ปัญหาฝุ่นกระทบท่องเที่ยว, 14 จังหวัด เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ รับฝุ่น PM 2.5 พุ่ง คาดคลี่คลายปลายสัปดาห์นี้
Highlight
IQAir | First in Air Quality เว็บไซต์จัดอันดับคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษของโลก รายงานว่า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยมีค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) สีแดง 192 มีผลกระทบต่อทุกคน คุณภาพอากาศมีมลพิษเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน เมืองลาฮอร์ ประเทศปากีสถานและคูเวต 14 จังหวัดเร่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินฯ รับฝุ่น PM 2.5 การแก้ไขปัญหาระยะยาว ดันปัญหาฝุ่นจิ๋วเป็นวาระแห่งชาติ
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 กลับมาอีกครั้ง หลังความกดอากาศสูง เพดานอากาศต่ำา รวมถึงการใช้ คาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่งผลให้เกิดการสะสมของ ฝุ่นละออง PM2.5
- ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดนเมื่อวานนี้แอป IQAir.com ซึ่งเป็นแอปรายงานคุณภาพอากาศเผย กรุงเทพมีคุณภาพอากาศ (AQI : Air Quality Index) สีแดง 192 มีผลกระทบต่อทุกคน คุณภาพอากาศมีมลพิษเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากเมืองการาจี ประเทศปากีสถาน เมืองลาฮอร์ ประเทศปากีสถานและคูเวต
- โดยทางกรมควบคุมมลพิษเผย ฝุ่น PM2.5 อาจค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศกรุงเทพ ยาวไปจนถึง 7 ก.พ. ซึ่งทําให้หลายบริษัทประกาศ Work From Home
- บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส ระบุว่า ฝุ่น PM 2.5 ที่พุ่งสูงขึ้นอาจกดดันภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากกรุงเทพ เชียงใหม่ ถือเป็นจุดหมาย ปลายทางสําคัญของนักท่องเท่ียวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- โดยปี 2565 จังหวัด เชียงใหม่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 4,246 ล้านบาท สูงสุดเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย ประเด็นดังกล่าวถือเป็นกระแสลบต่อหุ้นท่องเที่ยว
- ปัจจุบันค่า PM2.5 อยู่ในระดับเกินมาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะประเทศไทยตอนกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้
- ทั้งนี้ ในวันที่ 5 ก.พ. PM 2.5 จะลดลงอยู่ในระดับปานกลาง จากนั้นวันที่ 7 ก.พ. จะลดลงมาอยู่ในระดับค่ามาตรฐาน ทั้งในพื้นที่ กทม. และ 17 จังหวัดภาคเหนือ
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ดำเนินมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด ขอความร่วมมือลดการก่อสร้าง การเผาในที่โล่ง แจ้งประชาชนกลุ่มเสี่ยงตรวจสอบและดูแลตนเอง ติดตามสถานการณ์ PM2.5 ผ่านแอปพลิเคชัน Air 4 Thai ส่วนประชาชนในพื้นที่ กทม. ตรวจสอบได้ผ่านแอปพลิเคชัน Air Bkk
- นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เผยถึงสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ใน กทม. ว่า มาจาก 2 ส่วน คือ สภาพอากาศปิดและลมต่ำมาก ทำให้ฝุ่นหมุนเวียนในกรุงเทพฯ ไม่ได้ระบายออก
- ต้นกำเนิดฝุ่นมาจากรถยนต์และการเผาชีวมวลรอบนอก พบจุด Hot Spot ค่อนข้างสูงราว 1,200 จุดในเขตประเทศไทย ประกอบกับทิศทางลมเปลี่ยนจากลมตะวันออกเฉียงเหนือมาเป็นลมตะวันออก ทำให้การเผาไหม้ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาพัดมายังประเทศไทย ทำให้หลายจังหวัดค่าฝุ่นสูง
- นายชัชชาติระบุว่า ปัจจุบันมีระบบเตือนภัยฝุ่นในโรงเรียนที่เข้มข้นขึ้น มีระบบ Line Alert สำหรับเตือนภัย ระยะสั้นต้องดูแลตนเองก่อน สวมหน้ากากเมื่อออกพื้นที่โล่งแจ้ง
- การแก้ไขปัญหาระยะยาว มีแผนฝุ่นแห่งชาติเป็นวาระแห่งชาติ สาเหตุหลักคือรถยนต์ และการเผาชีวมวล กทม. ก็สามารถควบคุมได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น เช่น การ ปรับเรื่องเครื่องยนต์เป็นยูโร 5 ยูโร 6 การเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV) การพัฒนาประสิทธิภาพขนส่งสาธารณะ การย้ายท่าเรือคลองเตย เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานภาครัฐต้องร่วมมือกันทำตามแผนฝุ่นระดับชาตินี้ เพื่อให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองดีขึ้นในระยะยาว” ผู้ว่าฯ กทม.ระบุ
- สำหรับการใช้หน้ากาก N95 อาจจะมีราคาแพงและหายใจยาก ประชาชนสามารถใส่หน้ากากประเภท Surgical Mask ซึ่งสามารถกันฝุ่นได้ประมาณ 60% โดยหากใส่ 2 ชั้น อาจกันฝุ่นได้ถึง 80% และราคาไม่แพง ในส่วนของการออกกำลังกาย ก็ควรออกกำลังกายในร่ม และติดตามพยากรณ์อย่างใกล้ชิด นายชัชชาติระบุ
- หากฝุ่นสูงเกิน 75 มคก.ลบ.ม. ต่อเนื่องกัน 3 วัน เช่น กทม. พยากรณ์ว่าวันที่ 1-3 ก.พ.จะมีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน จึงสั่งให้หน่วยงานในสังกัด WFH ทันที พร้อมสั่งการไปยังสำนักงานเขตขอความร่วมมือบริษัทเอกชนออกมาตรการ WFM เช่นกัน
- นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในประเทศไทย ขณะนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยวันนี้พื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เกิน 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ติดต่อกันเกิน 3 วัน (พื้นที่สีแดง) จำนวน 14 จังหวัด ได้แก่
- หากค่าเฉลี่ย PM 2.5 อยู่ที่ 101-158 มคก./ลบ.ม. จะเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีฝุ่น PM 2.5 ซึ่งดำเนินการใน 14 จังหวัด เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์อย่างเป็นระบบ
- นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคจากมลพิษทางอากาศในระบบ HDC ระหว่างวันที่ 1-31 ม.ค. 66 พบว่า สัปดาห์นี้มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ 376,165 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 163,491 ราย โดยกลุ่มโรคที่เจ็บป่วยสูงสุด ได้แก่
– กลุ่มโรคทางเดินหายใจ พบ 165,879 ราย เพิ่มขึ้น 72,430 ราย
– กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ พบ 80,248 ราย เพิ่มขึ้น 31,571 ราย
– กลุ่มโรคตาอักเสบ พบ 70,206 ราย เพิ่มขึ้น 29,605 ราย
– โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตันขาดเลือด พบ 54,434 ราย เพิ่มขึ้น 26,828 ราย
- สำหรับข้อมูลพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการรับสัมผัส PM 2.5 ของประชาชนพบว่า ช่วงวันที่ 23-29 ม.ค. 66 ประชาชนมีพฤติกรรมการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น 76% ไม่เผาขยะ กระดาษ หรือจุดธูป 59.7% และปิดประตูระหว่างทำงาน 51.6%
- แนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน คือ วันที่ 16-22 ม.ค. 66 แต่พฤติกรรมการงดออกกำลังกายกลางแจ้ง การลดระยะเวลาออกนอกบ้าน และการตรวจเช็กคุณภาพอากาศก่อนออกนอกบ้าน มีการปฏิบัติลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
- ขอย้ำให้ประชาชนตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน หากค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ให้ลดหรืองดกิจกรรมกลางแจ้ง หรือสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบทางสุขภาพรุนแรงกว่าคนทั่วไป
- ส่วนประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็นต้องออกนอกบ้าน และหากมีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์
ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ
🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC