02 พฤศจิกายน 2566
589
หุ้น EV ราคาพุ่งหลังบอร์ด EV ไฟเขียวมาตรการ EV 3.5 ผ่านฉลุย
บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง (BLS) เผยตามที่ประชุมบอร์ด EV ได้เห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2567-2570 เพื่อผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค แม้ว่ารัฐจะให้เงินอุดหนุนน้อยลง แต่จะมามุ่งเน้นการกระตุ้นการผลิตภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น
การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เมื่อ 1 พ.ย. 66 มีมติมาตรการอุดหนุนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าดังนี้
กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000-50,000 บาท/คัน
กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน
กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 5,000-10,000 บาท/คัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567
เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 ยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567
BLS ประเมินหุ้นที่จะได้ประโยชน์คือ
1.กลุ่มดีลเลอร์ เพราะว่าในงานมอเตอร์โชว์น่าจะเห็นยอดรถ EV กลับมาคึกคักต่อเนื่อง จากการได้รับการกระตุ้นต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ซัสโก้ (SUSCO), บมจ.คอมเซเว่น (COM7), บมจ.อิปิโก ไฮเทค (AH)
รวมไปถึงหุ้นที่ได้รับ Sentiment เชิงบวกอย่าง บมจ.มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) (MGC) ถึงแม้ว่าราคารถของแบรนด์ BMW จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท แต่คงจะหนุนให้ภาพรถ EV น่าจะได้รับการกระตุ้นต่อเนื่อง
2.กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จะได้ประโยชน์เฟสแรกกับการส่งเสริมนโยบายช่วงนี้ เพราะถ้าขายช่วงนี้ก็จะต้องผลิตในอนาคตอยู่ดี จึงเชื่อว่าธุรกิจต้องมีการมองหาที่ดินไว้ก่อน ซึ่งจะเห็นทั้ง BYD และฉางอัน ที่มาซื้อที่ดินของ บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA)
ส่วนเฟสสองของการกระตุ้นการผลิตในประเทศ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีหน้าและปีถัด ๆ ไป จะเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากตั้งเงื่อนไขกระตุ้นการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 หรือนำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ภายในปี 2570
3.กลุ่มซัพพลายเชนในประเทศ ก็จะได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ อาทิ
ชิ้นส่วนยานยนต์อย่าง บมจ.สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT), บมจ.อิปิโก ไฮเทค (AH) โดยชัดสุดน่าจะเป็น AH เพราะว่ามีออร์เดอร์รถEV เช่น VinFast, Proton เข้ามาอยู่แล้ว จึงน่าจะได้ประโยชน์จากซัพพลายเชนตรงนี้
กลุ่มผลิตแบตเตอรี่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เพราะว่าจะมีมาตรการส่วนหนึ่งที่มีการกำหนดไว้ว่าต้องใช้สัดส่วนในประเทศเท่าไร
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหลายบริษัทก็ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับรถอีวีโดยเฉพาะด้วย และบางบริษัทก็ใช้ได้ทั้งรถอีวีและรถยนต์สันดาป (ICE)
การประชุมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เมื่อ 1 พ.ย. 66 มีมติมาตรการอุดหนุนธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าดังนี้
กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000-50,000 บาท/คัน
กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท/คัน
กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 5,000-10,000 บาท/คัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ให้ขยายเวลาเป็นต้องจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567
เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2566 ยื่นจดทะเบียนได้ทันภายในเดือนมกราคม 2567
BLS ประเมินหุ้นที่จะได้ประโยชน์คือ
1.กลุ่มดีลเลอร์ เพราะว่าในงานมอเตอร์โชว์น่าจะเห็นยอดรถ EV กลับมาคึกคักต่อเนื่อง จากการได้รับการกระตุ้นต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ซัสโก้ (SUSCO), บมจ.คอมเซเว่น (COM7), บมจ.อิปิโก ไฮเทค (AH)
รวมไปถึงหุ้นที่ได้รับ Sentiment เชิงบวกอย่าง บมจ.มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) (MGC) ถึงแม้ว่าราคารถของแบรนด์ BMW จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ได้รับมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท แต่คงจะหนุนให้ภาพรถ EV น่าจะได้รับการกระตุ้นต่อเนื่อง
2.กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จะได้ประโยชน์เฟสแรกกับการส่งเสริมนโยบายช่วงนี้ เพราะถ้าขายช่วงนี้ก็จะต้องผลิตในอนาคตอยู่ดี จึงเชื่อว่าธุรกิจต้องมีการมองหาที่ดินไว้ก่อน ซึ่งจะเห็นทั้ง BYD และฉางอัน ที่มาซื้อที่ดินของ บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA)
ส่วนเฟสสองของการกระตุ้นการผลิตในประเทศ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ปีหน้าและปีถัด ๆ ไป จะเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากตั้งเงื่อนไขกระตุ้นการลงทุนในประเทศ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนผลิตเพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 หรือนำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน และจะเพิ่มอัตราส่วนเป็น 1 : 3 ภายในปี 2570
3.กลุ่มซัพพลายเชนในประเทศ ก็จะได้ประโยชน์จากประเด็นนี้ อาทิ
ชิ้นส่วนยานยนต์อย่าง บมจ.สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT), บมจ.อิปิโก ไฮเทค (AH) โดยชัดสุดน่าจะเป็น AH เพราะว่ามีออร์เดอร์รถEV เช่น VinFast, Proton เข้ามาอยู่แล้ว จึงน่าจะได้ประโยชน์จากซัพพลายเชนตรงนี้
กลุ่มผลิตแบตเตอรี่ บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) และ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) เพราะว่าจะมีมาตรการส่วนหนึ่งที่มีการกำหนดไว้ว่าต้องใช้สัดส่วนในประเทศเท่าไร
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหลายบริษัทก็ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับรถอีวีโดยเฉพาะด้วย และบางบริษัทก็ใช้ได้ทั้งรถอีวีและรถยนต์สันดาป (ICE)