ชวนรู้จัก Clubhouse โซเชียลแพลตฟอร์มสุดปัง
Highlight
Clubhouse คืออะไร ?
ความพิเศษอยู่ที่ส่วนไหน ?
ทำไมถึงฮิตไปทั่วบ้านทั่วเมือง ?
แอปคลับเฮาส์ (Clubhouse) ถูกสร้างขึ้นโดย พอล เดวิดสัน และโรฮัน เซธ จากซิลิคอนแวลลีย์ เพิ่งเปิดตัวใช้งานเมื่อเดือนมี.ค. 2563 เชื่อมั้ยว่าเริ่มแรกมีผู้ใช้งานเพียง 1,500 คนเท่านั้น
แต่เมื่อ อีลอน มัสก์ แห่งบริษัท เทสลา ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าชั้นแถวหน้า เข้ามาจัดรายการห้องแชทร่วมกับนายวลาดิเมียร์ หรือ วลาด เทเนฟ ผู้สร้างแอปฯเทรดหุ้น “โรบินฮูด” (Robinhood) เท่านั้นแหละ กลายเป็นการจุดกระแสความฮิตไปทั่วโลก
1. จุดกำเนิดของคลับเฮาส์
แอปพลิเคชัน คลับเฮาส์ เริ่มออกสู่ท้องตลาดผ่านระบบปฏิบัติการ iOS เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงแรกที่เริ่มมีการระบาดของโรคโควิด-19 โดยนิตยสารฟอร์บส์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว บริษัทของนักปั้นสตาร์ทอัพ แอนเดรเซน โฮโรวิทซ์ (Andreessen Horowitz) ได้ลงทุนกับคลับเฮาส์ไป 12 ล้านดอลลาร์ และตีมูลค่าของบริษัทผู้พัฒนาคลับเฮาส์ว่ามีมูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์
2. คลับเฮาส์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก
หลังจากอีลอน มัสค์ ประธานบริษัทเทสลา ถูกสัมภาษณ์ในห้องกู๊ด ไทม์ (Good Time) ในคลับเฮาส์ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยพูดคุยถึงบริษัทนิวรัลลิงก์ (Neuralink) บริษัทเทคโนโลยีด้านประสาท และการตั้งเป้าพามนุษย์ไปยังดาวอังคารภายในอีกห้าปีครึ่ง และตั้งเป้าให้มีการลงรากปักฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืนบนดาวอังคารในระยะยาว หลังจากนั้น มัสค์ก็เหมือนจะ “ติดใจ” แอปพลิเคชันดังกล่าว โดยต่อมาเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เขาทวีตข้อความว่าเขาจะใช้คลับเฮาส์กับ คานเย เวสต์ ศิลปินเพลงแร็พชื่อดัง
3. Clubhouse คือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีรูปแบบการสนทนาและการสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในชุมชนผ่าน ‘เสียง’ เป็นหลัก
ด้วยความเชื่อของ 2 ผู้ก่อตั้ง โรฮาน เซธ (Rohan Seth) และพอล เดวิสัน (Paul Davison) ว่าเสียงเปรียบเสมือน ‘สื่อกลางที่ดี’ และพิเศษที่สุดในแง่ของการสร้างบทสนทนา โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดกล้อง หรือมานั่งกังวลกับการ Eye Contact และประเด็นความเป็นส่วนตัวของเราที่ไม่ได้อยากจะแชร์ให้คนอื่นรู้ว่าเราทำอะไรที่ไหน แต่งหน้าแต่งตัวอย่างไร และยังทำให้บทสนทนาต่างๆ เป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการพิมพ์ข้อความ
4. แพลตฟอร์มที่เป็นสากล มีคนดังเข้าร่วมมากมาย
ความน่าสนใจหนึ่งของตัวแอพพลิเคชันที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย ก็คือความเป็นสากลของตัวแอพ ที่นอกจากเราจะใช้งานในประเทศของตัวเองได้แล้ว เรายังสามารถเข้าร่วมห้องที่เป็นของต่างประเทศได้ด้วย นั่นจึงทำให้ตัวแอพมีความเป็นสากล ซึ่งในแต่ละกลุ่ม แต่ละความสนใจนั้นก็จะมีผู้ที่มีความรู้ มีความคิด ที่น่าสนใจอยู่ในนั้น ทำให้ผู้ใช้งานได้รับประโยชน์ เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมไอเดียดี ๆ อีกแหล่งหนึ่งเลยก็ว่าได้ แถมการเข้าไปฟังภาษาต่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษนั้น ก็เสมือนว่าเราได้ฝึกทักษะทางด้านภาษา ในด้านการฟังไปด้วยในตัว
5. คลับเฮาส์ยังได้รับความนิยมในจีนเป็นอย่างมาก เพราะประเด็นอ่อนไหว กลุ่มคนที่เข้าร่วม เป็นผู้มีอิทธิพลด้านความคิด
โดยในระยะแรกได้รับความนิยมในบรรดาชาวจีนที่ต้องการพูดคุยถึงประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมือง เช่น การประท้วงในฮ่องกง สถานะของไต้หวัน ค่ายกักกันในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ โดยผู้ใช้คลับเฮาส์ในประเด็นที่เกี่ยวกับจีนมักเป็น “ชนชั้นนำ” เช่น บุคคลในวงการเทคโนโลยี ผู้มีชื่อเสียงในสื่อสังคมออนไลน์ นักเคลื่อนไหว และสื่อสารมวลชน โดยเพียงหนึ่งวันหลังจากที่อีลอน มัสค์ ใช้งานคลับเฮาส์ แอปฯ นี้ก็เป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมของจีนอย่างเวย์ปั๋ว (Weibo)
6. ความ Exclusive ของแพลตฟอร์ม
อีกสิ่งที่คิดว่ามีผลทำให้เกิดความน่าสนใจก็คือ มันทำให้เป็นสิ่งหายาก เพราะว่าดาวน์โหลดได้เฉพาะ App Store รองรับการทำงานได้บน iOS ได้เท่านั้น ซึ่งตอนนี้ผู้ใช้ Android ก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ (แต่อาจจะมีการพัฒนาต่อไปเนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นหรือไม่คงต้องรอติดตาม)
คอนเทนท์ของ Clubhouse ที่ว่าเป็นเสียง แต่ไม่ใช่ เสียงที่บันทึกไว้อย่าง พอดแคสท์ แต่เป็น “รายการสด” สดเท่านั้น ฟังย้อนหลังไม่ได้ ทำให้มันสดใหม่ ทำให้มันดู มีคุณค่าแบบว่า ถ้าพลาดไม่ได้ฟังแล้ว
เปิดวิธีใช้เริ่มใช้งานแบบ Step by Step
1. ลงชื่อ นามสกุล และเบอร์โทรศัพท์ ก่อนรับรหัส กรอกลงเครื่อง เพื่อสร้าง Username
2. รอเพื่อนจาก รายชื่อในโทรศัพท์ของเรา ที่มีบัญชีอยู่แล้ว กดเชิญผ่าน SMS ถึงมีมีสิทธิได้เข้าร่วม ขั้นตอนนี้ อาจจะใช้เวลานานสักหน่อย เพราะ 1 คน จะเชิญได้เพียง 2 คนเท่านั้น หลายคนจึงแคปเอาหน้ายูเซอร์เนม ไปโพสต์ในที่ต่างๆ ให้มีคนเชิญ
3. ฟอลโลว์คนอื่นๆ เพื่อจะได้เห็นว่าสมาชิกในคลับ ได้เปิดห้อง ให้เราเข้าฟังหรือไม่
4. กดเข้าฟังในห้องต่างๆ หากจะพูด ก็สามาถยกมือที่ปุ่มด้านล่างขวา เพื่อขอพูดได้
5. หากไม่ชอบ ก็สามารถกดออกไปอย่างเงียบๆ ในปุ่ม Leave quietly
6. หากไม่อยากเป็นผู้ฟังอย่างเดียว ก็สามารถสร้างห้องขึ้นมาเองได้ โดยกด Start the room และเลือกห้อง มีทั้งเลือกให้เป็นสาธารณะ , เฉพาะผู้ติดตาม หรือแบบปิด เฉพาะผู้ที่ถูกเลือกเท่านั้นได้ฟัง วงหนึ่งจะอยู่ได้มากที่สุด 6,000 คน
ผู้ที่จะใช้ คลับเฮาส์ได้ ต้องเป็นผู้ที่ใช้โทรศัพท์ iPhone เท่านั้น ส่วนสาย Google play อดใจรอกันไปก่อน
ด้วยความที่ผู้คนจะเข้าร่วมได้เมื่อมีพูดเชิญชวนเท่านั้น ทำให้แอปฯ คลับเฮาส์ มีความพิเศษ หรือเป็นความ Exclusive มีความจำเพาะเจาะจงบุคคล เคยมีนักวิเคราะห์ระบุว่า คลับเฮาส์เป็นการผสมผสานระหว่างพอดคาสต์ (podcast) การประชุมออนไลน์ และสื่อโซเชียลมีเดีย
แล้วคุณเคยใช้แอป Clubhouse บ้างแล้วหรือยัง ?