26 กันยายน 2566
634
ครม. มีมติพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย 2.7 ล้านราย เงินต้นไม่เกิน 3 แสนบาท
คณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้เกษตรกร หรือลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 รวมถึงการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 2.698 ล้านราย
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าว ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรระยะเวลา 3 ปี ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรและบุคคลตามข้อบังคับ ธ.ก.ส. ฉบับที่ 44 และ 45 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติ และหรือเป็นหนี้คงค้างชำระ จำนวน 2.698 ล้านราย รวมต้นเงินคงเป็นหนี้ทั้งหมด 283,327.99 ล้านบาท
วิธีดำเนินโครงการ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ต้องการรับสิทธิ์พักชำระหนี้สามารถแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ตามความสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่เข้าร่วมมาตรการในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเห็นชอบการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ของ ธ.ก.ส. งบประมาณ 1,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ฯ ประมาณ 3 แสนราย และสมัครใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ โดยการจัดอบรมเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ
“การพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกร ประมาณ 2.7 แสนล้านดังกล่าว เน้นกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มากที่สุด แต่คงไม่ใช่ทุกรายที่ไม่มีความสามารถดำเนินการชำระหนี้ได้ บางรายที่พร้อมจะชำระหนี้ รัฐบาลมีมาตรการจูงใจ พูดง่าย ๆ เมื่อชำระหนี้ก็ตัดเงินต้นทั้งหมด ส่วนดอกเบี้ยรัฐบาลจ่ายให้ และยังแถมทุก ๆ 1 พันบาท ก็จะมีสลากให้ ใครถูกสลากก็เอาไปตัดยอด ใครที่มีวินัยการเงินการคลังดีมากก็จะได้รับประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล” โฆษกรัฐบาลกล่าว
นายชัยกล่าวว่า รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนด มาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นระยะเวลา 3 ปี และ 1 ปี ตามลำดับ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธาน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นฝ่ายเลขานุการ
นายจุลพันธ์ เผยว่า เกษตรกรลูกค้ารายย่อย ธ.ก.ส. จำนวน 2.698 ล้านราย ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans) ราว 6 แสนราย มูลหนี้ 3.6 หมื่นล้านบาท ได้รับสิทธิ์ในการพักชำระหนี้ระยะแรก ดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 66 ถึง 30 ก.ย. 67
สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs จะสามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ เมื่อได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. แล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง คาดว่า มาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรดังกล่าว จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อยให้สามารถมีรายได้เหลือเพียงพอต่อรายจ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน รวมถึงมีโอกาสขยายการลงทุนในการประกอบอาชีพและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น นายจุลพันธ์ ระบุ
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าผู้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ดังกล่าว ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรระยะเวลา 3 ปี ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรและบุคคลตามข้อบังคับ ธ.ก.ส. ฉบับที่ 44 และ 45 ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติ และหรือเป็นหนี้คงค้างชำระ จำนวน 2.698 ล้านราย รวมต้นเงินคงเป็นหนี้ทั้งหมด 283,327.99 ล้านบาท
วิธีดำเนินโครงการ เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. ที่ต้องการรับสิทธิ์พักชำระหนี้สามารถแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการดังกล่าวได้ตามความสมัครใจ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้แทนเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่เข้าร่วมมาตรการในอัตราร้อยละ 4.50 ต่อปี
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังพิจารณาเห็นชอบการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ของ ธ.ก.ส. งบประมาณ 1,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ฯ ประมาณ 3 แสนราย และสมัครใจเข้ารับการพัฒนาศักยภาพ โดยการจัดอบรมเพื่อส่งเสริมฟื้นฟูการประกอบอาชีพแก่ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ
“การพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกร ประมาณ 2.7 แสนล้านดังกล่าว เน้นกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มากที่สุด แต่คงไม่ใช่ทุกรายที่ไม่มีความสามารถดำเนินการชำระหนี้ได้ บางรายที่พร้อมจะชำระหนี้ รัฐบาลมีมาตรการจูงใจ พูดง่าย ๆ เมื่อชำระหนี้ก็ตัดเงินต้นทั้งหมด ส่วนดอกเบี้ยรัฐบาลจ่ายให้ และยังแถมทุก ๆ 1 พันบาท ก็จะมีสลากให้ ใครถูกสลากก็เอาไปตัดยอด ใครที่มีวินัยการเงินการคลังดีมากก็จะได้รับประโยชน์จากนโยบายรัฐบาล” โฆษกรัฐบาลกล่าว
นายชัยกล่าวว่า รับทราบการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนด มาตรการในการพักหนี้เกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นระยะเวลา 3 ปี และ 1 ปี ตามลำดับ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธาน สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นฝ่ายเลขานุการ
นายจุลพันธ์ เผยว่า เกษตรกรลูกค้ารายย่อย ธ.ก.ส. จำนวน 2.698 ล้านราย ที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท และมีสถานะเป็นหนี้ปกติและ/หรือเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans) ราว 6 แสนราย มูลหนี้ 3.6 หมื่นล้านบาท ได้รับสิทธิ์ในการพักชำระหนี้ระยะแรก ดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 66 ถึง 30 ก.ย. 67
สำหรับลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPLs จะสามารถเข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ได้ เมื่อได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธ.ก.ส. แล้ว
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง คาดว่า มาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรดังกล่าว จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มสภาพคล่องให้เกษตรกรรายย่อยให้สามารถมีรายได้เหลือเพียงพอต่อรายจ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน รวมถึงมีโอกาสขยายการลงทุนในการประกอบอาชีพและการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้น นายจุลพันธ์ ระบุ