รัฐบาลแนะ ! 10 จุดสังเกตลักษณะ "ข่าวปลอม" ด้านธนาคาร 8 แห่ง ได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร

รัฐบาลแนะ ! 10 จุดสังเกตลักษณะ "ข่าวปลอม"  ด้านธนาคาร 8 แห่ง ได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร
Highlight

รู้หรือไม่ 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม ปัญหาดังกล่าว แม้ว่าหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบกลโกงทุกรูปแบบ จึงทำให้ประชาชนบางส่วนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงแนะนำ 10 จุดสังเกตลักษณะ "ข่าวปลอม” เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพ ในขณะที่ 8 ธนาคารเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุเมื่อประสบปัญหาตอด 24 ชั่วโมง



รัฐบาลโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) จึงแนะนำ 10 จุดสังเกตลักษณะ "ข่าวปลอม” เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกัน และรู้เท่าทันกลโกงมิจฉาชีพ ดังนี้

1. ข้อความพาดหัว : มักใช้พาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ น่าตื่นตระหนก ฟังดูไม่น่าเชื่อถือ
2. URL : เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมาก “เปลี่ยนแปลง URL” เพียงเล็กน้อย เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง
3. แหล่งที่มา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ และมีชื่อเสียงด้านความถูกต้อง
4. การจัดรูปแบบที่ไม่ปกติ : มักมีการสะกดผิดหรือวางเลย์เอาต์ไม่ปกติ
5. พิจารณารูปภาพ : ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวิดีโอที่ไม่เป็นความจริง บางครั้งรูปภาพจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว
6. ตรวจสอบวันที่ : อาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุผล หรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
7. ตรวจสอบหลักฐาน : ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าถูกต้อง
8. ดูรายงานอื่น ๆ : หากมีการรายงานข่าวโดยหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือได้ มีแนวโน้มว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นข่าวจริง
9. เรื่องราวนี้เป็นเรื่องตลกหรือไม่ : ตรวจสอบดูว่าแหล่งที่มาของข่าวขึ้นชื่อเรื่องการล้อเลียนหรือไม่ และรายละเอียดตลอดจนน้ำเสียงของข่าวฟังดูเป็นเรื่องตลกหรือไม่
10. เรื่องราวบางเรื่องอาจตั้งใจเป็นข่าวปลอม : ใช้วิจารณญาณ เพื่อคิดวิเคราะห์เรื่องราวที่อ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่แน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น
  • น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหามิจฉาชีพหลอกหลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ มีการโอนเงินออกจากบัญชีผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารจนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง

  • กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ทำงานร่วมกับสมาคมธนาคารไทย และธนาคารของรัฐอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาและบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดแก่ประชาชน

  • ล่าสุดทั้งส่วนธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจรวม 8 แห่ง ได้เปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคาร เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ หรือตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโทรแจ้งเหตุ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสกัดกั้นความเสียหายให้เร็วที่สุด ประกอบด้วย
    • ธนาคารกสิกรไทย 0-2888-8888 กด 001
    • ธนาคารกรุงไทย 0-2111-1111 กด 108
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 1572 กด 5
    • ธนาคารกรุงเทพ 1333 หรือ 0-2645-5555 กด *3
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ 0-2777-7575
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต 1428 กด 03
    • ธนาคารออมสิน 1115 กด 6
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย 0-2626-7777 กด 00
การเปิดศูนย์แจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของสถาบันการเงินต่างๆ เป็นมาตรการควบคู่กับที่ขณะนี้ รัฐบาลได้ผลักดัน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. …. เพื่อให้เป็นกฎหมายที่เข้ามาช่วยจัดการปัญหาได้อย่างเด็ดขาด
  • ซึ่ง พ.ร.ก.มีสาระสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการปราบปรามการกระทำผิด ด้วยมาตรการต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่หน่วยงานที่มีอำนาจให้การอนุญาต เพื่อประสิทธิภาพการตรวจสอบธุรกรรมที่ผิดปกติ สถาบันการเงินสามารถระงับธุรกรรมได้เมื่อพบเหตุอันต้องสงสัยหรือได้รับแจ้งเหตุจากเจ้าของบัญชี ตลอดจนการกวาดล้างบัญชีม้า เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/65771



ติดตาม ทันข่าวToday ช่องทางอื่น ๆ

🔺 Website : https://www.thunkhaotoday.com/
🔺 Facebook : https://www.facebook.com/thunkhaotoday
🔺 Line Today : https://bit.ly/3ifSuDr
🔺 ติดต่อโฆษณา : https://line.me/ti/p/9mjGVL4nhC

ติดต่อโฆษณา!