03 ตุลาคม 2566
559
เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 37 บาท/ดอลลาร์ ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน
เงินบาทอ่อนค่าผ่านระดับ 37.00 ไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 11 เดือนที่ 37.11 บาทต่อดอลลาร์ (อ่อนค่าสุดนับตั้งแต่ 10 พ.ย. 2565) ในช่วงเช้าวันนี้ โดยเป็นการอ่อนค่าต่อเนื่องหลังปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.94 บาทต่อดอลลาร์
นายพูน พานิชพิบูลย์นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เผยโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทกลับไม่ได้ชะลอลงตามที่ประเมินไว้ก่อนหน้า กดดันโดยธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว
หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง (ทะลุโซนแนวรับที่ประเมินไว้) ซึ่งภาพดังกล่าวก็เกิดขึ้นในช่วงที่ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ต่างปรับตัวขึ้น ทำให้ในวันนี้ เงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าต่อได้ หลังจากที่เงินบาทได้อ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านสำคัญ 36.85 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เงินบาทอ่อนค่าต่อทดสอบโซน 37.15-37.25 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ตามธนาคารกรุงไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ค่าเงินบาท าจอ่อนค่าต่อเนื่องจะอยู่ที่ประมาณ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.90-37.20 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์ในช่วงระหว่างวัน เนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอลงบ้าง และมีโอกาสที่อาจจะเห็นการทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยได้บ้าง หลังดัชนี SET ก็ปรับตัวลงมาใกล้โซนแนวรับสำคัญ
ทั้งนี้ ในระยะสั้น คาดว่าแรงขายบอนด์ระยะยาวของไทยก็อาจยังพอมีอยู่บ้าง จนกว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะพลิกกลับมาย่อตัวลง
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าคาด จะยิ่งหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงต่อได้ ส่งผลให้เงินบาทจะยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อไปในช่วงนี้
ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าทั้งนี้ เงินบาทยังคงทยอยอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย ท่ามกลางความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ฯและการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคงมีท่าทีสนับสนุนโอกาสของการขึ้นดอกเบี้ยและคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการร่วงลงของราคาทองคำในตลาดโลกด้วยเช่นกัน
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดไว้ที่ 36.90 - 37.15 บาทต่อดอลลาร์
ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์สกุลเงินในภูมิภาค ปัจจัยในประเทศ อาทิ รายละเอียดของมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของรัฐบาล ตลอดจนตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ
นายพูน พานิชพิบูลย์นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เผยโมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทกลับไม่ได้ชะลอลงตามที่ประเมินไว้ก่อนหน้า กดดันโดยธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว
หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงต่อเนื่อง (ทะลุโซนแนวรับที่ประเมินไว้) ซึ่งภาพดังกล่าวก็เกิดขึ้นในช่วงที่ทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ต่างปรับตัวขึ้น ทำให้ในวันนี้ เงินบาทยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่าต่อได้ หลังจากที่เงินบาทได้อ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านสำคัญ 36.85 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เงินบาทอ่อนค่าต่อทดสอบโซน 37.15-37.25 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ตามธนาคารกรุงไทยยังคงมุมมองเดิมว่า ค่าเงินบาท าจอ่อนค่าต่อเนื่องจะอยู่ที่ประมาณ 37.50 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.90-37.20 บาทต่อดอลลาร์
อย่างไรก็ดี ควรจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์ในช่วงระหว่างวัน เนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทยจากนักลงทุนต่างชาติเริ่มชะลอลงบ้าง และมีโอกาสที่อาจจะเห็นการทยอยกลับเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยได้บ้าง หลังดัชนี SET ก็ปรับตัวลงมาใกล้โซนแนวรับสำคัญ
ทั้งนี้ ในระยะสั้น คาดว่าแรงขายบอนด์ระยะยาวของไทยก็อาจยังพอมีอยู่บ้าง จนกว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะพลิกกลับมาย่อตัวลง
รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าคาด จะยิ่งหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ซึ่งอาจทำให้ราคาทองคำปรับตัวลงต่อได้ ส่งผลให้เงินบาทจะยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อไปในช่วงนี้
ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าทั้งนี้ เงินบาทยังคงทยอยอ่อนค่าลงเช่นเดียวกับสกุลเงินอื่น ๆ ในเอเชีย ท่ามกลางความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์ฯและการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดยังคงมีท่าทีสนับสนุนโอกาสของการขึ้นดอกเบี้ยและคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ เงินบาทยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากการร่วงลงของราคาทองคำในตลาดโลกด้วยเช่นกัน
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดไว้ที่ 36.90 - 37.15 บาทต่อดอลลาร์
ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์สกุลเงินในภูมิภาค ปัจจัยในประเทศ อาทิ รายละเอียดของมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของรัฐบาล ตลอดจนตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือน ส.ค. ของสหรัฐฯ