09 พฤศจิกายน 2567
110
คาดลอยกระทงปี 67 เงินสะพัดกว่า 1 หมื่นล้านบาท สูงสุดในรอบ 9 ปี
ทศกาลลอยกระทงไทยปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 15 พ.ย.67 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจประชาชน คาดว่าจะมีความคึกคักสูงสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา
.
แต่ประชาชนยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าจะมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น
.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่ามูลค่าการใช้จ่ายต่อหัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปัจจัยเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังโรคโควิดระบาด
.
ผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงวันลอยกระทงปี67 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ 50.7% ยังคงวางแผนไปลอยกระทงและทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น ทานอาหารนอกบ้าน เที่ยวชมสถานที่จัดงาน ไปซื้อของหรือทำบุญ
.
ผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ระบุว่าจะร่วมงานลอยกระทงปีนี้ ให้เหตุผลว่า เพื่อไปขอพรมากที่สุด รองลงมาคือร่วมสืบสานประเพณี ผ่อนคลายความเครียด และพาลูกหรือครอบครัวไปเที่ยว
.
ส่วนกลุ่มไม่ลอยและอยู่บ้านอยู่ที่ 26.6% เนื่องจากมีหนี้มาก ต้องการพักผ่อน ไม่ชอบคนเยอะ ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และรายได้ไม่แน่นอน
.
โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,449.18 บาทต่อคน มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 2,075.58 บาทต่อคน คิดเป็นมูลค่าใช่จ่ายเฉลี่ยรวม 10,355.18 ล้านบาท ขยายตัว 3.5% มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 10,005 ล้านบาท ขยายตัว 3.3%
.
สำหรับปัจจัยในการเลือกซื้อกระทงส่วนใหญ่ตอบว่า จะเลือกกระทงที่ย่อยสลายง่าย รองลงมาคือ หาซื้อง่าย สวยงาม และราคาถูก แสดงถึงมุมมองการเลือกกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการลดจำนวนกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทงด้วย
.
คาดว่าเทศกาลลอยกระทงปีนี้กลุ่มที่มองว่าจะคึกคักกว่าปีก่อน ให้เหตุผลว่า เพราะเป็นช่วงเทศกาล 40.4% มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 20.8% มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น 15.% มีสถานที่จัดงานเยอะ 14.4% คึกคักเหมือนเดิม 61.3%
.
กลุ่มที่มองว่าคึกคักน้อยกว่าปีก่อน เพราะค่าครองชีพ 51.3% และไม่มีเงินไปเที่ยว 37.4% เงียบเหงา 5.3%
.
ภาคใต้ มองว่าคึกคักมากที่สุด ตามด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง รวม กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ
.
แต่ประชาชนยังคงกังวลเกี่ยวกับภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงคาดว่าจะมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังมากขึ้น
.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่ามูลค่าการใช้จ่ายต่อหัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากปัจจัยเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังโรคโควิดระบาด
.
ผลสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงวันลอยกระทงปี67 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า ส่วนใหญ่ 50.7% ยังคงวางแผนไปลอยกระทงและทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น ทานอาหารนอกบ้าน เที่ยวชมสถานที่จัดงาน ไปซื้อของหรือทำบุญ
.
ผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ระบุว่าจะร่วมงานลอยกระทงปีนี้ ให้เหตุผลว่า เพื่อไปขอพรมากที่สุด รองลงมาคือร่วมสืบสานประเพณี ผ่อนคลายความเครียด และพาลูกหรือครอบครัวไปเที่ยว
.
ส่วนกลุ่มไม่ลอยและอยู่บ้านอยู่ที่ 26.6% เนื่องจากมีหนี้มาก ต้องการพักผ่อน ไม่ชอบคนเยอะ ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย และรายได้ไม่แน่นอน
.
โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 2,449.18 บาทต่อคน มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 2,075.58 บาทต่อคน คิดเป็นมูลค่าใช่จ่ายเฉลี่ยรวม 10,355.18 ล้านบาท ขยายตัว 3.5% มากกว่าปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 10,005 ล้านบาท ขยายตัว 3.3%
.
สำหรับปัจจัยในการเลือกซื้อกระทงส่วนใหญ่ตอบว่า จะเลือกกระทงที่ย่อยสลายง่าย รองลงมาคือ หาซื้อง่าย สวยงาม และราคาถูก แสดงถึงมุมมองการเลือกกระทงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการลดจำนวนกระทง 1 ครอบครัว 1 กระทงด้วย
.
คาดว่าเทศกาลลอยกระทงปีนี้กลุ่มที่มองว่าจะคึกคักกว่าปีก่อน ให้เหตุผลว่า เพราะเป็นช่วงเทศกาล 40.4% มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 20.8% มีนักท่องเที่ยวมากขึ้น 15.% มีสถานที่จัดงานเยอะ 14.4% คึกคักเหมือนเดิม 61.3%
.
กลุ่มที่มองว่าคึกคักน้อยกว่าปีก่อน เพราะค่าครองชีพ 51.3% และไม่มีเงินไปเที่ยว 37.4% เงียบเหงา 5.3%
.
ภาคใต้ มองว่าคึกคักมากที่สุด ตามด้วยภาคเหนือ ภาคกลาง รวม กทม. ปริมณฑล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ