20 สิงหาคม 2567
340
คาด กนง. คงดอกเบี้ยที่ 2.50% ในการประชุม 21 ส.ค.นี้
🚩 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธที่ 21 ส.ค.67 นี้ เพื่อกำหนดดอกเบี้ยนโยบาย จะมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เนื่องจาก กนง. ส่งสัญญาณในการประชุมรอบที่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพขยายตัวต่ำลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ำหนักว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ แต่ก็มองความเป็นไปได้ที่ กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในไตรมาส 4/2567 มีสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่เคยคาดไว้
🚩 ทางด้าน ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ ระบุตรงกันว่าการประชุม กนง. รอบนี้น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% เช่นเดิม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมจะยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว แต่เงินเฟ้อมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าช่วงปลายปีนี้จะกลับเข้าสู่เป้าที่ระดับ 1%
ทั้งนี้ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 /2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 19 ส.ค.67 อยู่ที่ 2.3% ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.4-2.5% ขณะที่โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ 1.6%
ทั้งนี้หากดูด้านเสถียรภาพระบบการเงิน สินเชื่อครัวเรือนปัจจุบันอยู่ที่ 91% ต่อจีดีพี ซึ่งจะเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตสินเชื่อปีนี้ไม่เติบโตมากนัก จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 3% เติบโตกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้เล็กน้อย
ปัจจุบันการคาดการณ์สินเชื่อจะเติบโตได้เพียง 1% เท่านั้น ซึ่งกลับมาหดตัว ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ ดังนั้นการลดดอกเบี้ย อาจไม่ได้ช่วยให้สินเชื่อกลับมาเติบโตมากขึ้น
🚩 Bloomberg รายงานว่า เทรดเดอร์ต่างพากันจับตาผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 21 ส.ค.นี้ โดยคาดว่ากนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐที่ปรับตัวแคบลง อันเนื่องมาจากความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นั้น อาจจะเป็นปัจจัย.หนุนเงินบาท
.
https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-08-18/political-turmoil-threatens-baht-resurgence-as-traders-await-bot/
ทั้งนี้เนื่องจาก กนง. ส่งสัญญาณในการประชุมรอบที่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้น ขณะที่นโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพขยายตัวต่ำลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังคงให้น้ำหนักว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ แต่ก็มองความเป็นไปได้ที่ กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในไตรมาส 4/2567 มีสูงขึ้น เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่เคยคาดไว้
🚩 ทางด้าน ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ อินโนเวสท์ ระบุตรงกันว่าการประชุม กนง. รอบนี้น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% เช่นเดิม แม้ภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวมจะยังอยู่ในทิศทางชะลอตัว แต่เงินเฟ้อมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น และคาดว่าช่วงปลายปีนี้จะกลับเข้าสู่เป้าที่ระดับ 1%
ทั้งนี้ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 /2567 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์ฯ) ประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ 19 ส.ค.67 อยู่ที่ 2.3% ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 2.4-2.5% ขณะที่โดยรวมเศรษฐกิจไทยยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ 1.6%
ทั้งนี้หากดูด้านเสถียรภาพระบบการเงิน สินเชื่อครัวเรือนปัจจุบันอยู่ที่ 91% ต่อจีดีพี ซึ่งจะเป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตสินเชื่อปีนี้ไม่เติบโตมากนัก จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ราว 3% เติบโตกว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้เล็กน้อย
ปัจจุบันการคาดการณ์สินเชื่อจะเติบโตได้เพียง 1% เท่านั้น ซึ่งกลับมาหดตัว ทั้งสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ ดังนั้นการลดดอกเบี้ย อาจไม่ได้ช่วยให้สินเชื่อกลับมาเติบโตมากขึ้น
🚩 Bloomberg รายงานว่า เทรดเดอร์ต่างพากันจับตาผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ 21 ส.ค.นี้ โดยคาดว่ากนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยระหว่างไทยและสหรัฐที่ปรับตัวแคบลง อันเนื่องมาจากความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.นั้น อาจจะเป็นปัจจัย.หนุนเงินบาท
.
https://www.bloomberg.com/news/articles/2024-08-18/political-turmoil-threatens-baht-resurgence-as-traders-await-bot/