18 มกราคม 2564
8,278
อยากซื้อ “หุ้น OR” สรุปง่ายๆ สำหรับชาวบ้านมีแค่บัญชีออมทรัพย์ก็ซื้อ IPO ได้
Highlight
วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม ที่จะมาถึงนี้ จะเป็นวันที่รายย่อย หรือ ชาวบ้านแบบเรา จะสามารถจองซื้อหุ้น IPO น้องใหม่อย่าง บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) ที่เป็นบริษัทย่อยของ ปตท. ที่ใช้ชื่อเล่นว่า “OR”
ที่ใครๆ ก็คงได้เคยใช้บริการสักครั้ง เพราะเขาบริหารแบรนด์ดังๆ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น
ปั๊ม PTT Station , Cafe Amazon , Texas Chicken , 7-11, Jiffy และอื่นๆ อีก
เริ่มรู้สึกใกล้ตัว ใกล้ชิด ผูกพัน กันขึ้นมาบ้างแล้วหรือยัง ครับ?
โดย OR ได้ช่วงราคาหุ้น IPO ที่ราคาหุ้นละ 16-18 บาท
โดยจะเสนอขายให้กับผู้จองซื้อรายย่อย !!
ในวันที่ 24 ม.ค.64 ถึงเวลา 12.00 น. ของวันที่ 2 ก.พ.64
เพจทันข่าว Today ขอเอามาสรุปให้ฟัง สำหรับใครที่มีแค่บัญชีออมทรัพย์ ไม่ได้มีพอร์ตหุ้น มีสิทธิ์ซื้อหุ้น OR กับเค้าช่องทางไหนได้บ้าง ?
รายย่อยจองหุ้น OR ผ่าน 3 แบงก์
BBL, KBANK และ KTB
ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ
- ไปกรอกเอกสารที่แบงก์
- จองทางออนไลน์
เตรียมตัวจองหุ้นแบบออนไลน์ ตามนี้เลย
- ต้องมีบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารใดก็ได้ 3 แห่งนี้
▪️ ธนาคารกรุงเทพ
▪️ ธนาคารกสิกรไทย
▪️ ธนาคารกรุงไทย - สมัครใช้งานแอพของธนาคารให้เรียบร้อย
▪️ บัญชี กสิกรไทย สมัคร K Plus
▪️ บัญชี กรุงเทพ สมัคร BualuangM
▪️ บัญชี กรุงไทย สมัคร KrungThai Next - วันที่ 24 ม.ค. จึงจะเห็นเมนูการจองหุ้น OR
(เข้าไปตอนนี้ยังไม่เห็นอะไร …ไม่ต้องตกใจ )
▪️ ธนาคารกรุงเทพ ผ่าน App BualuangM ไปที่เมนูการลงทุน
▪️ ธนาคารกสิกรไทย เข้าเว็บไซด์ https://kasikornbank.com/kmyinvest
แล้วไปยืนยันตัวตนที่ App K Plus จากนั้นกลับมาทำรายการต่อที่เว็บไซต์
▪️ ธนาคารกรุงไทย เลือกได้ 2 แบบ จะเข้าเว็บไซด์ https://moneyconnect.krungthai.com/ หรือ ผ่าน App KrungThai Next ก็ได้ แล้วเข้าไปที่เมนู money connect - “เงิน” จองเท่าไหร่โอนเงินเท่านั้น จ่ายที่ราคาสูงสุดคือ 18 บาท ถ้าได้หุ้นไม่ถึงที่เราจอง หรือราคาไม่ถึงราคาสูงสุด ธนาคารจะโอนเงินกลับมาให้
ส่วนพอร์ตหุ้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ เพราะสามารถรับเป็นใบหุ้น หรือฝากไว้กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้เช่นกัน
แล้วถ้าใครอยากจะเจาะลึก รายละเอียด แผนงานในอนาคต สร้างความมั่นใจก่อนตัดสินใจอีกสักรอบ เพราะถือว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งและเติบโตไปพร้อมกับแบรนด์ไทยที่จะก้าวไปเป็นแบรนด์ระดับโลก
พร้อมสร้างคุณค่าให้กับสังคมชุมชน ผ่านการดำเนินธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
ทาง OR เค้ามีจัดโรดโชว์ออนไลน์วันพุธที่ 20 มกราคม 2564 เวลา 14.30-16.00 น. ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook LIVE ‘OR Official’
ข้อมูลเพิ่มเติม https://investor.pttor.com/th
ทันข่าว Today ขอมาสรุปสั้นๆ ว่า PTT OR ทำอะไร?
PTT OR ทำอะไร? แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก
- ธุรกิจ Oil หรือปั๊มน้ำมัน
▪️ หลักๆคือ ขายน้ำมัน
▪️ ก๊าซในปั๊ม เงินที่เราเติมน้ำมันไป คือรายได้ของเขา
▪️ ปัจจุบันมี 2,297 แห่ง กระจายในไทย กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ เมียนมา เป็นแบบ DODO 1859 แห่ง และ COCO 438 แห่ง
(อธิบาย DODO คือ Dealer Owned Dealer Operated หรือขายเฟรนไชน์ให้คนอื่นไปบริหาร และ COCO คือ Company Owned Company Operated หรือบริษัทเป็นเจ้าของและบริหารเอง) - ธุรกิจ Non-oil
▪️ Amazon , Texas Chicken , 7-11, Jiffy เป็นต้น
▪️ Amazon มี 3,440 สาขา (ขายได้ปีละ 270 ล้านแก้ว)
▪️ ร้านอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ 319 สาขา
▪️ ร้านสะดวกซื้อ มี 2,046 สาขา
สร้างรายได้ปีละ 17,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3% ของรายได้รวม แต่กำไร หรือดูจาก EBITDA ได้เท่ากับ 4,200 ล้านบาท หรือ EBITDA margin 24% - ธุรกิจต่างประเทศ
▪️ เป็นการยกปั๊มน้ำมัน PTT ไปเปิดโลกในลาว เมียนมา กัมพูชา ฟิลิปปินส์
รายได้สร้างได้ปีละ 33,000 ลบ. หรือสร้างรายได้ให้ PTTOR ประมาน 5.5% และคิดกำไร EBITDA 700 ล้านบาท (พอๆกับตัวแรกคือ 2% )
เป้าหมายในการขยายปั๊มและสาขาต่อปี ในแผนระยะยาว 2563-2568
- ปั๊มน้ำมัน PTT Station ในไทย 108 สถานี/ปี
- Cafe Amazon 418 แห่ง/ปี
- ร้าน Texas 20 แห่ง/ปี
- ร้านติ่มซำ ฮัว เซง ฮง 19 แห่ง/ปี
- ปั๊มน้ำมัน PTT Station ในต่างประเทศ 64 แห่ง/ปี
การลงทุนอื่นๆ ที่ช่วยพยุงการเติบโตของการใช้พื้นที่ภายในปั๊ม ก็อย่างเช่น
- การเข้าไปลงทุนถือหุ้นใน Flash Express ร้อยละ 9.5 แสดงว่าต่อไปเราอาจจะพบจุดรับ-ส่งของในปั้ม PTT
- การพัฒนาระบบ Cloud เพื่อรับส่งข้อมูลและจับพฤติกรรมของผู้บริโภคในสถานีน้ำมัน
- การเตรียมตัวพัฒนา สถานีชาร์จ EV รถยนต์ไฟฟ้า