โอเปก พลัส ลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมากที่สุดในรอบ 2 ปี ดันราคาพุ่งอีกรอบ! ชาติตะวันตกมองหนุนรัสเซียสู้ศึกยูเครน
Highlight
โอเปกพลัส กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกมีมติลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 2 ล้าน บาร์เรลต่อวันเมื่อวานนี้ ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับสูงขึ้นทันที 3% ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันอ่อนตัวลงมาต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลมาระยะหนึ่งแล้ว ชาติตะวันตกกล่าวหามติโอเปกพลัสครั้งนี้ว่าเป็นการหนุนรัสเซียให้มีกำลังทางเศรษฐกิจสู้รบต่อกับยูเครน ด้านตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นขานรับราคาน้ำมัน
สมาชิกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน โอเปก พร้อมรัสเซียและประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่น ๆ ตกลงในวันพุธที่จะลดกำลังการผลิตน้ำมันลง 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า เป็นการช่วยพยุงรัสเซียให้มีรายได้เพิ่มเพื่อใช้จ่ายในการทำสงครามกับยูเครน เละเพื่อทำลายโอกาสของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่จะดำเนินการควบคุมราคาพลังงานภายในประเทศ
การปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่น ๆ ยังถูกมองว่า เป็นการเมินความพยายามของผู้นำสหรัฐฯ ที่เพิ่งเดินทางมาเยือนซาอุดิอาระเบียในเดือนกรกฎาคม เพื่อโน้มน้าวให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกยอมคงระดับการผลิตของตนต่อไป
เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาววิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของโอเปกและประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งเรียกรวม ๆ ว่าเป็น กลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) ทันที ขณะที่ นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า เรื่องนี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยในอนาคตอันใกล้ได้
ราคาน้ำมันโลกนั้นปรับลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ก่อนจะเริ่มปรับขึ้นอีกครั้งเมื่อไม่กี่วันก่อน เพราะความคาดหวังว่า โอเปก จะปรับลดกำลังการผลิต
เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติประจำทำเนียบขาว และ ไบรอัน ดีส ผู้อำนวยการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า ปธน.ไบเดน “รู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจอันไม่สุขุมของ โอเปกพลัส ในการปรับลดโควต้าการผลิต ขณะที่ เศรษฐกิจโลกยังคงต้องเผชิญกับผลกระทบด้านลบของการรุกรานยูเครนโดย ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ”
ซัลลิแวนและดีส ยังกล่าวด้วยว่า “ในช่วงเวลาที่การรักษาไว้ซึ่งอุปทานพลังงานโลกมีความสำคัญอย่างยิ่ง การตัดสินใจเช่นนั้นจะส่งผลกระทบด้านลบอย่างที่สุดต่อประเทศรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ ที่กำลังประสบปัญหาใหญ่จากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง”
สำหรับการปรับลดกำลังการผลิตนี้ โอเปกพลัส ประกาศว่า จะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันที่ผลิตต่อวันลดลงจาก 43.8 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 41.8 ล้านบาร์เรล และจะมีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป
การปรับลดกำลังการผลิตครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโอเปก นับตั้งแต่มีการระบาดใหญ่ของโควิด-19 เมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2020
รู้จักโอเปก พลัส (OPEC+)
ต้องทวนความจำว่า OPEC มีสมาชิกเป็นประเทศไหนบ้าง และ OPEC+ คือใคร
OPEC+ เป็นกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 24 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 14 ชาติของ Organization of Petroleum Exporting Countries (OPEC) และสมาชิกที่ไม่ใช่ OPEC อีก 10 ประเทศ รวมถึงรัสเซีย
กลุ่ม OPEC นำโดยซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของกลุ่ม
ขณะที่รัสเซียเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในบรรดาประเทศที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปก
OPEC เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลถาวรที่ก่อตั้งขึ้นในการประชุมแบกแดดในปี 2503
วันนี้รายชื่อทางการของสมาชิก OPEC คือ Algeria, Angola, Equatorial Guinea, Gabon, Iran, Iraq, Kuwait, Libya, Nigeria, the Republic of the Congo, Saudi Arabia, the United Arab Emirates and Venezuela.
อดีตสมาชิก OPEC มี Ecuador, Indonesia and Qatar.
มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการอุปทานน้ำมันเพื่อพยายามกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลก เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้ผลิตและผู้ซื้อ
มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สมาชิกโอเปกเปิดกว้างสำหรับทุกประเทศที่เป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่และมีหลักการร่วมกัน
OPEC PLUS คืออะไร?
OPEC Plus คือประเทศผลิตน้ำมันนอกเหนือ OPEC 11 ประเทศ คือ Azerbaijan, Bahrain, Brunei, Kazakhstan, Malaysia, Mexico, Oman, Russia, South Sudan and Sudan
ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียต่างก็เป็นแกนหลักของพันธมิตรผู้ผลิตน้ำมันที่รู้จักกันในนาม OPEC Plus มาเป็นเวลา 3 ปีโดยมีเป้าหมายเพื่อหนุนราคาน้ำมันด้วยการลดการผลิต
OPEC PLUS เกิดขึ้นเพราะอะไร?
เมื่อรัสเซียสรุปข้อตกลงเวียนนาในปี 2559 ปูตินเชื่อว่าจะช่วยเตรียมพร้อมสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียในเดือนมีนาคม 2561
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้มั่นใจความสามารถทางการเงินของเครมลินเพื่อผลักดันให้การรณรงค์หาเสียงที่นำไปสู่การสร้างความมั่นใจว่าปูตินจะยังคงครองอำนาจเอาไว้ได้
เท่ากับเป็นการจัด “ลำดับความสำคัญของระบอบการปกครอง” ใหม่ ซึ่งย่อมหมายถึงการควบคุมปริมาณการผลิตน้ำมันด้วย
สำหรับซาอุดีอาระเบีย การเปลี่ยนสิ่งที่เคยเป็นพันธมิตรแบบ "เฉพาะกิจ" ให้เป็นกลุ่มที่เป็น “ทางการ” ถือเป็นวิธีลดความผันผวนและปั่นป่วนของตลาดน้ำมันในอนาคตได้ด้วย
สำหรับรัสเซีย การทำให้ความสัมพันธ์มีความ “เป็นทางการ” มากขึ้นอาจช่วยขยายอิทธิพลของปูตินในตะวันออกกลาง
ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นขานรับมติโอเปก พลัส
ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 27,137.98 จุด เพิ่มขึ้น 17.45 จุด หรือ +0.06%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 18,100.48 จุด เพิ่มขึ้น 12.51 จุด หรือ +0.07%
ตลาดหุ้นจีนปิดทำการวันที่ 3 - 7 ต.ค. เนื่องในวันชาติ
หุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงในวันพุธ (5 ต.ค.) หลังพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งใน 2 รอบการซื้อขายก่อนหน้า โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 42.45 จุด หรือ 0.14% แตะที่ 30,273.87 หลังร่วงเกือบ 430 จุดในช่วงแรกของวัน ขณะที่ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลง 0.2% ปิดที่ 3,783.28 และดัชนี Nasdaq ลบ 0.25% แตะที่ 11,148.64
ขณะนี้ นักลงทุนจับตารายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรของสำนักงานสถิติแรงงานในวันศุกร์
สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 56.7 ในเดือนก.ย. จากระดับ 57.9 ในเดือนส.ค. อย่างไรก็ดี ดัชนีภาคบริการปรับตัวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 56.0
ดัชนีภาคบริการของสหรัฐได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของการจ้างงาน แม้ว่าคำสั่งซื้อใหม่ชะลอตัว โดยดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวของภาคบริการ
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส ได้เสร็จสิ้นการประชุมในวันนี้แล้ว
โดยที่ประชุมมีมติปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนพ.ย. โดยการปรับลดกำลังการผลิตดังกล่าว เป็นการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่ที่สุดของโอเปกพลัสนับตั้งแต่ปี 2563 และเป็นการปรับลดกำลังการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
ที่มา : Reuters, VOA
เนื้อหาบางส่วนจากบทความ : https://www.thaipost.net/columnist-people/82208/