13 ตุลาคม 2566
992
เปิด 4 เหตุผล ทำไมฮามาสโจมตีอิสราเอล !!
การโจมตีอิสราเอลโดยกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งในแง่ขนาดและความรุนแรง การโจมตีเกิดขึ้นโดยปราศจากสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผลพวงจากความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายที่มีมานานหลายทศวรรษ สำนักข่าว บีบีซี ได้รวบรวมชนวนความขัดแย้งไว้ 4 ประเด็น
▪️ ชีวิตอันแร้นแค้นในฉนวนกาซา
ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ “ฉนวนกาซา” ที่มีขนาดกว้าง 10 กิโลเมตร ยาว 41 กิโลเมตร ราว 2.3 ล้านคน เป็นจุดที่มีความแออัดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ฉนวนกาซา ถูกบีบโดยสภาพภูมิศาสตร์ ขนาบข้างพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกด้วยเขตแดนของอิสราเอล ชายแดนทางใต้ติดกับอียิปต์ ส่วนชายทะเลด้านตะวันตกเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
นอกจากฉนวนกาซาแล้ว ดินแดนของปาเลสไตน์ยังมีเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออก รวมอยู่ด้วยซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเยรูซาเลม
อิสราเอลได้ควบคุมน่านฟ้าที่ฉนวนกาซา และใช้ไฟฟ้าใช้เพียงวันละ 13 ชั่วโมง ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า กว่า 80% ของผู้ที่อาศัยในฉนวนกาซาต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากนานาชาติ และประมาณ 1 ล้านคน ต้องขอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในแต่ละวัน
นับตั้งแต่ปี 2007 กลุ่มฮามาสได้เข้ายึดครองเขตกาซา หลังจากแยกตัวออกจากกองกำลังที่ภักดีต่อองค์การบริหารปาเลสไตน์หรือพีเอ (Palestinian Authority: PA) หลังเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
▪️ มัสยิดอัล-อัคซอ
มัสยิดอัล-อัคซอ ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงในเขตเยรูซาเลมตะวันออก เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญที่กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับสามของศาสนาอิสลาม
ขณะที่ชาวยิวก็เคารพให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพวกเขาเช่นกัน โดยเรียกขานกันในชื่อ "เนินพระวิหาร" หรือ "Temple Mount" แกนนำกลุ่มฮามาส นายมูฮัมหมัด อัล-เดอิฟ ระบุต้องการเติบโต้อิสราเอลที่กล้าหยามเกียรติของศาสดามุฮัมหมัดภายในปริมณฑลแห่งมัสยิดอัล-อัคซอ ด้านรัฐบาลอิสราเอลระบุว่า พวกเขาสัญญาว่าจะรักษาเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสถานที่แห่งนี้ไว้
▪️ การตั้งรกรากของชาวยิว
หลังจากการเข้ามายึดครองพื้นที่ปาเลสไตน์เดิมโดยชาวอิสราเอลที่เริ่มขึ้นหลังสงครามในปี 1967 สิ่งก่อสร้างและการตั้งถิ่นฐานของชาวยิว โดยเฉพาะในเขตเวสต์แบงก์ ก็ขยายตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ในปี 2022 มีชาวยิวที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ที่ยึดครองมาแล้วจำนวนราว 700,000 คน
องค์การสหประชาชาติและประเทศส่วนใหญ่มองว่า การตั้งถิ่นฐานดังกล่าวของชาวยิวขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่อิสราเอลกลับไม่เห็นด้วย
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า เหตุความรุนแรงจากชาวอิสราเอลหัวรุนแรงต่อพลเรือนชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
▪️ ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ
อียิปต์และจอร์แดนเป็นเพียงสองประเทศเพื่อนบ้านอาหรับ ที่อิสราเอลยังคงรักษาสถานะความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเต็มรูปแบบเอาไว้ หลังจากได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับทั้งสองประเทศในปี 1979 และ 1994
แต่เมื่อไม่นานมานี้ อิสราเอลเชื่อมสัมพันธไมตรีกับผู้เล่นรายสำคัญในภูมิภาคอย่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ปาเลสไตน์ มองว่าการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างสองประเทศจะลดแรงกดดันต่ออิสราเอลที่จะยอมรับจุดยืนของปาเลสไตน์
การสู้รบระหว่างปาเลสไตน์และชาวยิว-อิสราเอล มีมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ ยังไม่มีข้อสรุปจะจบลงอย่างไร ในครั้งนี้มีการโจมตีและตอบโต้ที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีผู้คนเสียชีว้ตแล้ว กว่า 2,200 ราย มีแรงงานไทยเสียชีวิตแล้ว 20 ราย (12 ต.ค.66)
ที่มา : BBC
▪️ ชีวิตอันแร้นแค้นในฉนวนกาซา
ชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ “ฉนวนกาซา” ที่มีขนาดกว้าง 10 กิโลเมตร ยาว 41 กิโลเมตร ราว 2.3 ล้านคน เป็นจุดที่มีความแออัดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
ฉนวนกาซา ถูกบีบโดยสภาพภูมิศาสตร์ ขนาบข้างพื้นที่ทางเหนือและตะวันออกด้วยเขตแดนของอิสราเอล ชายแดนทางใต้ติดกับอียิปต์ ส่วนชายทะเลด้านตะวันตกเป็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
นอกจากฉนวนกาซาแล้ว ดินแดนของปาเลสไตน์ยังมีเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเลมตะวันออก รวมอยู่ด้วยซึ่งเป็นพื้นที่ใจกลางเยรูซาเลม
อิสราเอลได้ควบคุมน่านฟ้าที่ฉนวนกาซา และใช้ไฟฟ้าใช้เพียงวันละ 13 ชั่วโมง ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติระบุว่า กว่า 80% ของผู้ที่อาศัยในฉนวนกาซาต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากนานาชาติ และประมาณ 1 ล้านคน ต้องขอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในแต่ละวัน
นับตั้งแต่ปี 2007 กลุ่มฮามาสได้เข้ายึดครองเขตกาซา หลังจากแยกตัวออกจากกองกำลังที่ภักดีต่อองค์การบริหารปาเลสไตน์หรือพีเอ (Palestinian Authority: PA) หลังเกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง
▪️ มัสยิดอัล-อัคซอ
มัสยิดอัล-อัคซอ ที่ตั้งอยู่บนเนินสูงในเขตเยรูซาเลมตะวันออก เป็นหนึ่งสถานที่สำคัญที่กลายเป็นชนวนเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์ เนื่องจากมัสยิดแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดอันดับสามของศาสนาอิสลาม
ขณะที่ชาวยิวก็เคารพให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพวกเขาเช่นกัน โดยเรียกขานกันในชื่อ "เนินพระวิหาร" หรือ "Temple Mount" แกนนำกลุ่มฮามาส นายมูฮัมหมัด อัล-เดอิฟ ระบุต้องการเติบโต้อิสราเอลที่กล้าหยามเกียรติของศาสดามุฮัมหมัดภายในปริมณฑลแห่งมัสยิดอัล-อัคซอ ด้านรัฐบาลอิสราเอลระบุว่า พวกเขาสัญญาว่าจะรักษาเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสถานที่แห่งนี้ไว้
▪️ การตั้งรกรากของชาวยิว
หลังจากการเข้ามายึดครองพื้นที่ปาเลสไตน์เดิมโดยชาวอิสราเอลที่เริ่มขึ้นหลังสงครามในปี 1967 สิ่งก่อสร้างและการตั้งถิ่นฐานของชาวยิว โดยเฉพาะในเขตเวสต์แบงก์ ก็ขยายตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง องค์การสหประชาชาติประเมินว่า ในปี 2022 มีชาวยิวที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ที่ยึดครองมาแล้วจำนวนราว 700,000 คน
องค์การสหประชาชาติและประเทศส่วนใหญ่มองว่า การตั้งถิ่นฐานดังกล่าวของชาวยิวขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่อิสราเอลกลับไม่เห็นด้วย
จากรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า เหตุความรุนแรงจากชาวอิสราเอลหัวรุนแรงต่อพลเรือนชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
▪️ ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับโลกอาหรับ
อียิปต์และจอร์แดนเป็นเพียงสองประเทศเพื่อนบ้านอาหรับ ที่อิสราเอลยังคงรักษาสถานะความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเต็มรูปแบบเอาไว้ หลังจากได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับทั้งสองประเทศในปี 1979 และ 1994
แต่เมื่อไม่นานมานี้ อิสราเอลเชื่อมสัมพันธไมตรีกับผู้เล่นรายสำคัญในภูมิภาคอย่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ปาเลสไตน์ มองว่าการเชื่อมสัมพันธไมตรีทางการทูตระหว่างสองประเทศจะลดแรงกดดันต่ออิสราเอลที่จะยอมรับจุดยืนของปาเลสไตน์
การสู้รบระหว่างปาเลสไตน์และชาวยิว-อิสราเอล มีมาต่อเนื่องหลายทศวรรษ ยังไม่มีข้อสรุปจะจบลงอย่างไร ในครั้งนี้มีการโจมตีและตอบโต้ที่รุนแรงครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ มีผู้คนเสียชีว้ตแล้ว กว่า 2,200 ราย มีแรงงานไทยเสียชีวิตแล้ว 20 ราย (12 ต.ค.66)
ที่มา : BBC