13 ตุลาคม 2566
739
11 พ.ย. วันดีเดย์แสดงตน ฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ (CDM)
การฝากเงินสดผ่านตู้อัตโนมัติ (CDM) กลายเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้ฟอกเงินจากการก่ออาชญากรรม ทั้งจาก ยาเสพติด และการพนัน รวมถึงการหลอกลวงทางออนไลน์ การก่อการร้าย เพื่อส่งผ่านไปยังผู้กระทำผิด
การฝากเงินวิธีนี้ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินและไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติจำนวนมาก
ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องจัดการให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยการทำธุรกรรมเงินสดผ่านเครื่องฝากเงินตู้ CDM ต้องสามารถตรวจสอบได้ทั้งต้นทางและปลายทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับประชาชนในการทำธุรกรรม ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคารไทย จึงได้ร่วมกันพิจารณาวิธีการแสดงตนของผู้ฝากเงินสดผ่านตู้ CDM
โดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้บริการ และไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น การแสดงตนของผู้ฝากเงินสดผ่านตู้ CDM สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ
ทั้งนี้ การแสดงตนที่ตู้ CDM ด้วยวิธีการดังกล่าว จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
โดยในระยะต่อไป ปปง. แบงก์ชาติ และสมาคมธนาคารไทย จะประเมินผลการดำเนินการ เพื่อพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป
รายละเอียดและเงื่อนไขการให้บริการสามารถศึกษาได้ที่เว็บไซต์ธนาคาร หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของธนาคารที่ใช้บริการ
.
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
การฝากเงินวิธีนี้ไม่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินและไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดที่แท้จริงมาลงโทษได้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและประเทศชาติจำนวนมาก
ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องจัดการให้ลูกค้าแสดงตนก่อนการทำธุรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยการทำธุรกรรมเงินสดผ่านเครื่องฝากเงินตู้ CDM ต้องสามารถตรวจสอบได้ทั้งต้นทางและปลายทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับประชาชนในการทำธุรกรรม ตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับระบบการเงิน
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ สมาคมธนาคารไทย จึงได้ร่วมกันพิจารณาวิธีการแสดงตนของผู้ฝากเงินสดผ่านตู้ CDM
โดยคำนึงถึงความสะดวกของผู้ใช้บริการ และไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายเกินความจำเป็น การแสดงตนของผู้ฝากเงินสดผ่านตู้ CDM สามารถทำได้ 2 รูปแบบ คือ
1.ผู้ฝากเงินใส่หมายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักของตน หมายเลขโทรศัพท์มือถือและรหัส OTP (One-Time Password) ที่ได้รับ โดยมีวงเงินฝากสูงสุด 30,000 บาท ต่อครั้ง (รวมค่าธรรมเนียม)
2.ผู้ฝากเงินใช้บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต หรือบัตรเครดิตของตน ร่วมกับรหัสส่วนตัว (PIN) โดยมีวงเงินฝากสูงสุด 100,000 บาท ต่อครั้ง (รวมค่าธรรมเนียม)
ทั้งนี้ การแสดงตนที่ตู้ CDM ด้วยวิธีการดังกล่าว จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป
โดยในระยะต่อไป ปปง. แบงก์ชาติ และสมาคมธนาคารไทย จะประเมินผลการดำเนินการ เพื่อพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติมต่อไป
รายละเอียดและเงื่อนไขการให้บริการสามารถศึกษาได้ที่เว็บไซต์ธนาคาร หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ของธนาคารที่ใช้บริการ
.
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย