12 ตุลาคม 2566
557
ทางออก เงินดิจิทัล 10,000 บาท อาจไม่แจกคนรวย !
หลังจากมีเสียงสะท้อนจากนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เอกชน รวมถึงประชาชน อย่าง ต่อเนื่อง เกี่ยวกับนโยบายการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล ที่มองว่าอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า แม้ในช่วงแรกของการรณรงค์แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะต้องแจกให้กับทุกคน แต่เมื่อมีเสียงสะท้อนมาในฐานะรัฐบาลจำเป็นต้องรับฟังและพิจารณา
สุดท้ายการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการชุดใหญ่ที่จะมีลงมติ โดยอาจจะมีตัวเลือกให้กับคณะกรรมการในการตัดสินใจ โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นและการปรับแก้อยู่
นายจุลพันธ์ ระบุว่าการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะไม่แบ่งจ่าย เหมือนนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาล เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน เป็นต้น เพราะจะไม่กระชากเม็ดเงินในระบบ และการผลิต
ดังนั้น จำเป็นต้องจ่ายทีเดียวเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการกระตุกตัว ให้คนกล้าลงทุน ประกอบอาชีพ สร้างการผลิตขึ้นมา ให้การบริโภคที่เกิดขึ้นรองรับการผลิตเหล่านั้น แล้วมันจะหมุนตัวต่อขึ้นไปเป็นขั้นบันได
ประเด็นความกังวลเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ทั้งหมดจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการ เพื่อให้มีการพิจารณาปรับโครงสร้าง เงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ และอาจยกเว้นคนที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งอยู่ระหว่างการหาคำตอบว่าจำนวนเงินที่จะได้รับ และจำนวนคนที่จะไม่ได้รับเป็นอย่างไร
เนื่องจากต้องพิจารณาหาตัวเลข เกณฑ์การวัดความรวย อาจดูเรื่องยอดเงินในบัญชี หรือตรวจสอบรายรับต่อเดือน ที่สำคัญต้องเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ได้ด้วย
ที่สำคัญเป้าหมายของการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท คือการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่การช่วยเหลือ
ฉะนั้นการลดจำนวนคนที่จะได้รับต้องไม่มีผลกระทบต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังและพิจารณาอยู่ ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ “โดยอาจมีความเป็นไปได้ในการยกเว้นกลุ่มคนมีฐานะรวย” นายจุลพันธ์ ระบุ
ล่าสุด นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า แม้ในช่วงแรกของการรณรงค์แจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะต้องแจกให้กับทุกคน แต่เมื่อมีเสียงสะท้อนมาในฐานะรัฐบาลจำเป็นต้องรับฟังและพิจารณา
สุดท้ายการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคณะกรรมการชุดใหญ่ที่จะมีลงมติ โดยอาจจะมีตัวเลือกให้กับคณะกรรมการในการตัดสินใจ โดยขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความเห็นและการปรับแก้อยู่
นายจุลพันธ์ ระบุว่าการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะไม่แบ่งจ่าย เหมือนนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาล เช่น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน เป็นต้น เพราะจะไม่กระชากเม็ดเงินในระบบ และการผลิต
ดังนั้น จำเป็นต้องจ่ายทีเดียวเพื่อให้เศรษฐกิจเกิดการกระตุกตัว ให้คนกล้าลงทุน ประกอบอาชีพ สร้างการผลิตขึ้นมา ให้การบริโภคที่เกิดขึ้นรองรับการผลิตเหล่านั้น แล้วมันจะหมุนตัวต่อขึ้นไปเป็นขั้นบันได
ประเด็นความกังวลเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ทั้งหมดจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการ เพื่อให้มีการพิจารณาปรับโครงสร้าง เงื่อนไขและรายละเอียดต่างๆ และอาจยกเว้นคนที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งอยู่ระหว่างการหาคำตอบว่าจำนวนเงินที่จะได้รับ และจำนวนคนที่จะไม่ได้รับเป็นอย่างไร
เนื่องจากต้องพิจารณาหาตัวเลข เกณฑ์การวัดความรวย อาจดูเรื่องยอดเงินในบัญชี หรือตรวจสอบรายรับต่อเดือน ที่สำคัญต้องเป็นตัวเลขที่พิสูจน์ได้ด้วย
ที่สำคัญเป้าหมายของการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท คือการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ใช่การช่วยเหลือ
ฉะนั้นการลดจำนวนคนที่จะได้รับต้องไม่มีผลกระทบต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังและพิจารณาอยู่ ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ “โดยอาจมีความเป็นไปได้ในการยกเว้นกลุ่มคนมีฐานะรวย” นายจุลพันธ์ ระบุ