30 กันยายน 2566
1,150
“อินโดนีเซีย” อาจเป็น “ประตูการลงทุน EV” ในอาเซียน จากการมีวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ และรัฐหนุนเต็มที่
จากรายงานของ ASEAN Briefing อินโดนีเซีย อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่สำคัญต่อการผลิตแบตเตอรี่รถ EV ไม่ว่าจะเป็นทองแดง นิกเกิล โคบอลต์ และบ็อกไซต์ อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออกนิกเกิลรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสัดส่วนถึง 22% ของสำรองนิกเกิลทั่วโลก
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังพยายามดึงดูด Tesla ด้วยความหวังว่าจะนำข้อได้เปรียบด้านแหล่งทรัพยากร ให้พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานรถ EV ที่สำคัญในระดับโลกด้วย
โดยเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางแบตเตอรี่รถ EV ในระดับโลกของอินโดนีเซีย ดูเหมือนจะได้รับแรงสนับสนุนอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้แต่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเอเชียอย่าง Toyota และ Hyundai ก็มีการทุ่มเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อขยายโรงงานการผลิตรถ EV ในอินโดนีเซียเช่นกัน
Koketso Tsoai นักวิเคราะห์รถยนต์ที่ BMI Fitch Solutions เปิดเผยว่า การมี ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของอินโดนีเซียที่จําเป็นสําหรับ EVs เป็นรากฐานและปัจจัยแรงดึงดูดสําหรับการลงทุน EV โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการแบนแร่นิกเกิลและรัฐบาลที่เรียกร้องให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นเพื่อปลดล็อกการเติบโตทางเศรษฐกิจ
จากรายงานการลงทุนอาเซียนปี 2565 ระบุว่า การผลิตแบตเตอรี่รถ EV สร้างสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศภายในภูมิภาคในช่วงปี 2562-2564 ได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
แม้จะมีความพยายามของอินโดนีเซีย แต่ประเทศยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์
“เป็นเรื่องยากสําหรับอินโดนีเซียที่จะเข้ามาแทนที่ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ระดับภูมิภาค อินโดนีเซียจะเผชิญกับความท้าทายจากผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์” Nishita Aggarwal นักวิเคราะห์ยานยนต์ของ EIU กล่าว
อย่างไรก็ดี การเติบโตของอุตสาหกรรมรถ EV ในอินโดนีเซีย มีแนวโน้มที่จะส่งอิทธิพลถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน โดย Maybank มองว่า การเปิดให้เข้าถึงวัตถุดิบสำคัญของแบตเตอรี่รถ EV ในอินโดนีเซีย อาจดึงดูดการลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และอาจช่วยให้อาเซียนสามารถนำรถ EV ออกมาใช้ได้เร็วและราคาถูกมากขึ้น
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังพยายามดึงดูด Tesla ด้วยความหวังว่าจะนำข้อได้เปรียบด้านแหล่งทรัพยากร ให้พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่อุปทานรถ EV ที่สำคัญในระดับโลกด้วย
โดยเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางแบตเตอรี่รถ EV ในระดับโลกของอินโดนีเซีย ดูเหมือนจะได้รับแรงสนับสนุนอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งแม้แต่ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเอเชียอย่าง Toyota และ Hyundai ก็มีการทุ่มเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อขยายโรงงานการผลิตรถ EV ในอินโดนีเซียเช่นกัน
Koketso Tsoai นักวิเคราะห์รถยนต์ที่ BMI Fitch Solutions เปิดเผยว่า การมี ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของอินโดนีเซียที่จําเป็นสําหรับ EVs เป็นรากฐานและปัจจัยแรงดึงดูดสําหรับการลงทุน EV โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการแบนแร่นิกเกิลและรัฐบาลที่เรียกร้องให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นเพื่อปลดล็อกการเติบโตทางเศรษฐกิจ
จากรายงานการลงทุนอาเซียนปี 2565 ระบุว่า การผลิตแบตเตอรี่รถ EV สร้างสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศภายในภูมิภาคในช่วงปี 2562-2564 ได้อย่างมหาศาล โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
แม้จะมีความพยายามของอินโดนีเซีย แต่ประเทศยังคงเผชิญกับอุปสรรคในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์
“เป็นเรื่องยากสําหรับอินโดนีเซียที่จะเข้ามาแทนที่ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ระดับภูมิภาค อินโดนีเซียจะเผชิญกับความท้าทายจากผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำ เช่น เวียดนามและฟิลิปปินส์” Nishita Aggarwal นักวิเคราะห์ยานยนต์ของ EIU กล่าว
อย่างไรก็ดี การเติบโตของอุตสาหกรรมรถ EV ในอินโดนีเซีย มีแนวโน้มที่จะส่งอิทธิพลถึงประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน โดย Maybank มองว่า การเปิดให้เข้าถึงวัตถุดิบสำคัญของแบตเตอรี่รถ EV ในอินโดนีเซีย อาจดึงดูดการลงทุนได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และอาจช่วยให้อาเซียนสามารถนำรถ EV ออกมาใช้ได้เร็วและราคาถูกมากขึ้น