21 สิงหาคม 2567
246
ปตท.จ่อดัน อินโนบิก เข้าตลาดหุ้น มุ่งเดินหน้าหาพาร์ทเนอร์
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เผยถึงแผนกลยุทธ์ธุรกิจใหม่ของกลุ่ม ปตท. ว่า มีแผนในการหาพาร์ทเนอร์ร่วมทุนบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด เพื่อต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับยา และไลฟ์สไตล์ โดยมีความเป็นไปได้จะนำบริษัทเข้าสู่การระดมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) หรือไอพีโอ (IPO) ในอนาคตต่อไป
.
ปัจจุบัน ปตท. มีธุรกิจ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ธุรกิจ Hydrocarbon และธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็นธุรกิจหลักของ ปตท. แม้ทำได้ดี แต่รูปแบบจะเปลี่ยนไป จะทำแบบเดิมไม่ได้ โดยต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
.
โดยธุรกิจ Upstream and Power จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับพาร์ทเนอร์ มีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือโอซีเอ (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
.
"โดย ปตท. มีความสนใจที่จะทำให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่มีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบทางด้านพลังงานที่สำคัญ หากเป็นไปได้ก็ต้องการให้การเจรจาสำเร็จ นำมาแบ่งกันทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ"
.
ด้านธุรกิจ Downstream ต้องปรับตัว ร่วมกับพาร์ทเนอร์ ขณะที่ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้นจะมุ่งหน้าเป็น Mobility Partner ของคนไทย รักษาการเป็นผู้นำตลาด
.
ขณะที่ธุรกิจ Non-Hydrocarbon จะประเมิน 2 มุม ได้แก่ 1.ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ 2.ต้องมีจุดแข็ง ต่อยอดได้ และมีพาร์ทเนอร์แข็งแรง
.
🚩 ปตท. มีแนวทางการลงทุนของ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอีวี ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และจะมีการควบรวมแบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. (บริษัท อรุณพลัส จำกัด , บริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด) และใช้ โออาร์ อีโคซิสเท็ม ที่มีอยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์
.
2. ธุรกิจโลจิสติกส์ ปตท. จะเน้นธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก ของ ปตท. และมีความต้องการใช้
.
3. ธุรกิจ ไลฟ์ ไซเอิน ปตท. จะต้องพึ่งพาตัวเองได้ทางการเงิน และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม .
Bloomberg รายงานข่าวว่า ปตท. อยู่ระหว่างการเจรจาหา partners ที่มีศักยภาพในธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมีในการขายหุ้นบางส่วนใน PTTGC, TOP, IRPC เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ภายใต้การแข่งขัน และสภาพตลาดที่ไม่ยังเอื้ออำนวยในปัจจุบัน โดย ปตท. ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ นอกจากนี้มีแผนที่จะขายธุรกิจที่ไม่ได้สร้างกำไรออกไป
.
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส ระบุว่า ปตท. มีการพิจารณาและศึกษาในประเด็นนี้มาตลอด โดยการหา Partner เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นทางเลือกสำหรับธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกกลั่นเท่านั้น แต่เป็นการทบทวนแผน Revisit และมองหาโอกาสต่างๆ ของการลงทุนทั้งหมด
.
โดยที่ Partner สามารถมีได้,หลายรูปแบบ เช่น การร่วมทุน โดยไม่ได้ปิดโอกาสใดๆ ซึ่งการเข้ามาร่วมทุนแล้วต้องช่วยสร้าง value เพิ่มเติมด้วย และที่ผ่านมาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ของกลุ่ม ปตท. ส่วนใหญ่เป็นการจับมือกับ Partner ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น ๆ
.
ที่มา : ปตท., บล.เอเชีย พลัส
.
ปัจจุบัน ปตท. มีธุรกิจ 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ธุรกิจ Hydrocarbon และธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็นธุรกิจหลักของ ปตท. แม้ทำได้ดี แต่รูปแบบจะเปลี่ยนไป จะทำแบบเดิมไม่ได้ โดยต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
.
โดยธุรกิจ Upstream and Power จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับพาร์ทเนอร์ มีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา หรือโอซีเอ (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ
.
"โดย ปตท. มีความสนใจที่จะทำให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเชื่อว่าเป็นพื้นที่ที่มีก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นวัตถุดิบทางด้านพลังงานที่สำคัญ หากเป็นไปได้ก็ต้องการให้การเจรจาสำเร็จ นำมาแบ่งกันทำเพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ประเทศ"
.
ด้านธุรกิจ Downstream ต้องปรับตัว ร่วมกับพาร์ทเนอร์ ขณะที่ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้นจะมุ่งหน้าเป็น Mobility Partner ของคนไทย รักษาการเป็นผู้นำตลาด
.
ขณะที่ธุรกิจ Non-Hydrocarbon จะประเมิน 2 มุม ได้แก่ 1.ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ 2.ต้องมีจุดแข็ง ต่อยอดได้ และมีพาร์ทเนอร์แข็งแรง
.
🚩 ปตท. มีแนวทางการลงทุนของ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอีวี ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า และจะมีการควบรวมแบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. (บริษัท อรุณพลัส จำกัด , บริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด บริษัท อีวี มี พลัส จำกัด) และใช้ โออาร์ อีโคซิสเท็ม ที่มีอยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์
.
2. ธุรกิจโลจิสติกส์ ปตท. จะเน้นธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลัก ของ ปตท. และมีความต้องการใช้
.
3. ธุรกิจ ไลฟ์ ไซเอิน ปตท. จะต้องพึ่งพาตัวเองได้ทางการเงิน และสร้างประโยชน์ให้กับสังคม .
Bloomberg รายงานข่าวว่า ปตท. อยู่ระหว่างการเจรจาหา partners ที่มีศักยภาพในธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมีในการขายหุ้นบางส่วนใน PTTGC, TOP, IRPC เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ภายใต้การแข่งขัน และสภาพตลาดที่ไม่ยังเอื้ออำนวยในปัจจุบัน โดย ปตท. ยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ นอกจากนี้มีแผนที่จะขายธุรกิจที่ไม่ได้สร้างกำไรออกไป
.
บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย พลัส ระบุว่า ปตท. มีการพิจารณาและศึกษาในประเด็นนี้มาตลอด โดยการหา Partner เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เป็นทางเลือกสำหรับธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกกลั่นเท่านั้น แต่เป็นการทบทวนแผน Revisit และมองหาโอกาสต่างๆ ของการลงทุนทั้งหมด
.
โดยที่ Partner สามารถมีได้,หลายรูปแบบ เช่น การร่วมทุน โดยไม่ได้ปิดโอกาสใดๆ ซึ่งการเข้ามาร่วมทุนแล้วต้องช่วยสร้าง value เพิ่มเติมด้วย และที่ผ่านมาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ของกลุ่ม ปตท. ส่วนใหญ่เป็นการจับมือกับ Partner ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้น ๆ
.
ที่มา : ปตท., บล.เอเชีย พลัส