9 มิ.ย. เป็นต้นไป สธ. ปลดล็อกกัญชา ประชาชนปลูกได้

9 มิ.ย. เป็นต้นไป สธ. ปลดล็อกกัญชา ประชาชนปลูกได้
Highlight

กระทรวงสาธารณสุขประกาศ เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ซึ่งจะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2% โดยหลักๆ ประชาชนสามารถปลูกได้ไม่ต้องขออนุญาต และนำเข้าได้สารสกัดได้


ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 จะมีผลบังคับใช้ โดยนอกนอกเหนือสารสกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่มีสาร THC เกินร้อยละ 0.2 นั้นไม่ผิดกฎหมาย 

ส่งผลให้สามารถนำส่วนต่างๆ ของพืชกัญชา กัญชง มาพัฒนาและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และสมุนไพรได้ ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของกัญชา กัญชงในประเทศไทย ประชาชนจะสามารถปลูกพืชกัญชา กัญชง เพื่อประโยชน์ในการรักษาและดูแลสุขภาพได้ง่าย ผ่านการจดแจ้ง ส่งผลให้ลดรายจ่ายด้านการรักษาและเพิ่มทางเลือกในการดูแลสุขภาพ

เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ หลายคนมีข้อคำถามมากมายเกี่ยวกับการปลูกและนำเข้ากัญชา กัญชง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางการปลูก นำเข้า และการนำติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตนของ "กัญชง-กัญชา" ภายหลังปลดล็อกพ้นบัญชียาเสพติดในรูปแบบเข้าใจง่ายแบบ ถามมา -ตอบไป ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

20220608-a-01.jpg

ถาม : การปลูก ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด หรือไม่ ?
 
ตอบ : ไม่ต้อง ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 แต่ขอความร่วมมือให้ประชาชนที่ต้องการปลูกกัญชา กัญชง แจ้งข้อมูลผ่านระบบ Application "ปลูกกัญ" ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น

20220608-a-02.jpg

ถาม : การนำเข้าสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง สามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร ?
 
ตอบ : สามารถกระทำได้ โดยการนำเข้าต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายยาเสพติด เนื่องจากสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

20220608-a-03.jpg
 
ถาม : สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์และควบคุมคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของการตรวจสารเสพติดในร่างกายสำหรับใช้เครื่องมือแพทย์ จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หรือไม่และการนำเข้าต้องดำเนินการอย่างไร ?
 
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 แต่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ ดังนั้น การนำเข้าต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์

20220608-a-04.jpg

ถาม : การนำเข้าผลิตภัณฑ์ (Finished product) ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของส่วนต่าง ๆ ของพืชกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด?
 
ตอบ : ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 การนำเข้าจึงไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้งานบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือความมุ่งหมายของผู้ผลิต ดังนี้

  • กรณีอาหาร จัดเป็นอาหารห้ามนำเข้าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 พ.ศ.2564 ที่ออกตามมาตรา 6 (8) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาทถึง 20,000 บาท
     
  • กรณีเครื่องสำอาง จัดเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามนำเข้าตามประกาศฯ ที่ออกตามความในมาตรา 6 (1) ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558
     
  • กรณีการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ

20220608-a-05.jpg

ถาม : การนำเข้าเมล็ดกัญชา กัญชง และส่วนอื่น ๆ ของพืชกัญชา กัญชง เช่น เปลือก ลำต้น ใบ เส้นใย กิ่งก้าน ราก ยอดหรือช่อดอก มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชง ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด

 
ตอบ : ต้องขอรับอนุญาต ดังนี้ 

1. ขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 และ กรณีนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ด้วย 

2. เมื่อได้รับอนุญาตตามข้อ 1  แล้ว หากจะนำพืชกัญชา กัญชง ดังกล่าวมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือ เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารสกัดจากกัญชา กัญชง ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ โดย

  • กรณีนำมาผลิตเป็นอาหาร  ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากจัดเป็นอาหารห้ามนำเข้า
     
  • กรณีนำมาผลิตเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ห้ามนำเข้า

  • กรณีนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ซึ่งหากได้รับอนุญาตให้ผลิตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ก็สามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ติดต่อโฆษณา!