เช่าซื้อ การซื้อสินค้าเงินผ่อน การซื้อเชื่อสินค้าจากร้านค้า การจํานํา การจํานอง โดยแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่
1. หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (Non-productive loan) หรือหนี้พึงระวัง คือ หนี้อุปโภคบริโภค และหนี้จากการจับจ่ายซื้อของที่เกินฐานะ
2. หนี้ที่สร้างรายได้ (Productive loan) หรือหนี้ดี คือ หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ที่อยู่อาศัย หนี้ซื้อขาย/ที่ดิน หนี้ทำการเกษตร หนี้ทำธุรกิจ เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ
จากผลการสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศพบว่า มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น จาก 134,900 บาท ในปี 2554 เป็น 205,679 บาท ในปี 2564 โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากหนี้สินเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน, หนี้สินที่ใช้ในการทำธุรกิจ (การเกษตร) ส่วนหนี้อื่น ๆ มีเพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ดีในปี 2564 ครัวเรือนเกินครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน 51.5% โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 205,679 บาทต่อครัวเรือน (การก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน 155,166 บาท และการลงทุนและอื่น ๆ 50,513 บาท
ปัจจุบันเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้รายได้ของลูกหนี้เริ่มกลับมาดีขึ้น ขณะที่รายได้ลูกหนี้บางกลุ่มยังฟื้นตัวช้า ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงออกมาตรการที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้น โดยจะทำการยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผู้ให้บริการต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้
2. ผู้ให้บริการต้องดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา)
▪️ ปัญหาเหล่านี้กระทบหุ้นไฟแนนซ์และหุ้นธนาคารอย่างไร สรุปสั้น ๆ ได้แบบนี้
ที่มา : บล.บัวหลวง
แม้เศรษฐกิจอาจเริ่มมีการฟื้นตัว แต่ก็ยังมีอยู่หลายภาคส่วนที่ยังได้รับผลกระทบอยู่ ปัญหาเหล่านี้ส่งต่อการลงทุนในหุ้นหรือไม่ บล.บัวหลวง อธิบายและวิเคราะห์ปัญหาเหล่านี้ ไว้ดังนี้
หนี้ครัวเรือน คือ หนี้เงินกู้ส่วนบุคคลที่กู้ยืมจากสถาบันการเงิน และบุคคลอื่นนอกครัวเรือน เช่น หนี้เช่าซื้อ การซื้อสินค้าเงินผ่อน การซื้อเชื่อสินค้าจากร้านค้า การจํานํา การจํานอง โดยแบ่งหนี้ออกเป็น 2 ประเภทกว้าง ๆ ได้แก่
1. หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (Non-productive loan) หรือหนี้พึงระวัง คือ หนี้อุปโภคบริโภค และหนี้จากการจับจ่ายซื้อของที่เกินฐานะ
2. หนี้ที่สร้างรายได้ (Productive loan) หรือหนี้ดี คือ หนี้เพื่อการศึกษา หนี้ที่อยู่อาศัย หนี้ซื้อขาย/ที่ดิน หนี้ทำการเกษตร หนี้ทำธุรกิจ เพื่อซื้ออุปกรณ์ประกอบอาชีพ
จากผลการสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศพบว่า มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น จาก 134,900 บาท ในปี 2554 เป็น 205,679 บาท ในปี 2564 โดยส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากหนี้สินเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน, หนี้สินที่ใช้ในการทำธุรกิจ (การเกษตร) ส่วนหนี้อื่น ๆ มีเพียงเล็กน้อย
อย่างไรก็ดีในปี 2564 ครัวเรือนเกินครึ่งเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สิน 51.5% โดยมีจำนวนหนี้สินเฉลี่ย 205,679 บาทต่อครัวเรือน (การก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือน 155,166 บาท และการลงทุนและอื่น ๆ 50,513 บาท
ปัจจุบันเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้รายได้ของลูกหนี้เริ่มกลับมาดีขึ้น ขณะที่รายได้ลูกหนี้บางกลุ่มยังฟื้นตัวช้า ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงออกมาตรการที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนให้ตรงจุดและยั่งยืนขึ้น โดยจะทำการยกระดับมาตรฐานธุรกิจการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผู้ให้บริการต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้
2. ผู้ให้บริการต้องดูแลลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง (จ่ายดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา)
▪️ ปัญหาเหล่านี้กระทบหุ้นไฟแนนซ์และหุ้นธนาคารอย่างไร สรุปสั้น ๆ ได้แบบนี้
1. จากการเป็นหนี้ภาคครัวเรือนจำนวนมาก อาจส่งผลให้มีผู้ที่ก่อให้เกิดภาวะหนี้เสีย (NPL) มากขึ้น และส่งผลให้ธนาคารเกิดการขาดรายได้จากดอกเบี้ยปล่อยกู้ โดยเฉพาะที่เกิดในช่วงโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคล และหนี้ในภาคเกษตร
หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง ยังไม่เป็นหนี้เสีย อาจก่อให้เกิด NPL สูงขึ้นในอนาคต จากผู้ที่กู้หนี้ใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า
หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็นหนี้เสียหรือหนี้เรื้อรังในอนาคต ได้แก่ หนี้ภาคเกษตร หนี้บัตรเครดิต และหนี้ส่วนบุคคล
หนี้นอกระบบ อาจดึงหนี้ในระบบให้เป็นปัญหาไปด้วย
2. การเพิ่มมาตรการปล่อยสินเชื่อให้เข้มข้นยิ่งขึ้น ส่งผลให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อได้ลดลง ซึ่งรายได้หลักจากธนาคารที่มาจากการปล่อยสินเชื่อก็ลดลงไปด้วย แต่ก็จะส่งผลให้หนี้เสีย (NPL) ลดลงในระยะยาว
ที่มา : บล.บัวหลวง