02 มิถุนายน 2567
236
จีนครองอันดับ 1 ผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลการสํารวจปี 2024 ที่ดําเนินการโดยศูนย์อาเซียนศึกษาที่ ISEAS - Yusof Ishak Institute ผู้ตอบแบบสอบถามถูกขอให้เลือกประเทศ/ภูมิภาคที่พวกเขาเชื่อว่ามีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
ประเทศที่สํารวจทั้งหมดอยู่ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งเป็นสหภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของ 10 รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
🚩 สหรัฐอเมริกา vs จีน
.
ประเทศอาเซียนยกให้ “จีน“ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาค ความคิดเห็นแตกต่างกันมากที่สุดในฟิลิปปินส์ ซึ่งสหรัฐฯ และจีนได้รับการสนับสนุนในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
.
🚩 ลาวและไทย เลือกจีนทรงอิทธิพลมากที่สุดที่ 78% และ 71% ตามลําดับ
.
เมื่อดูในรายละเอียดเพิ่มเติมพบว่า แม้กลุ่มตัวอย่างในไทยจะเชื่อว่าจีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่ออาเซียนมากที่สุด แต่เมื่อถามถึงความยินดี/เป็นกังวล ต่ออิทธิพลนั้นกลับพบว่า ไทยมีสัดส่วนความกังวลมากถึง 80.3% เมื่อเทียบกับความยินดีที่ 19.7% ซึ่งสอดคล้องกับลาวที่สัดส่วน 72.7% และ 22.6% ตามลำดับเช่นกัน
.
🚩 เวลาและสถานการณ์เปลี่ยน มุมมองอาเซียนที่มีต่อสหรัฐฯและจีนก็เปลี่ยนไป
.
รายงานดังกล่าว ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจกับคำถามที่ว่า “หากถูกบีบให้ต้องเลือกข้างระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเลือกใคร” โดย 50.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกจีน และ 49.5% เลือกสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการทำรายงานประจำปีดังกล่าวที่จีนเฉือนชนะสหรัฐจากคำถามเดียวกันนี้
.
ผลสำรวจดังกล่าวนี้จัดทำระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ. 2567 ผลลัพธ์ในรอบนี้ในบางมุมมองเปลี่ยนไปจากปีก่อนหน้ามาก จากที่มีผู้เลือกสหรัฐฯ ถึง 61.1% และเลือกจีนเพียง 38.9% เท่านั้น
.
🚩 นโยบายด้านการลงทุนของจีนแผ่อิทธิพลเหนือในอาเซียน
.
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนเลือกหันหาจีนมากขึ้น มาจากนโยบายขนาดใหญ่ โครงการลงทุน และข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาคนี้ เช่น โครงการสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) รวมทั้งจีนยังมีความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลง The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ทำให้จีนยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคนี้ยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ ไทยมีการเปิดเผยหรือแสดงถึงอิทธิพลจีนอยู่ที่ 70% มีความกดดันจากประเทศจีน 23% และได้รับผลกระทบจากจีน 52%
.
🚩 สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพล 4 ด้านในอาเซียนตั้งแต่ปี 61
.
นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับ “ภาพรวมมหาอำนาจเอเชีย: จีนและสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในปี 2566 ของสถาบันโลวี (Lowy Institute) กลุ่มคลังสมองออสเตรเลียพบว่า ตั้งแต่ปี 2561 สหรัฐสูญเสียอิทธิพลสี่ด้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับจีนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เครือข่ายกลาโหม อิทธิพลทางการทูต และอิทธิพลทางวัฒนธรรม โดยในปีดังกล่าวจีนมีอิทธิพลนำสหรัฐในสัดส่วน 52 ต่อ 48 ครั้นถึงปี 2565 จีนนำต่อที่ 54 ต่อ 46
.
ที่มา :
https://posts.voronoiapp.com/economy/Survey-China-is-the-Biggest-Economic-Player-in-Southeast-Asia--1130
BBC
.
ประเทศที่สํารวจทั้งหมดอยู่ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งเป็นสหภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของ 10 รัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
🚩 สหรัฐอเมริกา vs จีน
.
ประเทศอาเซียนยกให้ “จีน“ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาอํานาจทางเศรษฐกิจที่มีอิทธิพลมากที่สุดในภูมิภาค ความคิดเห็นแตกต่างกันมากที่สุดในฟิลิปปินส์ ซึ่งสหรัฐฯ และจีนได้รับการสนับสนุนในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน
.
🚩 ลาวและไทย เลือกจีนทรงอิทธิพลมากที่สุดที่ 78% และ 71% ตามลําดับ
.
เมื่อดูในรายละเอียดเพิ่มเติมพบว่า แม้กลุ่มตัวอย่างในไทยจะเชื่อว่าจีนมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจต่ออาเซียนมากที่สุด แต่เมื่อถามถึงความยินดี/เป็นกังวล ต่ออิทธิพลนั้นกลับพบว่า ไทยมีสัดส่วนความกังวลมากถึง 80.3% เมื่อเทียบกับความยินดีที่ 19.7% ซึ่งสอดคล้องกับลาวที่สัดส่วน 72.7% และ 22.6% ตามลำดับเช่นกัน
.
🚩 เวลาและสถานการณ์เปลี่ยน มุมมองอาเซียนที่มีต่อสหรัฐฯและจีนก็เปลี่ยนไป
.
รายงานดังกล่าว ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจกับคำถามที่ว่า “หากถูกบีบให้ต้องเลือกข้างระหว่างจีนและสหรัฐฯ จะเลือกใคร” โดย 50.5% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกจีน และ 49.5% เลือกสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มมีการทำรายงานประจำปีดังกล่าวที่จีนเฉือนชนะสหรัฐจากคำถามเดียวกันนี้
.
ผลสำรวจดังกล่าวนี้จัดทำระหว่างเดือน ม.ค.-ก.พ. 2567 ผลลัพธ์ในรอบนี้ในบางมุมมองเปลี่ยนไปจากปีก่อนหน้ามาก จากที่มีผู้เลือกสหรัฐฯ ถึง 61.1% และเลือกจีนเพียง 38.9% เท่านั้น
.
🚩 นโยบายด้านการลงทุนของจีนแผ่อิทธิพลเหนือในอาเซียน
.
โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนเลือกหันหาจีนมากขึ้น มาจากนโยบายขนาดใหญ่ โครงการลงทุน และข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาคนี้ เช่น โครงการสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) รวมทั้งจีนยังมีความสนใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลง The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ทำให้จีนยิ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคนี้ยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ ไทยมีการเปิดเผยหรือแสดงถึงอิทธิพลจีนอยู่ที่ 70% มีความกดดันจากประเทศจีน 23% และได้รับผลกระทบจากจีน 52%
.
🚩 สหรัฐฯ สูญเสียอิทธิพล 4 ด้านในอาเซียนตั้งแต่ปี 61
.
นอกจากนี้ยังมีรายงานเกี่ยวกับ “ภาพรวมมหาอำนาจเอเชีย: จีนและสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ในปี 2566 ของสถาบันโลวี (Lowy Institute) กลุ่มคลังสมองออสเตรเลียพบว่า ตั้งแต่ปี 2561 สหรัฐสูญเสียอิทธิพลสี่ด้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับจีนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เครือข่ายกลาโหม อิทธิพลทางการทูต และอิทธิพลทางวัฒนธรรม โดยในปีดังกล่าวจีนมีอิทธิพลนำสหรัฐในสัดส่วน 52 ต่อ 48 ครั้นถึงปี 2565 จีนนำต่อที่ 54 ต่อ 46
.
ที่มา :
https://posts.voronoiapp.com/economy/Survey-China-is-the-Biggest-Economic-Player-in-Southeast-Asia--1130
BBC