เปิดชื่อประเทศอันตราย คิดให้ดีก่อนเที่ยว มีความสุ่มเสี่ยงถูกลักพาตัว

เปิดชื่อประเทศอันตราย คิดให้ดีก่อนเที่ยว มีความสุ่มเสี่ยงถูกลักพาตัว
Highlight

โควิดคลี่คลายแล้ว โลกแห่งการเดินทางท่องเที่ยวเปิดอีกครั้ง หลายคนวางแผนการเดินทางไปเยือนพื้นที่แปลกใหม่ แต่รู้หรือไม่บางพื้นที่นั้นอาจมีอันตราย จนเราคาดไม่ถึง เช่นเดียวกับกรณีที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ที่คนไทยถูกลักพาตัวเรียกค่าไถ่ขณะเดินบนบนถนน ในประเทศมาลี ดังนั้นก่อนแพ็กกระเป๋าเดินทางท่องเที่ยว สำรวจสักนิดว่า เป็นพื้นที่ปลอดภัยจากทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ ที่อาจนำตัวเราเองไปเสี่ยงในพื้นที่อันตราย



สำหรับประเทศที่อันตรายมากที่สุดในโลก โดยอ้างอิงจากคะแนน ดัชนีสันติภาพโลกประจำปี 2022 (Global Peace Index 2022) จากตัวชี้วัดสวัสดิการหรือระดับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน (GPI) นับได้จากความรุนแรงความขัดแย้งภายใน ผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น ระดับการก่อการร้ายทางการเมือง และความไม่มั่นคงทางการเมือง รวมถึงผลกระทบของการก่อการร้ายอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธหนัก การเสียชีวิตจากความขัดแย้งภายใน ค่าใช้จ่ายทางทหาร อัตราการกักขัง และการรับรู้ถึงความผิดทางอาญา ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่ไม่เป็นมิตรต่อคนแปลหน้าที่จะเข้าไปเยือนอย่างแน่นอน

10 ประเทศสุดอันตรายที่สุดในโลก

อัฟกานิสถาน (Afghanistan)

ภาวะการย้ายถิ่นและความขัดแย้งภายใน ซึ่งมีอัตราการเจริญพันธุ์สูง ประชากรจึงอายุน้อยมาก โดยมีอายุเฉลี่ย 18.4 ปี อัฟกานิสถานประสบปัญหาเกี่ยวกับเสถียรภาพและสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการเติบโตของประชากรแซงหน้าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

เยเมน (Yemen) GPI

ภาวะการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วอาจทำให้ทรัพยากรเพียงเล็กน้อยในเยเมนหมดไป เยเมนเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในคาบสมุทรอาหรับ เผชิญกับความยากจนอย่างกว้างขวาง การว่างงาน และอุปทานน้ำมันและน้ำที่ลดลง

ซีเรีย (Syria)

สถานการณ์ในซีเรียเป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณ 5,000 คนหนีซีเรียทุกวัน ประธานาธิบดีอัสซาดพยายามแสดงจุดยืนให้เห็นถึงความสามารถในการทารุณต่อประชาชนในช่วงเวลาหนึ่ง โดยคร่าชีวิตผู้คนไปมากมายภายใต้หน้ากากของการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย ความขัดแย้งภายในกลายเป็นเรื่องเลวร้าย ประชาชนหลายล้านคนไปลี้ภัยที่อื่น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเติบโตของประชากรที่ลดลงอย่างมาก

รัสเซีย (Russia )

ภาพลักษณ์ภายนอกของคนรัสเซียเองที่แสดงออกมาให้เราเห็น ว่าคนรัสเซียส่วนใหญ่หน้าตาไม่ค่อยต้อนรับ หรือไม่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าในการเจอกันครั้งแรก หน้าตาไม่ยิ้มแย้มไม่เป็นมิตรจนหลายถูกมองว่าเป็น “เสือยิ้มยาก” ร่วมถึงภาวะสงครามกับยูเครนส่งผลให้ความน่าไว้วางใจลดลงไปด้วย

เซาท์ซูดาน (South Sudan)

ประชากรที่เพิ่มขึ้นของซูดานใต้ต้องเผชิญกับความท้าทาย ด้านความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มขึ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต้องดิ้นรนกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมให้ยิ่งแย่ลงไปอีก

ดีอาร์ คองโก (DR Congo)

สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกกับปัญหามากมายที่ เริ่มต้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ประเทศเต็มไปด้วยความขัดแย้งและขาดบริการด้านสุขภาพที่ทันสมัย นอกจากนี้ HIV/AIDs เป็นปัญหาสำคัญ เช่นเดียวกับการข่มขืน การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก

อิรัก (Iraq)

ด้วยความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในอิรัก ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นและยังคงมีการอพยพของผู้ลี้ภัย ครึ่งหนึ่งของประชากรชนชั้นกลางของอิรักได้หลบหนีการกดขี่ข่มเหงโดยไม่มีแผนที่จะกลับมา

โซมาเลีย  (Somalia)

การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็วของโซมาเลียสร้างความตึงเครียดให้กับการดูแลสุขภาพที่ย่ำแย่และความไม่มั่นคงของประเทศ ความเสี่ยงเกิดการปล้นจี้ชิงทรัพย์ ลักขโมย ที่สูงขึ้น

สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (Central African Republic)

สถานการณ์การขาดแคลนอาหาร และยังคงมีผู้เสียชีวิตหลายพันคนจากความรุนแรงภายในประเทศที่กินเวลานาน ความแตกต่างทางศาสนารวมถึงภาวะวิกฤติด้านการเติบโตของประชากรที่หยุดชะงักลง

ซูดาน (Sudan)

เนื่องจากอัตราการเพิ่มของประชากรสูง ส่วนใหญ่ประชากรจึงมีอายุต่ำกว่า 15 ปี ทำให้เกิดวิกฤติเพิ่มเติมในการบริการสังคม โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสุขภาพ อีกทั้งการแยกตัวของซูดานใต้ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้จากประเด็นร้อนข่าวการถูกลักพาตัวในต่างแดนของ หมอสอง นายแพทย์ นพรัตน์ รัตนวราห แพทย์ศัลยกรรมชื่อดังแต่อยู่ๆเจ้าตัวก็ขาดการติดต่อ ตอนที่ไปประเทศ มาลี โดย หมอสอง หายจากโซเชียลไปนานเกือบ 1 เดือน จนทำให้หลายคนเป็นห่วง โดยจากข้อมูลอ้างอิงของ Global Peace Index 2022 ประเทศมาลีได้ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่ 14 ที่อันตรายที่สุดในโลก ซึ่งสถานการณ์ภายในประเทศมาลี มีความขัดแย้งเกิดกลุ่มกบฏและมีการประกาศแยกตัวออกจากรัฐใหม่ ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่สงบ มีเหตุปะทะกันภายในอยู่ตลอด สำหรับนักเดินทางคงต้องมีความตระหนักในจุดนี้ให้มากเพื่อไม่เสี่ยงเกิดอันตรายขึ้น

อีกทั้งข้อมูลจาก Global Peace Index 2022 ยังเผยให้เห็นถึงประเทศที่มีความปลอดภัยเช่นกัน อาทิไอซ์แลนด์ยังคงเป็นประเทศที่สงบสุขที่สุด โดยดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2551 ประเทศถัดมาได้แก่ นิวซีแลนด์ ไอร์แลนด์ เดนมาร์ก และออสเตรีย 

อ้างอิงจากไทยรัฐเปิดเผยถึง 10 ประเทศที่มีสถิติการลักพาตัวมากที่สุด ประกอบด้วย
1.เม็กซิโก 264 คน (15.7%)
2.ลิเบีย 208 คน (12.4%)
3.แอฟริกาใต้ 184 คน (10.9%)
4.กัมพูชา 161 คน (9.6%)
5.สหรัฐฯ 111 คน (6.6%)
6.ซีเรีย 84 คน (5%)
7.ไนเจอร์ 63 คน (3.7%)
8.เฮติ 48 คน (2.9%)
9.ไนจีเรีย 43 คน (2.6%)
10.ฟิลิปปินส์ 43 คน (2.6%)

**หมายเหตุ ส่วนอีก 472 คน หรือ 28% กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ในโลก**

ล่าสุด เฮติ เป็นอีกหนึ่งประเทศอันตราย ควรเลี่ยงการเดินทาง

ญี่ปุ่นประกาศปิดสถานทูตในเฮติชั่วคราว  เหตุกังวลสถานการณ์ความมั่นคงกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นออกแถลงการณ์เมื่อ 23 ต.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจปิดสถานทูตในประเทศเฮติเป็นการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงในเฮติกำลังเข้าขั้นวิกฤต

การปิดสถานทูตดังกล่าวมีขึ้นหลังจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกระดับคำเตือนในการเดินทางไปยังเฮติสู่ระดับ 4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด โดยแนะนำให้ชาวญี่ปุ่นทั้งหมดอพยพออกจากเฮติและไม่ควรเดินทางไปยังเฮติ เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ลักพาตัวและอาชญกรรมโดยกลุ่มติดอาวุธ

เฮติกำลังเผชิญกับวิกฤติด้านมนุษยธรรม ซึ่งรวมถึงการขาดแคลนอาหาร เชื้อเพลิง และน้ำ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลเฮติต้องร้องขอความช่วยเหลือทางทหารจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ กลุ่มอาชญากรรมในเฮติได้ขยายอิทธิพลในการควบคุมอาณาเขตของประเทศนับตั้งแต่การลอบสังหารนายโฌเวเนล โมอิส อดีตประธานาธิบดีของเฮติ เมื่อปี 2564

อ้างอิง : Global Peace Index 2022, รอยเตอร์,Thairath

ติดต่อโฆษณา!