06 พฤศจิกายน 2566
1,034
สูตรปั้นพอร์ต ‘ปลอดภัย’ ในยามวิกฤต
ทุกครั้งที่มีความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างรุนแรง มักส่งผลต่อตลาดหุ้นปรับลดลงอย่างหนักเช่นกัน วิกฤตการณ์สงครามในครั้งนี้ จะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยและหุ้นนอกอย่างไร จัดพอร์ตแบบไหนปลอดภัย ในยามวิกฤต
คุณวิน พรหมแพทย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากย้อนเวลาไปในอดีต เมื่อเกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ก็เกิดผลกระทบขึ้นกับตลาดหุ้นทั่วโลก
จากสถิติ S&P500 เหตุการณ์ที่หุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากที่สุด คือเหตุการณ์ Pearl Habor ในปี ค.ศ.1941 ในเวลานั้นตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงรุนแรงมากถึง 20% ใช้เวลาประมาณ 1 ปีกว่าจะกลับมาจุดเดิม นอกจากกรณีของ Pearl Habor เหตุการณ์อื่นส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่มาก เฉลี่ยตลาดลดลง 6-8% และใช้เวลาเพียง 2-4 สัปดาห์ ก็กลับมาจุดเดิมได้ ที่เป็นอย่างนี้เพราะ Pearl Habor เป็นเหตุการณ์เดียวที่เกิดขึ้นที่สหรัฐฯโดยตรง เหตุการณ์อื่นไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา กระทบสหรัฐฯ ทางอ้อม ตลาดจึงไม่ค่อยกระทบมากนัก ถ้าเทียบกันในประวัติศาสตร์ 100 ปี ตลาดหุ้นจะได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจมากกว่าเหตุการณ์ความขัดแย้งและสงคราม
“ในปีนี้ ตลาดหุ้นไทยก็ได้รับผลกระทบจากภาวะสงครามเช่นกัน ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้น นักลงทุนให้ความสนใจเรื่อง Yield มากกว่า” คุณวิน ระบุ
มีช่วงที่ตราสารหนี้ทั่วโลก โดยเฉพาะ Bond Yield สหรัฐฯ 10 ปี แตะที่ 5% ซึ่งเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ให้ผลตอบแทนที่ 5% ถือว่าน่าสนใจ Yield ลงได้ประโยชน์ต่อที่หนึ่งคือ Carry สูง ต่อที่สองคือได้กำไรจากราคาพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น
จังหวะตลาดที่ปั่นป่วน จากวิกฤตต่าง ๆ ถ้านักลงทุนมองไปข้างหน้า จะเห็นโอกาสที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เป็น Soft Landing ถึงเวลานั้น Yield จะลง นักลงทุนจะได้ประโยชน์ คุณวิน กล่าว
จัดพอร์ตให้น้ำหนักการลงทุนอย่างไร ?
บล.กรุงศรีพัฒนสิน แนะนำ Over Weight ตราสารหนี้ทั่วโลก เป็นจังหวะที่ดี ควรเข้าลงทุน โดยเฉพาะ Bond Yield ของภาคเอกชนในระดับ Investment Grade ขึ้นไปให้ผลตอบแทนที่ 6-7% ดังนั้นการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศคุณภาพสูง ซึ่งใช้ระยะเวลาลงทุน 2-3 ปี Yield 6-8%
ในปีหน้าก็มีลุ้นว่า Yield ที่ได้ที่เป็น Carry กับราคาที่เพิ่มขึ้น หรือ Capital Gain ผลตอบแทนโดยรวมเกิน 10% หรือเป็นตัวเลขสองหลัก ซึ่งพาร์ทเนอร์ คือ PIMCO บอกว่า เมื่อย้อนดูอดีต ทุกครั้งที่ Yield พุ่งขึ้นเราควรลงทุนในตราสารหนี้โลก ในช่วงระยะเวลา 3-5 ปี
หุ้นไทยร่วงหนัก หลุดระดับ 1,400 จุด ใกล้ Bottom หรือยัง เราควรทำอย่างไร ?
ต้นปี 2566 ถึงปลายเดือนตุลาคม มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นไทย ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ออกจากตลาดตราสารหนี้ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท รวมสองตลาด เงินทุนไหลออกราว 3 แสนล้านบาท
ความหวังของตลาดหุ้นไทยคือเงินบาทกลับมาแข็งค่า ต่างชาติกลับมาลงทุนมากขึ้น และในช่วงนี้มีสัญญาณตราสารหนี้ไทยเริ่มกลับมามีความหวัง ถ้าเงินบาทแข็งค่า
มุมมองอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการบริโภคภายในประเทศ เช่น ค้าปลีก, ท่องเที่ยว, สื่อสาร-เทคโนโลยี (AI, Transformstion) ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ถูกเทขายอย่างหนัก รวมทั้งหุ้นไทย
อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงาน ก็น่าสนใจ เพราะเป็น Resilience และราคาน้ำมันถูกลงในช่วงสั้น ๆ แต่ก็จะไปต่อได้ จากความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น หุ้นปันผลในกลุ่มพลังงาน ก็น่าสนใจเช่นกัน
การจัดพอร์ตลงทุน
บล.กรุงศรีพัฒนสิน แนะนำลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก เลือก KF-CSINCOM ของ PIMCO โดยเป็นกองทุนที่ลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีคุณภาพดี อายุไม่ยาวมาก แต่เรารับสองต่อ ต่อแรกคือ Carry ได้ดอกเบี้ยที่สูงมาก และต่อที่สองคือ หากว่าเศรษฐกิจโลกถดถอย ก็มีลุ้นราคาตราสารหนี้จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย ผลตอบแทนคาดหวังปีหน้ามีลุ้นเลขสองหลัก
การลงทุนหุ้นทั่วโลก แนะนำ KFGBRAND ค่อนข้างเป็นการลงทุนแบบ Defensive ซึ่งเป็นการลงทุนในบริษัทแบรนด์ชั้นนำที่เรารู้จักกันดี มี Cashflow ที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง ซึ่งแม้ว่าเศรษฐกิจถดถอยบริษัทเหล่านี้จะยังคงอยู่รอดได้ ทั้งสองกองทุน มีโอกาสอยู่รอดท่ามกลางสถานการณ์สงครามและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์