07 กุมภาพันธ์ 2567
464
กนง.เสียงแตก คงดอกเบี้ย 2.5% ส่งสัญญาณการลดลงในอนาคต
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมครั้งที่ 1/2567 ผลการประชุมสรุป มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50 % ต่อปี ขณะที่ 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ระบุว่า กนง. อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว
อย่างไรก็ดี กนง. เห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัยวัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
กนง.ยังปรับลด GDP ปี 67 เหลือโต 2.5-3% แรงส่งเริ่มแผ่ว ขณะที่คาดว่าเงินเฟ้อต่ำใกล้ 1% เข้ากรอบช้าลง ส่วนหนึ่งจากอุปสงค์โลกและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด
“มองไปข้างหน้า ปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะเป็นอุปสรรคมากขึ้น หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ” กนง.ระบุ
ปัจจัยที่ต้องติดตามความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงาน ผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุว่า ผลการประชุมเป็นไปตามคาดการณ์ของ Consensus แต่ลดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 24 ลงมาใกล้ 1% (เดิม 2%) และปรับลดเป้าหมายเติบโต 24E GDP เป็น 2.5-3% (จากเดิม 2.8%)
ทั้งนี้คาดว่ากนง. มีโอกาสสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ (จากเดิม กนง.คาด คงดอกเบี้ย ตลอดปี) ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อ หุ้นกลุ่มอิงดอกเบี้ยขาลง เช่น กลุ่ม High Dividend Yield กลุ่มไฟแนนซ์ รวมถึงกลุ่ม Capital Intensive เช่น กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า มติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าในคราวหน้านโยบายหรือการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร เพราะเราเริ่มเห็นแล้วว่ามีกรรมการที่มองว่ามีเหตุผลที่จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นตรงนี้มองว่าเป็นสัญญาณที่ดีในอนาคต
นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน ระบุว่า กนง. อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันยังสอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งเอื้อต่อการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว
อย่างไรก็ดี กนง. เห็นว่ายังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้าจากปัจจัยวัฏจักรเศรษฐกิจและปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
กนง.ยังปรับลด GDP ปี 67 เหลือโต 2.5-3% แรงส่งเริ่มแผ่ว ขณะที่คาดว่าเงินเฟ้อต่ำใกล้ 1% เข้ากรอบช้าลง ส่วนหนึ่งจากอุปสงค์โลกและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด
“มองไปข้างหน้า ปัญหาเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะด้านความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะเป็นอุปสรรคมากขึ้น หากไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ” กนง.ระบุ
ปัจจัยที่ต้องติดตามความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงาน ผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ
บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง ระบุว่า ผลการประชุมเป็นไปตามคาดการณ์ของ Consensus แต่ลดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 24 ลงมาใกล้ 1% (เดิม 2%) และปรับลดเป้าหมายเติบโต 24E GDP เป็น 2.5-3% (จากเดิม 2.8%)
ทั้งนี้คาดว่ากนง. มีโอกาสสูงที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ (จากเดิม กนง.คาด คงดอกเบี้ย ตลอดปี) ซึ่งจะเป็นผลบวกต่อ หุ้นกลุ่มอิงดอกเบี้ยขาลง เช่น กลุ่ม High Dividend Yield กลุ่มไฟแนนซ์ รวมถึงกลุ่ม Capital Intensive เช่น กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า มติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าในคราวหน้านโยบายหรือการตัดสินใจจะเป็นอย่างไร เพราะเราเริ่มเห็นแล้วว่ามีกรรมการที่มองว่ามีเหตุผลที่จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นตรงนี้มองว่าเป็นสัญญาณที่ดีในอนาคต