ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ E-Sport เป็นกีฬาอาชีพแล้ว เมื่อ 21 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นที่สนใจในแวดวงคนรุ่นใหม่ไม่น้อย ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นเกมเมอร์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ E-Sport เป็นกีฬาอาชีพแล้ว เมื่อ 21 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นที่สนใจในแวดวงคนรุ่นใหม่ไม่น้อย ที่ใฝ่ฝันอยากเป็นเกมเมอร์
Highlight

วงการกีฬาที่มาแรงที่สุดในโลกยุคดิจิทัล ณ ตอนนี้ และกำลังได้รับความสนใจไม่แพ้วงการฟุตบอล คือ E-Sports ที่ทุกภาคส่วนล้วนจับตามองและเป็นกระแสไปทั่วโลก ล่าสุด ล่าสุดราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ E-Sport เป็นกีฬาอาชีพแล้ว เมื่อ 21 กันยายน จากนี้ไปวงการกีฬาประเภทนี้จะคึกคักเพิ่มขึ้นไปอีก ภาคธุรกิจเริ่มจับตามองหากลยุทธ์การตลาดทางด้านนี้ เพราะยอดผู้ใช้งาน E-Sport สูงถึง 10 ล้านคน


เมื่อพูดถึงวงการกีฬาที่มาแรงที่สุดในโลกยุคดิจิทัล ณ ตอนนี้ และกำลังได้รับความสนใจไม่แพ้วงการฟุตบอล คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากวงการ E-Sports ที่ทุกภาคส่วนล้วนจับตามองและเป็นกระแสไปทั่วโลก

สังเกตได้จากยอดเงินรางวัลของกีฬา E-Sports ที่บางรายการมีมูลค่ารวมเกือบเทียบเท่าการแข่งขันกีฬาดัง ๆ อย่างฟุตบอลโลกไปแล้ว เรียกได้ว่าในระดับโลก E-Sports นั้นกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดลีกอาชีพ นักกีฬาอาชีพ นักพากย์ นักแคสต์เกมอาชีพมากมาย รวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ ในระดับโลกที่เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมดังไม่ต่างจากวงการกีฬาอื่น ๆ

สำหรับในประเทศไทยเอง E-sports เพิ่งได้รับการประกาศรับรองจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้บรรจุเป็นอีกหนึ่งชนิดกีฬา ทำให้เหล่าเกมเมอร์และคนในแวดวง E-Sports ในบ้านเราตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ป่านมา ตัวแทนนักกีฬาอีสปอร์ตไทยคว้าแชมป์การแข่งขัน Arena of Valor World Cup หรือ AWC 2021 หรือการแข่งขันกีฬา อีสปอร์ต ในเกม ROV ที่จัดขึ้นโดย Tencent Games และ Garena เพื่อชิงเงินรางวัล มูลค่ารวมกว่า 15 ล้านบาท โดยร่วมแข่งกัน 8 ชาติ ได้แก่ บราซิล ไต้หวัน เกาหลีใต้ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และไทย มีการถ่ายทอดสดทั่วโลก

โดยปีนี้ ตัวแทนทีมจากประเทศไทยอย่าง Dtac x Talon สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย คว้าแชมป์ไปครอง จากการเอาชนะไต้หวันคว้าเงินรางวัลเกือบ 7 ล้านบาท
ก็เป็นการตอกย้ำว่า ความสามารถเด็กไทย ไม่แพ้ชาติใดในโลกในทุกด้าน

ล่าสุด ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ เมื่อ 21 กันยายน ที่ผ่านมา ให้ "E-Sport" (อีสปอร์ต) เป็นกีฬาอาชีพ พร้อมระบุ จดแจ้งการดำเนินการภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ 

ถึงวันนี้กีฬา E-Sport คือสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ เพราถ้าหาก เราถามเด็กๆ ในยุคนี้ว่า โตขึ้นอยากเป็นะไร?  เชื่อคำตอบส่วนใหญ่คือ “อาชีพเกมเมอร์” หรือนักกีฬา E-sport  แคสเกมส์  และ ยูทูปเปอร์ นี่อาจจะเป็นเพราะว่านับจากเกิดวิกฤตโควิด เด็กๆ ต้องอยู่กับบ้าน ติดจอกันมากขึ้น กิจกรรมหลักนอกจากเวลาเรียนแล้ว มักจะหันเข้าสู่เกมส์กันเป็นส่วนใหญ่

จึงไม่แปลกใจกับอาชีพที่พวกเขาใฝ่ฝันที่จะเป็นในอนาคต เพราะเล็กๆส่วนใหญ่ในยุคนี้มองโลกผ่านจอมือถือกันแทบทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น เพื่อที่จะเข้าใจอาชีพใหม่มาแรงให้มากขึ้นกว่าเดิม มาทำความรู้จักกันดีกว่า แท้จริงแล้ว อาชีพเกมเมอร์ หรือนักกีฬา E-sport คืออาชีพอะไร และทำไม? ถึงสามารถสร้างรายได้หลักล้านได้อย่างไม่น่าเชื่อ

E-sport แท้จริงแล้ว คือ อะไร?

คำอธิบายสั้นๆของคำว่า E-sport คือ การรวมกันระหว่าง ‘การเล่นเกม’ และ ‘การแข่งขันกีฬา’ โดยที่ E-sport มีโครงสร้างเหมือนการจัดการแข่งขันกีฬาทั่วไป คือ มีโปรแกรมการแข่งขัน มีผู้เล่นสองฝั่งทำการแข่งขันกัน ต่างเพียงแค่กีฬาที่นำมาใช้ในการแข่งขัน คือ เกมออนไลน์ นั่นเอง

Matthew Benson CEO จากบริษัท Startup ที่มีชื่อเสียงในวงการ E-sport อย่าง eFuse กล่าวว่า มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่พ่อแม่และคนรุ่นเก่าจะต้องทำความเข้าใจว่า การเล่นเกมไม่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องที่เสียเวลาและไร้สาระเสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนๆนึงตั้งใจฝึกฝนทักษะในการเล่นเกมออนไลน์ ด้วยความมุ่งมั่นสู่การเป็นนักกีฬา E-sport ระดับโลก

และแม้ว่า จะมีเพียง1-2 % ในโลกเท่านั้น ที่จะก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพนักกีฬา E-sport แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เกมเมอร์ที่ไม่สามารถไปถึงจุดนั้นจะไม่มีอนาคตที่มั่นคง เพราะ ในวงการ E-sport เอง ก็ยังมีอาชีพอีกตั้งมากมาย ที่สามารถสร้างรายได้อย่างมั่นคงเช่นกัน อาทิเช่น Marketing และ Financial Analysis ที่มีประสบการณ์ในวงการ E-sport ซึ่งบริษัทผู้พัฒนาเกมออนไลน์ต่างกำลังต้องการตัว เพื่อจะปรับกลยุทธ์ในการผลิตเกมเหนื่อคู่แข่ง เป็นต้น

นักกีฬา E-sport มีรายได้จากช่องทางใดบ้าง? ทำไมจึงกลายเป็นอาชีพสร้างเงินล้าน

1. เงินรางวัลจากการแข่งขัน

E-sport ก็เหมือนกีฬาชนิดอื่นๆ ที่แต่ละโปรแกรมการแข่งขันจะมีเงินรางวัลให้กับผู้ชนะตามลำดับลดหลั่นกันไป โดยเงินรางวัลสูงสุดในโปรแกรมการแข่งขัน E-sport ของอเมริกานั้น มีมูลค่าสูงถึง $200,000 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 6.2 ล้านบาทเลยทีเดียว ส่วนโปรแกรมการแข่งขันระดับนานาชาติในประเทศอื่น ก็มีเงินรางวัลที่สูงมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การจะก้าวไปสู่จุดที่ได้รับการยอมรับในวงการได้นั้น เราจำเป็นจะต้องชนะอย่างน้อยสักโปรแกรมการแข่งขันระดับนานาชาติก่อน เพื่อจะได้รับเชิญเข้าร่วมการแข่งขันในโปรแกรมถัดไปได้ง่ายขึ้น

2. เงินเดือนทั่วไป

ไม่ต้องแปลกใจไป อาชีพเกมเมอร์ และนักกีฬา E-sport ก็สามารถมีรายได้ประจำเหมือนกับอาชีพอื่นเช่นกัน หากอยู่ภายใต้ต้นสังกัดที่ชัดเจน โดยจากการสำรวจของ Esportsearnings.com พบว่า  ปัจจุบัน เกมเมอร์ระดับมืออาชีพมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $1,000 - $5,000 หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 30,000 - 150,000 บาทต่อเดือน และสำหรับเกมเมอร์ตัวท็อปอาจแตะได้มากถึง$15,000 หรือ 450,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งเงินจำนวนนี้ ยังไม่รวมเงินที่จะได้จากกิจกรรมอื่นๆ เช่น สปอนเซอร์ หรือเงินรางวัลเลยด้วยซ้ำ
   
3. โบนัส

นอกจากเงินเดือนที่ได้เป็นประจำแล้ว เกมเมอร์ยังจะได้รับเงินโบนัส โดยเฉพาะเมื่อคว้าชัยชนะในการแข่งขันต่างๆมาได้ เมื่อทีมชนะ พวกเขามักจะได้รับการกล่าวถึงในแวดวงเกมเมอร์อื่น รวมไปถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าให้กับทั้งเกมเมอร์และต้นสังกัดในเชิงธุรกิจได้ดียิ่ง 

4. สปอนเซอร์

ปัจจุบัน มีบริษัทและองค์กรมากมาย ที่มองเห็นโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจของ E-sport และพร้อมจะสนับสนุนเกมเมอร์ เพื่อสร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้าของพวกเขาในตลาดกลุ่มใหม่ สิ่งที่เกมเมอร์ต้องทำ คือ ใช้สินค้าของสปอนเซอร์ ขณะกำลังแข่งขันในสนามหรือที่สาธารณะเท่านั้นเอง และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่า ทุกครั้งที่มีการแข่งขัน เกมเมอร์ทุกคนมักจะมีแจ็คเกตหรือเครื่องประดับบางอย่างที่มาจากสปอนเซอร์ของพวกเขาเสมอ

5. สตรีมมิ่ง

การสตรีมมิ่ง ก็เป็นรายได้อีกช่องทางหนึ่งของเหล่าเกมเมอร์ โดยเกมเมอร์แต่ละคนก็มีวิธีสร้างสรรค์การนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะทดลองเล่นเป็นตัวละครในเกมให้ชม หรือบางคนก็อาจจะถนัดในการทำ Tutorial แต่ไม่ว่าจะสร้างสรรค์งานออกมาในรูปแบบไหน หากมีผู้ติดตามเขามากขึ้น รายได้จากการสตรีมมิ่งก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มชื่อเสียงให้กับเกมเมอร์คนนั้นในวงการอีกทางหนึ่ง

หากต้องการก้าวขึ้นสู่ ‘นักกีฬา E-sport’ ระดับโลก จะต้องพัฒนาตนเองด้านใดบ้าง?

แน่นอนว่า กว่าจะก้าวขึ้นสู่การเป็นนักกีฬา E-sport ระดับโลก หรือแม้ระดับประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย มันต้องอาศัยทั้งประสบการณ์และชั่วโมงบินในการเล่นเกมนั้นๆก่อนลงแข่งขันมาอย่างยาวนาน เพื่อให้สามารถมองกลยุทธ์ของคู่แข่งขาด และพลิกเอาชนะได้ภายในเสี้ยววินาที เพราะฉะนั้น ทักษะที่เหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายควรจะฝึกฝนและหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ได้แก่ ทักษะความแม่นยำในการมองเห็นและการขยับร่างกาย  ทักษะในการตัดสินใจ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะในการพัฒนาตนเอง 

E-Sport กับการเติบโตในประเทศไทย

เสถียร บุญมานันท์ CEO แห่ง Neolution Group ผู้ให้บริการธุรกิจเกมมิ่งแบบครบวงจร กล่าวว่า  ธุรกิจเกมเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ Cashless เร็วที่สุดในยุคนี้ เมื่อก่อนการซื้อ - ขายเกม มักจะซื้อเป็นเกมกล่อง การเติมเงินเกมใช้บัตร การแลกเปลี่ยนไอเทมใช้บัตร ตอนนี้ทุกอย่างทำในออนไลน์หมดแล้ว ซึ่งต่างชาติเขาจะมี Fintech ไว้ซื้อขายเกมโดยเฉพาะ ตอนนี้มีโปรแกรมซื้อเกมออนไลน์ดาวน์โหลดได้เลย เพราะฉะนั้นการเข้ามาของทั้ง Fintech, E-commerce ต่าง ๆ ทำให้วงการ E-Sports เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

“ในมุมมองของผมธุรกิจเกมส์จึงเป็นธุรกิจ cashless เร็วที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ เพราะไม่มีใครใช้เงินสดแล้ว” เสถียร กล่าว

วงการ E-Sports ในไทย กำลังได้รับความสนใจจากแบรนด์ใหญ่ ๆ นอกวงการ

เสถียร กล่าวว่า เพราะผู้บริโภคอยู่ที่ไหนแบรนด์จะไปที่นั่น ตอนนี้คนที่เล่น E-Sports หรือว่าดูเกม ดูแคสต์เกมเหมือนดูฟุตบอล ในประเทศไทยมีคนดูประมาณ 10 ล้านคน  “เราเป็นตลาด Top 20 ของโลก แต่สำหรับต่างประเทศภาพมันชัดเจนแล้วว่า E-Sports นั้นสามารถดึงแบรนด์ใหญ่ ๆ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ได้สำเร็จแล้ว สำหรับในไทยเองน่าจะภายใน 1-2 ปี ข้างหน้านี้ เราจะได้เห็นแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่อยู่นอกวงการไอทีเข้ามาในวงการ E-Sports อย่างแน่นอน”

มุมมองโปรเพลเยอร์

ภาพิมล อิทธิเกษม โปรเพลเยอร์ จากทีม Monori Bacon แห่ง ROV ที่คว้าแชมป์นานาชาติเกม ROV ที่ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า 

รายได้หลัก ๆ เลย  มาจากการสตรีมหรือไลฟ์สด จะได้เงินจากตรงนี้ มีแบรนด์ต่าง ๆ ติดต่อเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้ โดยเฉพาะหลังจากชนะการแข่งขันก็จะทำให้มีคนติดตามผลงานมากขึ้น ส่วนเงินรางวัลที่ได้จากการแข่งก็เหมือนเป็นโบนัสมากกว่า

“อย่างทุกวันนี้ในขณะที่เรายังเรียนอยู่และสตรีมเกมไปด้วย ก็สามารถสร้างรายได้ แต่ตอนนี้ยังไม่ค่อยมั่นคงเท่าไร ถ้ามองในระยะยาว เราก็ต้องพัฒนาตัวเองหาความแปลกใหม่ ทำตัวเองให้เล่นเก่งสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้มีคนติดตามเราอย่างต่อเนื่อง” ภาพิมล กล่าว

ดังนั้นเกมส์ที่สร้างรายได้อย่าง E-Sport ดูเหมือนได้รับความสนใจจากเด็กๆรุ่นใหม่อย่างมากมาย เพราะนอกจากสร้างความบันเทิงแล้วยังสามารถสร้างรายได้ และเป็นอาชีพได้ด้วย 

อ้างอิง : Techsource, Krungsri Society , TutorChula
 

ติดต่อโฆษณา!